สูตรออมเงินที่ใช้ได้ผลที่สุด

สูตรออมเงินที่ใช้ได้ผลที่สุด

ปัจจุบันการจัดการบริหารเงินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนมาก ที่หลายๆคนคิดว่าเหมือนจะเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นผลลัพธ์นานเหลือเกิน เนื่องจากอุปสรรคนั้นหลากหลายพอจะเก็บเงินก็มีเรื่องต้องใช้จ่าย พอเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งก็เหมือนจะมีเหตุฉุกเฉินรุมเร้าทำให้เราต้องนำเงินเก็บออกมาใช้ แล้วก็ต้องเริ่มการออมใหม่ ในบทความนี้จึงนำสูตรการออมเงินมาให้หลายๆคนได้ศึกษากันมีอะไรบ้างไปดูพร้อมๆกันเลย

Contents

การออมคืออะไร

การออม หมายถึง การเก็บรวมเงิน และเก็บไว้สำหรับการใช้อย่างประหยัด เพื่อความมั่นคงทางการเงิน และเตรียมความพร้อมในอนาคต เช่น การออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ การลงทุน หรือการสะสมเงินเพื่อใช้ในภายหลัง

  • รายได้เมื่อหักรายจ่ายแล้วจะมีส่วนซึ่งเหลืออยู่ ส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ซึ่งไม่ได้ถูกใช้สอยออกไปนี้เรียกว่าเงินออม
  • โดยทั่วไปการออมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีรายได้มากกว่าการจ่ายของเขา
  • การที่จะเพิ่มเงินออมให้แก่บุคคล อาจทำได้โดยการพยายามหาทางเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นด้วยการทำงานมากขึ้น ใช้เวลาว่างในการหารายได้พิเศษ หรือการปรับปรุงงานที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมีรายได้สูงขึ้น
  • การลดรายจ่ายลงด้วยการรู้จักใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมก็จะทำให้มีการออมเกิดขึ้นได้เหมือนกัน

การออมสำคัญอย่างไร

การออมเงินมีความสำคัญต่อคนเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากมันเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถควบคุมรายจ่าย และเตรียมความพร้อมในอนาคต ซึ่งอาจเป็นเวลาที่เราต้องการซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือใช้เงินในการเดินทาง การออมเงินยังช่วยให้เรามีรายได้สำรอง และเตรียมความพร้อมสำหรับภัยและอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ และการออมสำคัญอย่างไรมีอะไรบ้างไปดูพร้อมๆกันเลย

ช่วยให้ครัวเรือนมีความมั่นคง

  1. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินในครอบครัว
  2. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสมาชิกในครอบครัว
  3. เพื่อสะสมทรัพย์สินให้แก่สมาชิกของครอบครัวการออมทำให้ผู้ออมมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคต

ช่วยให้ครัวเรือนมีรายได้มากขึ้น

  1. โดยการนำเงินไปฝากธนาคารหรือ สถาบันการเงิน
  2. การซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือการซื้อหุ้นในธุรกิจต่างๆ จะทำให้ได้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ย เงินปันผลหรือกำไร

ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น

  1. โดยอาจนำเงินออมไปซื้อบ้าน รถยนต์ อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน
  2. เงินออมของประชาชนส่วนหนึ่งรัฐบาลจะนำไปใช้พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

เงินออมจะถูกนำไปใช้ในการลงทุนของ ภาคธุรกิจ การสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน

ช่วยลดปัญหาการพึ่งพาต่างประเทศ

การพยายามส่งเสริมการออมของคนไทย จะช่วยลดปัญหาการพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง

ทำไมเราต้องออมเงิน

ทำไมเราต้องออมเงิน เราจะมีเงินออมไว้ทำไมอย่างที่รู้ๆกันในยุคปัจจุบันนั้น สินค้าอุปโภคบริโภค ค่าครองชีพและความเป็นอยู่ค่อนข้างแพง จึงทำให้คนหันมาเก็บออมมากขึ้นแล้วเหตุผลที่ต้องออมเงินคืออะไรมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
เพื่อเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายประจำที่เป็นเงินก้อน

