วิธีบริหารเงิน แบ่งเงินออกเป็น 4 ส่วน

1 วิธีบริหารเงิน แบ่งเงินออกเป็น 4 ส่วน

จุดตั้งต้นของความสำเร็จทางการเงิน ก็คงจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จทางการเงิน การวางแผนทางการเงินที่เก็บสะสม เพื่อให้พอกพูนขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ทุกคนจะรู้ว่าการออมเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ก็อย่าละเลยการวางแผนทางการเงินด้วยการบริหารเงินให้ดีเพื่ออนาคตที่รออยู่ข้างหน้าจะสะดวกสบายและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข วิธีบริหารเงินมีอะไรบ้างไปดูในบทความนี้เลยจ้า

Contents

วิธีบริหารเงินคืออะไร

การวางแผนทางการเงินเป็นการจัดการเงินเพื่อใช้ในอนาคตและในชีวิตประจำวัน เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จตามเป้าหมายในชีวิต

  • ซึ่งแต่ละบุคคลควรจัดสรรรายได้ของตนเองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายปัจจุบัน และเป็นเงินออมในอนาคตเป็นจำนวนเท่าใด สิ่งที่สำคัญในการวางแผนการออมคือการประมาณรายได้และรายจ่าย
  • ตัวอย่างเช่น บุคคลต้องการซื้อบ้านจะต้องวางแผนการออมโดยกำหนดจำนวนเงินและระยะเวลาที่สะสมเงินออมเพื่อให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ
  • เงินออมยังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินนามฉุกเฉิน แสดงให้เห็นว่าการออมเป็นรูปแบบของการลงทุนอย่างหนึ่ง ทุกคนจึงควรบริหารเงินออมอย่างรอบคอบ

วิธีบริหารเงิน แบ่งเงินออกเป็น 4 ส่วน

การวางแผนและกำหนดเป้าหมายทางการเงิน  เป็นวิธีการ บริหารเงิน ที่เริ่มด้วยการออมเงินที่เป็นรากฐาน นำมาซึ่งเงินต้นและดอกเบี้ยที่มีมากพอที่จะเป็นเงินไว้ใช้สำหรับลงทุนในด้านต่างๆ ที่จะเป็นส่วนของการบริหารเงินสามารถแบ่งได้ 4 ส่วน ดังนี้

เงินรายได้

  • แต่ละคนมีรายได้แตกต่างๆ กันไป คนมีรายได้มาก รายได้ปานกลาง รายได้น้อย  ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่รายได้สูง หรือลูกจ้างกินเงินเดือนแต่ละเดือน
  • ต้องตั้งเป้าหมายในอนาคตว่าตอนเรามีอายุมาก  ในวัยชราภาพแล้วทำงานไม่ได้แล้ว ก็ให้เงินทำงานแทนคือการลงทุนโดยไม่ต้องทำงาน
  • ให้มีค่าตอบแทนมากพอกับค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนได้ และจะมีเงินสำรองไว้

สามารถเก็บได้ในรูปแบบ

  1. เงินทุนการศึกษาของบุตร
  2. เงินเก็บไว้ในธนาคาร
  3. กองทุนรวมต่างๆ
  4. ทำประกันชีวิต
  5. ประกันสุขภาพ
  6. ซึ่งหากทำได้ดังนั้น นอกจากคุณจะมีเงินเก็บออม มีเงินใช้ตลอดเดือนแล้ว อนาคตคุณยังอาจจะร่ำรวยได้อีกด้วย

เงินออมจากรายได้ 

  • รายได้ที่เราได้จากการทำงานต่างๆ สะสมไว้ให้มากที่สุด ในตอนที่เรายังมีพละกำลังในวัยหนุ่มสาว สุขภาพก็ยังดีพยายามทำงานหาเงินไปให้มากที่สุด
  • ถ้าแก่ตัวไปอายุมาก ยังเก็บเงินไม่ได้เลย  หรือได้น้อยก็อาจเป็นปัญหาได้  จึงควรหาเงินเมื่อตอนอายุยังน้อย

