ปัจจุบันมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย อย่างเช่นปัจจัยที่เกี่ยวกับสุขภาพก็เช่นกัน โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายไม่ว่าจะเป็นอาหาร สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต ต่างส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ จนอาจต้องสูญเสียเงินจำนวนมากไปกับค่ารักษาพยาบาล จึงเกิดการทำประกันสุขภาพขึ้น และมีคำถามมากมายว่าทำประกันสุขภาพไปเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร และมีกี่ประเภท เรามาดูไปพร้อมๆกันในบทความนี้เลยจ้า
ประกันสุขภาพ คืออะไร
ประกันสุขภาพเป็นการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าเบี้ยประกันให้กับบริษัทประกันเพื่อความคุ้มครองในกรณีเกิดความเสียหายหรือโรคต่าง ๆ ซึ่งบริษัทประกันจะเป็นผู้ช่วยเหลือในการชดเชยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
- ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้แก่ผู้เอาประกันภัย
- ไม่ว่าจะเป็นอาการป่วยเล็กน้อยที่ไปหาหมอแล้วรับยากลับบ้าน หรือเจ็บป่วยหนักจนต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานอย่างไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ตลอดจนโรคร้ายแรงต่างๆ
- แต่สำหรับใครที่มีข้อสงสัยว่าแล้วประกันสุขภาพคุ้มครองโรคอะไรบ้างนั้น ต้องบอกว่าความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับหลักประกันสุขภาพในแต่ละแผน
- แผนประกันสุขภาพบางแผนอาจคุ้มครองโรคเฉพาะ แต่บางแผนอาจคุ้มครองมากกว่า 1 โรค
ประกันสุขภาพ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
การทำประกันสุขภาพเพื่อความคุ้มครองในกรณีเกิดความเสียหายหรือโรคต่าง ๆ ในการรักษาพยาบาล บริษัทประกันจะเป็นผู้ช่วยเหลือในการชดเชยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล มีประเภทต่างๆ คือ
ประกันสุขภาพกลุ่ม
- แบบประกันที่บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ นิยมทำให้กับพนักงานหรือบุคลากรภายในองค์กร
- เพื่อมอบเป็นสวัสดิการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล และหลักประกันให้กับพนักงานที่ทำงานให้กับองค์กรนั้น ๆ ภายใต้กรมธรรม์เดียวกัน
- ซึ่งความคุ้มครองจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความประสงค์องค์กรนั้น ๆ
- ข้อดีคือค่าเบี้ยประกันต่อคนต่ำ เนื่องจากการคำนวณเบี้ยประกันเฉลี่ยออกมาเป็นอัตราเดียว
- ใช้กับทุกคนในกลุ่ม ทำให้ค่าเบี้ยประกันโดยรวมจะต่ำกว่าประกันสุขภาพแบบรายบุคคล
ประกันสุขภาพส่วนบุคคล หรือประกันรายเดี่ยว
- แบบประกันสุขภาพที่ซื้อมาเพื่อคุ้มครองผู้เอาประกันรายเดี่ยว โดยสามารถเลือก และกำหนดได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคลให้เหมาะตามความเสี่ยง และความต้องการนั้น ๆ
- ข้อดีคือมีอิสระสามารถเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับตนเองตามแบบ และค่าเบี้ยก็จะคำนวณตามอายุ และเพศของผู้เอาประกันคนนั้นๆ
- ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ ก็ถือว่าเป็นความคุ้มครองที่อยู่ในประกันสุขภาพส่วนบุคคลเช่นเดียวกัน
ประกันสุขภาพสำคัญอย่างไร
การทำประกันสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคสมัยนี้ เรามาดูไปพร้อมกันเลยจ้า
ช่วยวางแผนค่าใช้จ่ายได้
- การทำประกันสุขภาพเอาไว้ แม้จะไม่ได้ใช้ในทันที
- แต่เมื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้นมา ก็เหมือน มีตัวช่วยค่ารักษาพยาบาล ทั้งค่าห้อง ค่ายา ค่าแพทย์ หรือจะค่าใช้จ่ายอื่นๆ
- โดยไม่ต้องกังวลว่าเงินเก็บที่หามาจะหมดไปกับค่ารักษาที่เกิดขึ้น
คุณต้องการผู้ช่วยคอยดูแล มากกว่าสวัสดิการ
- ทุกคนมีสวัสดิการสุขภาพขั้นพื้นฐานคอยดูแลอยู่แล้ว และอาจคิดว่าการทำประกันสุขภาพนั้นไม่จำเป็น
- แต่เหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ และพร้อมพรากเงินเก็บไปจากเราได้ทุกเมื่อ
- บางครั้งสวัสดิการที่มีก็อาจไม่เพียงพอ หรือครอบคลุมต่อการรักษา รวมถึงการได้รับบริการที่ดีอีกด้วย
- การทำประกันสุขภาพเอาไว้แต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินที่ขาดหายได้
ได้ทั้งการคุ้มครองสุขภาพและการลดหย่อนภาษี
- หลายคนอาจคิดว่าประกันสุขภาพเป็นเพียงการจ่ายเบี้ยทิ้งเปล่า
- ในความจริงแล้ว ประกันจากความคุ้มครองสุขภาพนั้น ไม่เพียงคุ้มครองสุขภาพของเราเท่านั้น แต่ยัง สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
ประกันสุขภาพมีความคุ้มครองอะไรบ้าง?