เช่น

  1. ค่าเบี้ยประกันภัย
  2. ค่าเบี้ยประกันชีวิต
  3. ค่าประกันภัยรถยนต์
  4. ค่าส่วนกลางคอนโดมีเนียม
  5. ค่าส่วนกลางหมู่บ้าน

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำรองที่จำเป็นต้องใช้ตามโอกาส

เช่น

  • การซื้อเครื่องเรือน
  • ซื้อรถใหม่
  • ภาษีสังคม
  • เงินช่วยเหลือ
  • เงินธรรมเนียมต่าง ๆ

ออมเงินเพื่อใช้ในเทศกาลต่างๆ ใช้หาความบันเทิงและให้รางวัลแก่ชีวิต

เช่น

  • เงินใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว
  • ชมภาพยนตร์
  • ชมคอนเสิร์ต

เพื่อให้มีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน

เช่น

  • ยามเจ็บป่วย
  • ช่วงว่างงาน
  •  เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  • ซ่อมบ้าน
  • ซ่อมรถ

ออมเงินไว้ใช้ในระยะยาว

เช่น

  • การซื้อบ้าน
  • ซื้อที่ดิน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องออมเงิน การออมเงินนั้นมีความสำคัญมากเพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันในอนาคตว่าเราจะต้องมีเรื่องใช้เงินเมื่อไหร่ ดังนั้นการมีเงินออมไว้สามารถทำให้เราอุ่นใจได้ในอนาคต

การออมมีกี่รูปแบบ

การออมเงินมี 6 รูปแบบ มีอะไรบ้าง ดังนี้

ออมเงินในบัญชีเงินฝาก

  • เป็นการฝากเงินไว้กับธนาคาร โดยเราสามารถเลือกได้หลายรูปแบบ ทั้งบัญชีออมทรัพย์ และบัญชีฝากประจำ

ข้อดี

  • ปลอดภัย
  • ความเสี่ยงต่ำ

ข้อเสีย

ผลตอบแทนน้อยถึงปานกลาง

ออมเงินในหุ้น

  • เป็นการลงทุนในหุ้นเพื่อต้องการได้มาซึ่งกำไร หรือผลตอบแทน ที่สูงกว่าการฝากเงินในบัญชี แต่มีความเสี่ยงมากกว่า

ข้อดี

  • ซื้อ-ขาย ได้ตามต้องการ
  • ผลตอบแทนสูงตามความเสี่ยง

ข้อเสีย

  • ความเสี่ยงสูง
  • ต้องติดตามราคาหุ้นเป็นประจำ

ออมเงินในประกันชีวิต

  • เป็นการออมเงินสำรองไว้เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับเราในอนาคต ออมในรูปแบบของการจ่ายเบี้ยประกันให้กับบริษัทประกันชีวิต
  • โดยบริษัทจะต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้เอาประกันเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรืออยู่ครบตามสัญญาในกรมธรรม์

ข้อดี

  1. แบ่งเบาภาระเรื่องภาษี
  2. ผลตอบแทนสูง
  3. คุ้มครองชีวิตและครอบครัว

ข้อเสีย

  1. ต้องออมในระยะยาวมาก
  2. อาจจะไม่ได้ใช้เงินออมนี้เอง เนื่องจากเสียชีวิตก่อนครบกำหนดระยะเวลา

ออมเงินใน LTF/RMF

  • เป็นการลงทุนระยะยาว รับดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าบัญชีเงินฝาก พร้อมได้สิทธิพิเศษในการนำเงินลงทุนมาใช้ลดหย่อนภาษีได้

ข้อดี

  1. ใช้ลดหย่อนภาษีได้
  2. ผลตอบแทนค่อนข้างดี
  3. ปลอดภัย ความเสี่ยงต่ำ

ข้อเสีย

ต้องเก็บออมไว้ในระยะยาว

ออมเงินในกองทุนรวม

  • การลงทุนในกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลเงินให้ตามนโยบายกองทุน ซึ่งมีหลายประเภท และถือเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนอีกทางหนึ่ง