สามารถเก็บได้ในรูปแบบ

  1. ออมไว้ในธนาคารโดยฝากประจำ ดอกเบี้ยจะสูงดอกเบี้ยเงินฝากทบต้น มีพลังมากทำให้เงินเพิ่มพูนขึ้นไปเรื่อยๆ
  2. เราต้องศึกษาหาความรู้เรื่องดอกเบี้ยกับอัตราเงินเฟ้อให้ดีพอ เพราะถ้าอัตราเงินมีมากว่าดอกเบี้ย
  3. ถ้านานหลายปีเข้าเงินเราจะใช้ได้น้อยกับการใช้จ่าย  แต่อัตราดอกเบี้ยมีมากกว่าอัตราเงินเฟ้อก็ไม่เป็นไร ฝากธนาคารไว้ปลอดภัยดีที่สุด

รายจ่ายประจำเดือน

มีหลายประเภทด้วยกัน

ประเภทแรกเป็นรายจ่ายที่แน่นอนทุกเดือน

  • เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเงินการศึกษาบุตร จะมีความแน่นอนตายตัว สามารถควบคุมได้ว่ามีรายจ่ายอยู่เท่าใดในเดือนหนึ่ง โดยไม่ต้องกังวลมากนัก
  • ถ้าเรายังทำงานมีเงินเดือนหรือที่เรียกว่ามนุษย์เงินเดือน เว้นแต่เจ้าของกิจการเองรายได้อาจไม่คงที่เป็นไปตามการค้าขายที่บางช่วงก็ดีบางช่วงก็ไม่ได้  ดังนั้นเจ้าของกิจการต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

ประเภทที่สองค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน

  • ค่ารักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เราคาดไม่ถึง เพราะคนเราอาจเจ็บป่วยได้ หรือถ้าร้ายหนักกว่านี้ก็เป็นอุบัติเหตุที่เราไม่รู้ได้ในวันใดวันหนึ่ง
  •  เราก็ควรทำประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุไว้ด้วย   ค่าทานเลี้ยงงานต่างๆ ค่าไปเที่ยวพักผ่อน ก็ให้มีได้พอประมาณตามสังคม

เงินที่จะนำไปลงทุน

  • มีให้เลือกลงทุนมีหลายแบบที่เราจะเลือกต้องความถนัดของเรา และเป็นแบบที่ได้ผลตอบแทนที่ดี  แล้วให้เรานำเงินบางส่วนที่สามารถนำมาลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
  • โดยเงินที่มาลงทุนจำนวนนี้ลงเสียหายก็ยังมีเงินเหลืออยู่มากพอที่จะใช้จ่ายในการดำรงชีวิตได้
  • ซึ่งเงินที่จะนำมาลงทุนนั้นเราต้องเลือกลงทุนในแบบที่มีความเสี่ยงไม่มากแต่ได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากที่ธนาคาร

ตัวอย่างการลงทุน

  1. พันธบัตร
  2. กองทุนรวมต่างๆ
  3. แนะนำให้เลือกการลงทุนที่เหมาะกับตัวคุณที่สุด และคุณสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงต่อการขาดทุนมากนัก
  4. โดยเฉพาะการลงทุนที่คุณพอจะมีพื้นฐานและความถนัดอยู่แล้ว ซึ่งหากทำได้ดังนี้ คุณจะประสบความสำเร็จทั้งการลงทุนและการประสบความสำเร็จในชีวิตกันเลยทีเดียว

การมีวินัยจะทำให้ไปถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ในการวางแผนบริหารการใช้เงินได้ดีไม่มีสะดุด  และจะประสบความสำเร็จโดยรวดเร็วที่สุด ถ้ารักษาวินัยให้เป็นไปตามแผน

 การแบ่งเงิน 4 ส่วน โดยเก็บแยก 4 บัญชี

2 การแบ่งเงิน 4 ส่วน โดยเก็บแยก 4 บัญชี

ถ้าอยากแบ่งเงินเป็นส่วนๆแนะนำให้เปิดบัญชีไว้ 4 บัญชีเพื่อเก็บเงินในแต่ละส่วน จะมีบัญชีแบบใดบ้างไปดูกันเลย

บัญชีทั่วไป ใช้ในชีวิตประจำวัน

  • ส่วนแรกนี้ มันก็คือบัญชีที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นบัญชีพื้นฐานทั่วไปเลย

บัญชีออมเงินระยะสั้น

  • บัญชีที่เราเอาไว้สำหรับออมเงิน เพื่อเป้าหมายระยะเวลาไม่นานมาก อาจจะสัก 3-7 ปี

ตัวอย่างเช่น

  1. ซื้อบ้าน
  2. ซื้อรถ
  3. เก็บเงินแต่งงาน
  4. ลงทุนในด้านต่างๆ

บัญชีออมเงินระยะยาว

  • บัญชีที่เราจะออมกันยาวๆ ประมาณว่าห้ามถอนเด็ดขาดเลย
  • โดยปกติจะเป็นเงินส่วนที่เราออมไว้เพื่อใช้ในยามแก่ชราแล้วนั้นเอง
  • บางคนอาจจะมีความคิดว่า ตอนเราแก่ไป เดี๋ยวก็มีลูกหลานดูแล แต่ความคิดแบบนั้นหลายๆครั้งมันก็อันตราย อะไรจะเกิดขึ้นบ้างก็ไม่รู้ ยังไงกันไว้ก็ดีกว่าแก้

บัญชีออมเพื่อการลงทุน

  • ส่วนนี้คือส่วนที่เราจะออมไว้เพื่อลงทุนในด้านต่างๆ
  • เพื่อให้เงินของเรามันงอกเงยเติบโตขึ้นมา เพราะเราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าดอกเบี้ยธนาคารมันไม่พอหรอก
  • ใช้เงินส่วนนี้เพื่อให้เงินที่เรามีอยู่นั้นเติบโตขึ้นไปอีก

บัญชีทั้ง 4 ประเภทที่เราควรมีไว้นั้นเอง เพื่อให้การบริหารเงินเป็นไปตามแผนที่วางไว้ทำให้มีความสุขกับการใช้ชีวิตในอนาคต โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องเงิน

วิธีบริหารเงิน แบ่งเงินเป็น 6 ส่วน

การบริหารจัดการที่ดีพอ เราจะต้องหาวิธีบริหารเงินที่ถูกต้อง เพื่อสร้างนิสัยทางการเงินที่จะพาชีวิตเรามั่งคั่งได้ในอนาคต โดยสิ่งสำคัญคือการแบ่งรายได้ต่อเดือนที่ได้รับทั้งหมดออกเป็น 6 ส่วน มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

ส่วนที่ 1 เงินใช้จ่ายจำเป็น

  • เงินที่ใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างเช่น

  1. ค่าอาหาร
  2. ค่าน้ำ
  3. ค่าไฟ
  4. โดยส่วนนี้คิดเป็น 55% ของรายได้ทั้งหมดในแต่ละเดือน

ส่วนที่ 2 เงินสำหรับหลังเกษียณ

  • เงินออมสำหรับสำรองไว้ใช้ในอนาคตหลังจากที่ต้องออกงาน หรือยามวัยชรา สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ไม่เดือดร้อนลูกหลาน
  • โดยส่วนนี้คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมดในแต่ละเดือน

ส่วนที่ 3 เงินก้อนใหญ่ให้อนาคต

  • คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมด

เงินออมระยะยาว

  1. เก็บเงินไว้แต่งงาน
  2. ซื้อบ้าน
  3. เมื่อถึงเวลาที่จะต้องจ่ายจะได้มีกำลังในการจ่าย โดยไม่ต้องหยิบยืมใครให้เป็นหนี้

ส่วนที่ 4 เงินเพื่อการศึกษา

  • การลงทุนเพื่อตัวเองเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด
  • เงินส่วนนี้จะช่วยเพิ่มทักษะ การพัฒนาความรู้ต่างๆ
  • โดยคิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมด

ส่วนที่ 5 เงินสำหรับรางวัลชีวิต

  • คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมด
  • เป็นเงินที่สนองความสุข
  • การให้รางวัลกับตัวคุณเองหลังจากที่ทุ่มเทกับการทำงาน เช่น ได้เงินมา 100 บาท แบ่งลงกระปุกใบนี้ 10 บาท

ส่วนที่ 6 เงินใจบุญ

  • เป็นเงินแห่งการแบ่งปันเพื่อผู้อื่น
  •  คิดเป็น 5% ของรายได้ทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น

  1. การบริจาค
  2. ทำบุญ
  3. หรือแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้เพื่อนๆ หรือครอบครัวก็ได้