ข้อดี

  1. ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
  2. มีมืออาชีพดูแลจัดการการลงทุนให้
  3. ผลตอบแทนค่อนข้างดี

ข้อเสีย

อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวน เนื่องจากขึ้น-ลงในทิศทางตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ย

ออมเงินในอสังหาริมทรัพย์

  • เป็นการซื้อที่ดิน บ้าน หรือทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเก็บเป็นทรัพย์สินในอนาคต และเป็นการเก็งกำไรในอนาคตในระดับดี ขึ้นอยู่กับแต่ละทำเลที่ตั้ง

ข้อดี

  1. ผลตอบแทนค่อนข้างดี
  2. ใช้เก็งกำไรในอนาคตได้

ข้อเสีย

  1. สภาพคล่องต่ำ
  2. ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก

จะเห็นได้ว่าทุกการออมนั้นมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ไม่มีแบบไหนที่จะการันตีได้ว่า ดีที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับเราเองว่าจะเลือกการออมแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุดนั่นเอง

สูตรออมเงินที่ใช้ได้ผลที่สุด

ปัจจุบันนี้มีวิธีการออมเงินมากมาย และยังสามารถทำให้เงินต้นที่เราฝาก สามารถงอกเงยด้วยตัวเองได้อีกด้วย ดังนั้นการวางแผนการเงินให้ดีเป็นสิ่งสำคัญ มีสูตรอย่างไรบ้างที่ใช้ได้ผลดีที่สุด ไปดูกันเลย

เมื่อเงินเดือนออกแล้วสิ่งแรกที่ควรทำ คือ ออมก่อนใช้

  • การจัดการเงินออมให้เหมาะสม คือ เมื่อเราได้เงินเดือน ให้แบ่งเงินส่วนที่จะออมเอาไว้ก่อนแล้วฝากธนาคารทันที
  • ส่วนเงินที่เหลือค่อยนำมาใช้จ่ายให้พอเพียงในเดือนนั้น
  • วิธีการง่าย ๆ เราสามารถเปิดบัญชีฝากประจำกับธนาคารที่เราใช้บริการอยู่ ให้มีการตัดยอดจากบัญชีเงินเดือนของเรา นำเข้าฝากบัญชีฝากประจำที่เราเปิดไว้โดยอัตโนมัติ
  • เมื่อเงินเดือนเข้าเงินส่วนนี้ก็จะได้รับการเก็บออมในทันที

สูตรการคำนวณอัตราการออมเงิน

  • อัตราการออมเงิน = (1 – ค่าใช้จ่าย/รายได้) x 100

ตัวอย่างเช่น

  • หากคุณมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 30,000 บาท มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 20,000 บาท
  • ตามสูตรแล้วก็จะมีอัตราการออมอยู่ที่ 33%
  • อีก 5 ปีต่อมาคุณมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเดือนละ 50,000 บาท มีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนที่ 45,000 บาท ก็เท่ากับว่าคุณจะมีอัตราการออมที่ 10% เท่ากับว่าคุณมีอัตราการออมที่เป็นบวก
  • คุณสามารถหารายได้ได้มากกว่า และทันกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่ว่ามีอัตราการออมลดลงจาก 33% เหลือ 10% ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดี
  • หากเราปล่อยเอาไว้นาน ๆ แบบนี้แม้จะมีรายได้ดี แต่เท่ากับว่าคุณแทบไม่มีเงินออมเพิ่มขึ้นตามรายได้เลย

สูตรคำนวนการออมเงิน สำหรับคนในแต่ละช่วงวัย

  • จำนวนเงินที่ควรออม = 2 x (อายุปัจจุบัน – อายุเริ่มทำงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน + เงินเดือนที่เริ่มงาน)