ในแต่ละวิธีการจะกำหนดสัดส่วนของเงินแต่ละก้อนไว้ชัดเจน แต่สามารถปรับเพิ่ม หรือลดบางอย่างเพื่อให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเรามากที่สุด อย่างน้อยขอให้เริ่มจากการออมและลงทุนเพื่ออนาคตกันก่อน เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตข้างหน้า

แบ่งเงินเป็นเปอร์เซ็นต์ ทำยังไง

วิธีนี้จะทำให้เราวางแผนการออมเงินและการใช้ชีวิตในแต่ละเดือนได้อย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีหักเปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนอย่างชัดเจน

ซึ่งวิธีจะทำให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือนเราจะต้องมีเงินใช้จำนวนเท่าไหร่ และยังเป็นวิธีที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีรายจ่ายจำเป็นที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนอีกด้วย จะมีการแบ่งเปอร์เซ็นต์แบบใด ไปดูกันเลย

การแบ่งเงินเป็นเปอร์เซ็นต์

  • เงินออม 20%
  • รายจ่ายจำเป็น 45%
  • รายจ่ายในชีวิตประจำวัน 35%

ตัวอย่าง 

  • นางสาวมาลีได้รับเงินเดือน 30,000 บาท มาลีจะต้องแบ่งสัดส่วนเงิน ดังนี้
  • เงินออม 20% ของเงินเดือน = 30,000 x 20/100 = 6,000 บาท
  • รายจ่ายจำเป็น 45% ของเงินเดือน = 30,000 x 45/100 = 13,500 บาท
  • รายจ่ายในชีวิตประจำวัน 35% ของเงินเดือน = 30,000 x 35/100 = 10,500 บาท

ข้อดีของวิธีนี้

  • ช่วยให้เราวางแผนการใช้เงินอย่างเป็นสัดส่วนที่ทำให้เรารู้ว่าเรามีกำลังทรัพย์มากพอจะใช้จ่ายในส่วนนั้น ๆ หรือไม่
  • ตัวอย่างเช่น เราอยากมีรถ 1 คัน หากแบ่งเปอร์เซ็นต์ตามนี้แล้วนั้น เราจะสามารถผ่อนค่างวดรถได้หรือไม่ หากไม่ได้เราอาจจะต้องเพิ่มรายรับของเราให้มากขึ้นเพื่อให้เราบรรลุเป้าหมาย
  • โดยที่เราไม่จำเป็นต้องดึงเงินออมมาใช้จ่ายแต่อย่างใด

สูตรบริหารเงินที่ใช้ได้ผลที่สุด

การบริหารเงินที่ใช้ได้ผลดีที่สุด มีสูตรอะไรไปดูกันเลย

สูตรที่บริหารเงินแบบ 50 – 30 – 20

  • สำหรับสูตร 50 – 30 – 20 นี้จะแบ่งสัดส่วนรายได้ตามหมวดหมู่ที่วางแผนไว้
  • เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อการใช้จ่ายในแต่ละเดือน คือ เวลาเงินเดือนเข้าบัญชีก็จัดการแบ่งออกเป็น 3 ก้อนไว้เลย

ตัวอย่างเช่น

เงินเดือน 15,000 บาท ก็แบ่งเป็น 7,500 บาท : 5,000 บาท : 2,500 บาท โดยจำแนกเงินออกเป็นดังนี้

เงินก้อน 50% สำหรับใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือน

  • เงินจำนวน 7,500 บาท สำหรับใช้จ่ายในแต่ละเดือน
  •  เงินค่าอยู่ค่ากิน เงินจ่ายหนี้บัตรเครดิต เงินค่าผ่อนของ ค่าผ่อนรถ หรือผ่อนคอนโดมิเนียม รวมถึง ให้พ่อแม่
  • โดยเงินก้อนนี้จะใช้จ่ายเพื่อความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ไม่ใช่เพื่อความต้องการ
  • ดังนั้น ก่อนตัดสินใจต้องแน่ใจว่าใช้จ่ายเพื่อความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

เงินก้อน 30% สำหรับใช้เพื่อซื้อสร้างความสุข

  • เงิน 5,000 บาท สำหรับใช้เพื่อสร้างความสุข เช่น ทานอาหารนอกบ้าน ชอปปิง ท่องเที่ยว
  • รวมถึง ค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ เป็นต้น
  • อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเป็นเงินจ่ายเพื่อให้รางวัลกับตัวเอง แต่ควรคิดให้รอบคอบว่าเพื่อความจำเป็น
  •  หากเป็นเช่นนี้จะทำให้การใช้จ่ายเงินอยู่ในงบประมาณที่วางเอาไว้

เงินก้อน 20% สำหรับใช้ในการออม

  • เงินก้อนสุดท้ายจำนวน 2,500 บาท สำหรับเก็บออม
  • โดยทำการแบ่งเงินออกเป็นก้อนๆ ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
  • ตัวอย่างเช่น 1,000 บาทเก็บเพื่อเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน 500 บาทเพื่อเตรียมซื้อของในเวลาจำเป็น อีก 1,000 บาท เพื่อเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณ
  • โดยเงินก้อนสุดท้ายนี้ควรนำไปเก็บออมไว้ตามความเหมาะสมของแต่ละเป้าหมาย
  • โดยเงินเก็บเพื่อเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินควรเป็นเงินฝากออมทรัพย์หรือกองทุนรวมตลาดเงิน เงินเพื่อซื้อบ้านควรนำไปซื้อกองทุนรวมผสม หรือ เงินเพื่อวัยเกษียณ เป็นต้น

สูตรบริหารเงินที่เราได้แนะนำไปนั้นในการวางแผนการเงินสำหรับอนาคต จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เพราะไม่มีใครรู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง และต้องมีวินัยในตัวเองค่อนข้างสูง บังคับตัวเองไปสักระยะหนึ่ง เราจะพบว่าสิ่งที่ทำไปนั้นคุ้มค่าอย่างแน่นอน

สูตรแบ่งเงินมนุษย์เงินเดือนให้พอใช้ถึงสิ้นเดือน

หลายคนที่มีปัญหาเกิดจากการไม่วางแผนการใช้เงินว่าต้องใช้สำหรับอะไรบ้าง มาดูวิธีการแบ่งเงินเดือนว่าต้องทำยังไงให้พอใช้ถึงสิ้นเดือน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

  1. รายจ่ายประจำ

  • แบ่งให้ส่วนนี้สูงสุดไม่เกิน 60% (หรือประมาณ 50-60%) ของรายได้

รายได้ที่จำเป็นต้องจ่ายในทุกๆ เดือน

  1. ค่าผ่อนคอนโด/ค่าหอพัก/ค่าบ้าน
  2. ค่าส่วนกลาง
  3. ค่าเดินทาง
  4. เงินสำหรับให้พ่อแม่
  1. รายจ่ายในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อดำรงชีพ
  • แบ่งส่วนนี้ 35% (หรือประมาณ 35-45%) โดยจะไม่ให้เกินนี้ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด

รายจ่ายเพื่อดำรงชีพ

  1. ค่าอาหาร
  2. ค่าเที่ยว
  3. ค่าสังสรรค์กับเพื่อน
  4. กินข้าวนอกบ้าน
  5. ซื้อของใช้
  1. แบ่งเงินออม เงินลงทุน
  • แนะนําให้เริ่มออมเงินที่ 10% และค่อยๆ เพิ่มขึ้นไป แต่ถ้าใครเป็นมือใหม่เพิ่มเริ่มต้นหรือเงินเดือนยังไงเยอะก็ปรับลงให้เหลือ 5% ได้ (หรือประมาณ 5-10%)
  • พอได้ออมจนติดเป็นนิสัยค่อยเพิ่มสัดส่วนการออมการลงทุนขึ้น