ตัวอย่างเช่น

  • นายน้ำอุ่นเริ่มทำงานเมื่ออายุ 20 ปี ได้รับเงินเดือนในเดือนแรก 15,000 บาท/เดือน ปัจจุบันนายน้ำอุ่นอายุ 30 ปี และทำงานแล้ว 10 ปี มีรายได้ในปัจจุบัน 30,000 บาท/เดือน
  • จากสูตรคำนวณในเบื้องต้น นายน้ำอุ่น ควรมีเงินออม 900,000 บาท

2 x (30 – 20) x (30,000 + 15,000) =900,000 บาท

  • สูตรการคำนวนจะช่วยในส่วนของการตั้งเป้าหมาย สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าจะตั้งเป้าหมายอย่างไรในเบื้องต้น ทั้งนี้เงินออมทั้งหมดไม่จำเป็นต้องเก็บในรูปแบบเงินสด
  • สามารถแบ่งเงินไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ ตามเป้าหมายในการออมและความเสี่ยงที่เหมาะสมของแต่ละคน
  • การออมเงิน จัดการเงิน ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ เพียงแค่เราสร้างวินัยในการออมเงินที่ดี ทำตามแผนที่เราวางเอาไว้ ไม่กี่ปีเราก็จะสามารถมีเงินออม เงินเก็บ และมีนิสัยการบริหารเงินที่ดีได้อย่างแน่นอน

สูตรออมเงิน 365 วัน

การออมเงินเป็นสิ่งที่เริ่มต้นได้ง่าย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำสำเร็จตามเป้าหมาย คนไหนประสบปัญหาเหล่านี้ อย่าเพิ่งท้อเพราะบางทีปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่วินัย แต่อยู่ที่วิธีการออมที่ไม่เหมาะสมกับนิสัยของตัวเอง

ในบทความนี้มีสูตรการออมเงิน 365 วัน มาแนะนำกันจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

สูตรออมเงินรายวัน เริ่มต้น 1 บาท

สูตรออมเงินรายวัน เริ่มต้น 1 บาท

วิธีการออมเงิน

  • เริ่มต้นออมเงิน 1 บาท จากนั้นบวกเพิ่มไปอีกวันละ 1 บาท
  • ตัวอย่างเช่น วันที่ 2 เก็บ 2 บาท วันที่ 3 ก็ 3 บาท เรื่อยๆ จนครบ 365 วัน
  • เมื่อครบ 365 วัน คุณจะมีเงินออมทั้งหมดถึง 66,795 บาท

สูตรออมเงินรายสัปดาห์ เริ่มต้น 10 บาท

สูตรออมเงินรายสัปดาห์ เริ่มต้น 10 บาท

วิธีการออมเงิน

  • เริ่มต้น 10 บาท ในสัปดาห์แรก และบวกเพิ่มอีก 10 บาทในสัปดาห์ถัดๆ ไป
  • เมื่อครบ 52 สัปดาห์ จะมีเงินออมทั้งหมด 13,780 บาท
  • วิธีนี้จะผ่อนคลายมากกว่าวิธีแรกเพราะไม่ได้กำหนดว่าต้องออมทุกวัน ไม่หักโหมจนเกินไป เหมาะกับมือใหม่หัดออม

เมื่อพบเทคนิคการออมเงินที่เหมาะกับตัวเองแล้ว ก็สามารถเริ่มวางแผนเก็บเงินได้เลยจ้า

สูตรบริหารเงิน 50-30-20 ยอดนิยม

การทำงานหาเงิน รอเงินเดือนออก แล้วก็กิน เที่ยว ช้อป หากใครเป็นแบบนี้มักลืมเรื่องการออมเงิน เพราะเน้นความสุขในช่วงที่ยังมีเงินให้จับจ่าย และความสุขจะลดลงตามเงินที่ลดลง หากต้องการมีเงินใช้จ่ายได้ทั้งเดือน ที่สำคัญมีเงินเหลือเก็บทุกเดือน ลองใช้ สูตร 50 – 30 – 20 แบ่งสัดส่วนรายได้ตามหมวดหมู่ที่วางแผนเอาไว้เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อการใช้จ่ายในแต่ละเดือน