ประโยชน์ของการวางแผนทางการเงิน

  1. การวางแผนทางการเงิน ทำให้รู้ถึงสถานะทางการเงินที่แท้จริง
  • คนเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าตนเองมีสถานะการเงินอย่างไร หากใครที่ต้องการวางแผนการเงิน การรู้สถานะทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นอันดับแรก
  • คุณสามารถใช้โปรแกรมคำนวณในการช่วยบันทึกข้อมูลเหล่านี้โดยแยกรายการหรือแยกหน้าตามที่ต้องการ
  • ตั้งแต่การบันทึกค่าใช้จ่ายประจำวันและสรุปเป็นรายเดือนเพื่อเปรียบเทียบระหว่างเดือน คุณมีรายรับจากด้านใดบ้างในแต่ละช่วงเวลาของปี
  1. การวางแผนทางการเงิน ช่วยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
  • จากการทำตารางเพื่อบันทึกรายการค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ถ้าคุณบันทึกได้ดีและลงรายละเอียดว่ามีการใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ไปอย่างไรบ้างในแต่ละวัน
  • สิ่งเหล่านี้คุณจะจำไม่ได้เลยถ้าไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้ หากใช้บัตรเครดิตก็จะไม่สามารถครอบคลุมและเห็นเพียง Statement รายเดือนเท่านั้น
  • การจดบันทึกจะเป็นเหมือนมิเตอร์ที่เตือนให้คุณรู้ว่าค่าใช้จ่ายในหมวดใดหรือรายการใดที่คุณใช้เงินเกินจำเป็นแล้ว
  • ส่วนจะลดรายการใช้จ่ายอย่างไรก็อยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละบุคคล ตารางข้อมูลเป็นเพียงตัวช่วยในการบ่งบอกเท่านั้น
  1. การวางแผนทางการเงิน ส่วนบุคคล ทำให้มีรายได้เพิ่มจากการออมและวางแผนภาษี
  • การทราบที่มาที่ไปว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างไร ทำให้บุคคลสามารถจัดการเรื่องการออมได้อย่างถูกต้อง
  • ถ้ามีเงินเดือนในบริษัทที่มั่นคงและดำเนินชีวิตตามปกติก็ค่อนข้างจะคำนวณได้แม่นยำว่าต้องการเก็บออมเงินเป็นจำนวนเท่าใด และจะออมอย่างไร
  • เพื่อที่จะได้แบ่งสรรปันส่วนเงินไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ได้ เช่น บริจาคเพื่อการกุศล การซื้อประกันชีวิตหรือการซื้อกองทุนรวม หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้เป็นส่วนลดหย่อนค่าใช้จ่ายก่อนคำนวณภาษีได้
  1. การวางแผนทางการเงินทำให้สามารถวางแผนการใช้ชีวิตในอนาคต
  • เพราะคนเราไม่ได้มีสถานะอยู่เหมือนเดิมตลอดไป  ตามอายุที่เพิ่มขึ้น คุณก็จะต้องเกษียณในอนาคต และหลังจากเกษียณแล้วคุณจะหารายได้อย่างไรต่อไป
  • การวางแผนทางการเงินจะทำให้รู้ว่าคุณมีเงินเหลือพอที่จะหาความสุขในชีวิต เช่น ไปท่องเที่ยวได้อย่างไร มีงบที่จะไปเรียนต่อได้หรือไม่
  • สิ่งเหล่านี้สามารถทำได้โดยการวางแผนทางการเงินเพื่อให้คุณจัดการเงินรายได้และรายจ่ายอย่างเหมาะสมโดยยังคงมีความมั่นคงทางการเงินรองรับ

ข้อดีของการมีแผนการเงินที่ชัดเจน

3 ข้อดีของการมีแผนการเงินที่ชัดเจน

ทำให้รู้สถานะการเงินที่แท้จริง

  • การรู้สถานะการเงินของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ว่าเรามีเงินเก็บอยู่ในระดับไหนแล้ว จะเป็นการช่วยสร้างความสุขทางใจให้เราได้อย่างไม่น่า

มีวินัยในการใช้จ่ายมากขึ้น

  • เมื่อเราได้วางแผนทางการเงินอย่างจริงจังแล้ว จะทำให้เรามองเห็นทิศทางการใช้จ่ายในแต่ละช่วงเวลาอย่างชัดเจน จะช่วยทำให้เรามีวินัยและอุปนิสัยในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วยอย่างแน่นอน

มีรายได้เพิ่มแน่นอน

  • แน่นอนว่าเมื่อเราวางแผนทางการเงินตั้งแต่การใช้จ่าย การเก็บออม จนถึงการลงทุนนั้น จะทำให้เรากลายเป็นคนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เท่ากับว่าในแต่ละปีจะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ขณะที่ต้นทุนก็ยังมั่นคง

ตั้งเข็มทิศชีวิต ได้ตรงทิศทาง

  • การเปลี่ยนงานแต่ละครั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ไหนจะเรื่องค่าใช้จ่ายระหว่างที่ไม่มีงานทำ หรือจะไปเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเองก็ต้องใช้เงินลงทุน จะมากจะน้อยก็ต้องใช้อยู่ดี
  • แต่หากเราผ่านการวางแผนทางการเงินมาสักระยะ เราอาจจะตั้งเข็มทิศชีวิตได้เร็วกว่ากำหนด