สูตร 50 – 30 – 20 

ตัวอย่าง จากเงินเดือน  20,000 บาท

  1. ส่วนแรก 50% คือ 10,000 บาท
  • เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือน เช่น กินอยู่ ค่ากิน ค่าผ่อนรถ ผ่อนคอนโดมิเนียม จ่ายหนี้บัตรเครดิต รวมถึงให้พ่อแม่
  • โดยเงินก้อนนี้จะใช้จ่ายเพื่อความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ไม่ใช่เพื่อความต้องการ
  1. ส่วนที่สอง 30% คือ 6,000 บาท
  • เป็นเงินสำหรับใช้เพื่อสร้างความสุข เช่น ทานอาหารนอกบ้าน ช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว รวมถึงค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ เป็นต้น
  • แม้จะเป็นเงินจ่ายเพื่อให้รางวัลกับตัวเอง แต่ควรคิดให้รอบคอบว่าเพื่อความจำเป็นจริงๆ
  1. ส่วนที่สาม 20% คือ 4,000 บาท
  • เป็นเงินเก็บออม วิธีการ คือ แบ่งเงินออกเป็นก้อนๆ ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
  • ตัวอย่าง เช่น 1,000 บาทเก็บเพื่อเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน 1,000 บาท

เพื่อเตรียมซื้อบ้าน อีก 2,000 บาทเพื่อเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณ

เมื่อหาเงินมาได้ หากจัดสรรปันส่วนให้เหมาะสมกับชีวิตทั้งการใช้เพื่อความจำเป็น สร้างความสุขและเก็บออมเพื่อความมั่นคงในระยะยาว ย่อมทำให้มีเงินใช้ไปตลอดและเกิดความยั่งยืนกับคุณภาพชีวิต

วิธีการออมเงิน

ในปัจจุบันผู้คนเริ่มมีการออมเงินกันมากขึ้น เพราะการออมเงินจะช่วยให้ผู้ออมมีฐานะที่ดีขึ้น ช่วยให้หลุดพ้นจากการเป็นหนี้ แต่การจะออมเงิน ให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดมีวิธีในการออมอย่างไรบ้าง ไปดูพร้อมๆกันเลย

ตารางแสดงวิธีการออมเงินในรูปแบบต่างๆ

วิธีการออมเงินพร้อมทั้งข้อดี – ข้อเสีย ของการออม

รูปแบบการออม รายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย
การหยอดกระปุกเก็บออม แบบพื้นฐานเก่าแก่ดั้งเดิมที่เกิดขึ้นมาบนโลก เป็นวิธีง่าย ๆ แค่มีกระปุก ขวดโหลหรือซองเพื่อใช้ในการเก็บเงิน ง่าย สามารถทำได้เลยทันที สามารถเริ่มได้จากเงินตั้งต้นหลักหน่วยหรือหลักสิบ แค่มีความมุ่งมั่นหรือตั้งใจ บางครั้งอาจแบ่งกระปุกออกตามเป้าหมายที่แตกต่างกัน เช่น กระปุกนี้สำหรับไปเที่ยว กระปุกนี้สำหรับอุปกรณ์ไอที และกระปุกนี้สำหรับอาหารหรู ๆ สักมื้อ เป็นต้น หากผู้ออมใจไม่แข็งพอก็อาจจะหยิบฉวยเอาเงินที่ออมไว้มาใช้ก่อนที่จะถึงเป้าหมายได้เช่นกัน และข้อเสียอีกอย่างที่สำคัญคือ เงินที่ออมด้วยวิธีนี้จะปราศจากดอกเบี้ย เงินที่ออมไปจะเพิ่มตามหลักเงินที่เราออมเท่านั้น ไม่มีดอกเบี้ยใดมาเพิ่มเติม
แบบเงินฝาก ในปัจจุบันบัญชีเงินฝากของธนาคารเริ่มมีหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ทั้งบัญชีเงินฝากประจำ บัญชีแบบพิเศษที่มีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่ออม บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษหรือดอกเบี้ยปลอดภาษี ง่าย ความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หายไปไหน และสามารถมั่นใจได้กับดอกเบี้ยที่แน่นอน และบางครั้งระยะเวลาที่กำหนดในการฝากเงินก็จะช่วยให้เงินไม่ถูกนำไปใช้ตามใจชอบของผู้ออมมากจนเกินไปได้เช่นกัน ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน เพราะอัตราดอกเบี้ยคงที่และไม่สูงมากนัก และความที่มีการกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี บางครั้งจึงเป็นเงินก้อนใหญ่ที่พนักงานกินเงินเดือนตัวเล็ก ๆ ไม่สามารถเปิดได้
การซื้อสลากหรือพันธบัตร วิธีการออมเงินที่เริ่มมีเงื่อนไขหรือรายละเอียดปลีกย่อยเข้ามาเกี่ยวข้อง และมักเป็นวิธีการออมโดยหน่วยงานเฉพาะ โดยนอกจากจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากปกติแล้ว ก็ยังมีโชคให้ลุ้นกันอีกด้วย เป็นวิธีการออมที่ค่อนข้างปลอดภัย เงินต้นไม่หาย ดอกเบี้ยคงที่แน่นอนไม่แปรปรวน  และยังเหมาะกับผู้ที่ชอบเสี่ยงโชคเพราะลงทุนไปแล้วเงินต้นก็ไม่หายไปไหน อัตราดอกเบี้ยที่ยังสูงอัตราเงินเฟ้อไม่ได้ และยังมีเงื่อนระยะเวลามาบังคับซึ่งโดยมาเงินที่ออมในรูปแบบนี้จะมีระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี ดังนั้นเงินที่นำมาออมต้องแน่ใจว่าเป็นเงินเย็นที่ผู้ออมไม่มีความจำเป็นต้องใช้จนกว่าจะครบกำหนดการออมนั้นเอง
การซื้อประกัน ในปัจจุบันรูปแบบของประกันมีหลากหลายมากขึ้น และที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกันมากคือประกันแบบออมทรัพย์ เพราะให้ดอกเบี้ยการประกันค่อนข้างสูง และยังครอบคลุมการคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิตให้อีกด้วย เบี้ยประกันหรือผลตอบแทนค่อนข้างสูง ให้การคุ้มครองอื่น ๆ เช่น เงินตอบแทนกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต เป็นต้น และมักได้ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยประกันเป็นช่วง ๆ ตามระยะเวลาที่ทางประกันกำหนด ระยะการจ่ายเบี้ยค่อนข้างนาน ขั้นต่ำอย่างน้อยต้องต่อเนื่อง 5 ปี และต้องรอจนถึงระยะเวลาที่ทางประกันกำหนด จึงจะสามารถจึงจะได้เงินก้อนที่ทำประกันไปคืน จึงถือเป็นการทำสัญญาที่มีระยะเวลาผูกพันค่อนข้างนาน และบางครั้งหากไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันเป็นเงินก้อนได้ จะมีดอกเบี้ยที่ทำให้ต้องเสียเพิ่ม โดยที่ความคุ้มครองหรือผลตอบแทนเท่าเดิม
การซื้อกองทุน กองทุนถือเป็นการลงทุนเพื่อการออมประเภทหนึ่ง และมีอยู่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของนโยบายการลงทุน หรือการคืนทุนของกองทุนชนิดนั้น ๆ แต่กองทุนที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี คือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ( LTF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งซื้อขายผ่านธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาต และมีระยะเวลารวมถึงอัตราในการซื้อขายตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด ผู้ออมจะได้รับกำไรเป็นภาษีที่ได้รับการลดหย่อนทันที ตามหน่วยเงินที่ได้ลงทุนไป และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาของการลงทุนในกองทุนก็สามารถขายหน่วยกองทุนที่เราซื้อไว้คืนเป็นเงินกลับมาได้ โดยอัตรากำไรขึ้นกับตัวแทนผู้ขายกองทุนว่าสามารถนำเงินทุนที่เราลงไว้ไปทำให้งอกเงยหรือเกิดผลประโยชน์มากขึ้นเท่าใด มีอัตราความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่ว่าทุกกองทุนจะประสบความสำเร็จเหมือน ๆ กัน บางกองทุนก็อาจเกิดปัญหาขาดทุนได้ ทำให้การขายหน่วยกองทุนขาดทุนแทนที่จะได้กำไร และเนื่องจากมีระยะเวลากำหนดในการซื้อกองทุนเป็นระยะเวลานานไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงต้องแน่ใจว่าเงินที่ลงทุนไปนั้นเป็นเงินเย็นจริง ๆ
การซื้อหุ้น เป็นการลงทุนที่ท้าทายนักออมเงินทั้งหลาย เพราะการซื้อขายหุ้นแต่ละตัวนั้นถือเป็นศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจไม่น้อย ต้องอาศัยประสบการณ์และการศึกษารายละเอียด รวมถึงปัจจัยรอบข้างหลาย ๆ อย่างในการตัดสินใจเลยทีเดียว ให้ผลตอบแทนค่อนข้างเร็วและสูง สามารถเลือกได้ระหว่างการซื้อขายเพื่อเก็งกำไร หรือการซื้อขายเพื่อรอผลตอบแทนอื่น ๆ เช่น เงินปันผล และกำไรจากการซื้อขาย ความเสี่ยงสูงมาก หากเทียบกับการออมเงินวิธีอื่น ๆ สามารถมีจุดพลิกผันได้ตลอด ไม่มีอัตรากำไรหรือขาดทุนที่แน่นอน