จัดการชีวิตได้อย่างลงตัว

  • การใช้จ่าย กินเที่ยว ในแต่ละวัน บางครั้งเรามองเห็นเป็นตัวเลขที่ไม่ชัดเจน หากเริ่มต้นวางแผนทางการเงินเสียตั้งแต่วันนี้ ก็จะทำให้เราค้นหาตัวเองเจอได้เร็วขึ้น

ข้อเสียของการไม่วางแผนทางการเงิน

ไม่วางแผนการเงิน รายได้สูญเปล่าอย่างไร้ประโยชน์

  • ถ้าหากลงทุนลงแรงด้วยความเหนื่อยยาก แต่กลับไม่รู้จักวางแผนการใช้จ่าย ก็ย่อมจะต้องนับเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะจะทำให้รายได้ที่หามานั้นจำต้องสูญเปล่าไปอย่างไร้ซึ่งประโยชน์

ไม่วางแผนการเงิน ไม่มีเงินเก็บ

  • การใช้จ่ายโดยไม่วางแผนทางการเงิน ทำให้ท่านไม่มีเงินเก็บ เพราะเมื่อมีรายได้ แทนที่จะนำรายได้นั้นมาแบ่งสันปันส่วนไว้เป็นเงินเก็บเพื่อสำรองใช้ในยามฉุกเฉิน ก็กลับใช้จ่ายไปเสียจนหมดสิ้น

ไม่วางแผนการเงิน ทางลัดสู่ภาวะหนี้สิน

  • เมื่อไม่มีเงินเก็บเพราะขาดการวางแผนทางการเงินที่ดี ผลพวงประการถัดมาก็คือเรื่องของหนี้สิน เพราะถ้าหากถึงคราวเคราะห์ที่ต้องพบกับรายจ่ายอันไม่คาดคิด

ไม่วางแผนการเงิน ไปไม่ถึงฝั่งฝัน

  • ผู้ที่มีรายได้ในช่วงแรกเริ่ม อาจมีความทะเยอทะยานในการใช้จ่ายเพื่อแลกมาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน รถ คอนโด หรือข้าวของเครื่องใช้อันมีมูลค่า
  • รายได้นั้นกลับไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่จะช่วยให้สามารถได้มาซึ่งสิ่งต่างๆ ได้ แต่ปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือเรื่องของการวางแผนทางการเงิน

ไม่วางแผนการเงิน ใช้เงินอย่างไม่มีอนาคต

  • การไม่วางแผนทางการเงิน นับเป็นการใช้เงินอย่างสะเปะสะปะ ไม่มีระบบแบบแผนที่ควบคุมได้
  • ดังนั้นจึงทำให้สภาวะทางการเงินขาดความมั่นคง ไม่สามารถกำหนดได้ว่าในแต่ละเดือนจะต้องมีรายรับเท่าใด มีรายจ่ายเท่าใด และมีเงินเก็บเท่าใด จึงยากที่จะกำหนดอนาคตได้

ไม่วางแผนการเงิน ไม่มีวันประสบความสำเร็จ

  • การวางแผนทางการเงิน เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เราทุกคนสามารถประสบความสำเร็จทางด้านการเงินได้
  • เมื่อสามารถทราบถึงภาวะทางการเงิน ทั้งรายรับ รายจ่าย เงินคงเหลือ ตลอดจนความเสี่ยงต่างๆ ก็ย่อมสามารถควบคุมได้โดยอิสระ

สรุป

  • เมื่อเห็นประโยชน์ที่สำคัญของการ วางแผนทางการเงิน ส่วนบุคคลแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงจะต้องหันกลับมาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องวางแผนทางการเงินอย่างจริงจัง
  • เพื่อให้สามารถลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและรู้ว่าต้องหารายได้เพิ่มอย่างไรบ้างจึงจะเพียงพอต่อรายจ่ายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
  • ปัจจุบันก็มีหนังสือและวิดีโอความรู้มากมายเกี่ยวกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคล
  • ยิ่งเราใส่ใจด้านการวางแผนการเงินมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสร่ำรวยมากขึ้นเท่านั้น
logo favicon

Forexduck เป็นนามปากกาของผู้เขียนครับ เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี

การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้