การออมเงินแต่ละวิธีนั้นก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้ออมสามารถเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง ขึ้นกับฐานะ รายได้ อัตราในการรับมือกับเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการออม ก่อนเลือกการออมวิธีใดควรศึกษาตนเอง และข้อมูลของวิธีการออมที่เราเลือกให้ดีก่อนตัดสินใจ

ข้อดีของการออมเงิน

การออมเงินนั้นมีข้อดีดังต่อไปนี้

เป็นภูมิคุ้มกันทางการเงินชั้นดี

  • หมั่นออมเงิน สุขภาพทางการเงินก็จะดี เพราะการมีเงินออมหมายถึงการมีภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดีเยี่ยม
  • เมื่อไหร่ที่ทุกข์ร้อนเงินออมนี่แหละที่จะช่วยกู้สถานการณ์ร้ายๆจากหนักให้เป็นเบา
  • ฝันเล็กใหญ่ก็เป็นจริงได้
  • ถ้ามีเงินออมไม่ว่าจะอยากเรียนต่อต่างประเทศ อยากซื้อรถ เที่ยวต่างประเทศ  หรือเป็นเจ้าของธุรกิจ ก็เป็นจริงได้ทั้งนั้น
  • การมีเงินออมตุนไว้เรื่อยๆ จะช่วยเนรมิตทุกฝันไม่ให้ล่ม

มีเงินไว้ต่อยอดลงทุน

  • ข้อดีของการมีเงินออมอีกอย่างหนึ่งคือ มีเงินไว้ให้ต่อยอด
  • เพื่อที่วันหนึ่งเงินออมก้อนน้อยๆที่เรามี ก็อาจจะออกดอกออกผลกลายเป็นเงินก้อนโตได้

แก่ตัวอย่างไม่ลำบาก

  • ถ้าคุณเป็นคนออมเงินอย่างเสมอต้นเสมอปลาย  รับรองได้ว่าในอนาคตบั้นปลายของชีวิตคุณแก่ตัวอย่างไม่ลำบากแน่นอน

สุขภาพจิตดีมีความสุข

  • คนที่มีเงินออม ไม่เพียงมีวินัย  แต่ยังเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมีความสุข
  • เมื่อมีเงินออม ก็สามารถจะทำอะไรได้หลายๆอย่าง อยากกินอะไรได้กิน อยากเที่ยวที่ไหนได้เที่ยว  อยากซื้อทองก็มีเงินคอยเข้าไปดักซื้อ  หุ้นตกก็มีเงินรอเข้าไปช้อนหุ้นถูกๆ

มีเงินไว้แบ่งปันคนอื่นได้

  • เรื่องดีที่สุดของคนมีเงินออมคือ พวกเขาจะมีเงินเหลือเพียงพอที่จะแบ่งปันให้คนอื่นที่ฐานะด้อยกว่าได้อย่างไม่เป็นปัญหา

ข้อเสียของการออมเงิน

การออมเงินมีข้อเสียอย่างไรดังนี้

ไม่มีวินัยในการออมเงิน

  • ไม่มีวินัยในการออม จนส่งผลให้ไม่มีเงินเก็บ นั่นก็คือตัวคุณเอง ดังนั้น ต้องเริ่มปรับพฤติกรรมการออมเงินก่อน
  • ต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่เช่น เริ่มออมเดี๋ยวนี้ วันนี้ หรือตอนนี้ บวกกับการตั้งเป้าหมายในการออมเงินเพื่อเป็นแรงผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายด้วย

ความโลภเป็นเหตุ

  • ระหว่างทางจะมีกิเลสตัณหามาหลอกล่อให้เสียสมาธิในการเก็บเงินเสมอ บ้างก็เรื่องสินค้ากระแสนิยมที่กำลังมาแรง หรือการลงทุนเพื่อหวังกอบโกยผลกำไร
  • ในด้านของกระแสนิยมมาแรง คือสินค้าล่อตาล่อใจที่ออกมากระตุ้นความอยากให้รู้สึกว่า ของมันต้องมี สุดท้ายแล้วก็หลวมตัวด้วยการจ่ายเงินไปโดยไม่คำนึกถึงการออมเงินเพื่อเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้

เงินเฟ้อ

  • เงินเฟ้อจะส่งผลให้สินค้าและบริการแพงขึ้น ทำให้เงินที่มีอยู่มีคุณค่าน้อยลง สิ่งนี้เราไม่สามารถจัดการเองได้ เพราะเกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น
  •  เงินเฟ้อก็ยังส่งผลให้การออมเงินมีปัญหา เพราะรายได้เท่าเดิม แต่รายจ่ายมากขึ้น ทั้งค่าวัตถุดิบ จึงทำให้ไม่เหลือเงินไว้สำหรับการออม

เหตุการณ์ไม่คาดฝัน

  • เหตุการณ์ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นแบบที่คุณไม่ได้ตั้งตัว เพราะอยู่นอกเหนือแผนที่วางเอาไว้ทั้งหมด เช่น โดนรถชน เจ็บป่วยด้วยโรค หรือไฟไหม้ ซึ่งเหตุการณ์ฉุกเฉินเหล่านี้จะทำให้การออมเงินของคุณไปไม่ถึงฝัน
  • ถ้ามีการออมเงินไว้อยู่แล้วก็ต้องถอนเงินที่สะสมไว้มาจ่ายค่ารักษาพยาบาล ซ่อมแซม หรือชดเชยค่าเสียหายให้กับเหตุการณ์ที่ว่า ทำให้เงินสะสมที่ตั้งใจเก็บมาตั้งแต่แรกมีโอกาสหมดอยู่ดี

สรุป

  • การแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งเก็บสะสมไว้สำหรับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น เพื่อไว้ใช้ในอนาคต เผื่อเวลาฉุกเฉิน เพื่อใช้ในสิ่งที่อยากได้หรืออยากทำ
  • การออมส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้นต่ำ และได้รับผลตอบแทนไม่สูงนักเมื่อเทียบกับการลงทุน เช่น การฝากออมทรัพย์ การฝากประจำ การซื้อสลากออมทรัพย์
  • โดยทั่วไปควรออมเงินประมาณ 1 ใน 3 ของรายไ​ด้แต่ละเดือน อัตราส่วนนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับรายได้ปัจจุบันและแผนทางการเงินที่วางไว้
halo icon removebg preview

เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี

การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้