ผลประโยชน์คุ้มครองสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD)
- ให้ความคุ้มครองสุขภาพในกรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรมติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
- โดยจะต้องได้รับการวินิจฉัย และคำแนะนำจากแพทย์ นอกจากนี้ยังรวมถึงในกรณีที่ทางโรงพยาบาลได้รับตัวผู้ป่วยหรือผู้เอาประกันไว้ในฐานะผู้ป่วยใน แต่เสียชีวิตลงภายใน 6 ชั่วโมงด้วย
- ซึ่งการทำประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยในจะมอบความคุ้มครองครอบคลุมในเรื่องของค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าปรึกษาแพทย์ ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ารถพยาบาล ค่าบริการทั่วไป
- ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลหรือผ่าตัดฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากเกิดอุบัติเหตุ
- ซึ่งส่วนใหญ่ประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยในหรือ IPD จะเหมาะสำหรับการทำประกันสุขภาพเด็กและการทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุ
- เพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ
- สำหรับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายก็เป็นผลประโยชน์ของความคุ้มครองสุขภาพผู้ป่วยในเช่นเดียวกัน
ผลประโยชน์คุ้มครองสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD)
- ให้ความคุ้มครองสุขภาพในกรณีที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม โดยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือสามารถเดินทางกลับบ้านได้เลย
- ซึ่งปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่จะมีอาการที่ไม่รุนแรง หรือไม่จำเป็นต้องเฝ้าสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิด เช่น การเป็นไข้หวัด ปวดหัวเล็กน้อย หรืออาการแพ้ต่าง ๆ
- ซึ่งการทำประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอกจะมอบความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าปรึกษาพบแพทย์ รวมไปถึงค่ายา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ
- ซึ่งประกันสุขภาพนี้จะเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย เนื่องจากสามารถได้รับการรักษาโดยที่ไม่ต้องสำรองจ่าย และไม่ว่าอาการเหล่านั้นจะเจ็บป่วยรุนแรงหรือเล็กน้อยก็ตาม ทำให้เป็นแบบประกันที่นิยมกันอย่างมากในปัจจุบัน
ความคุ้มครองประกันสุขภาพจะแบ่งออกเป็น 7 ประเภท อะไรบ้าง
- ประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองเมื่อ ผู้เอาประกันต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการทั่วไป และค่าใช้จ่ายกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉินหลังเกิดอุบัติเหตุ
- ประกันสุขภาพ คุ้มครองค่าใช้จ่ายจาการผ่าตัดและการปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวกับการผ่าตัด
- ประกันสุขภาพ คุ้มครองค่าใช้จ่ายอันเกิดจาการให้แพทย์มาดูแล
- ประกันสุขภาพ คุ้มครอง ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาในคลินิก
- ประกันสุขภาพ คุ้มครอง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการคลอดบุตร
- ประกันสุขภาพ คุ้มครอง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาฟัน
- ประกันสุขภาพ คุ้มครองค่าชดเชยค่าใช้จ่าย
ระบบประกันเอกชนคืออะไร
สำหรับบทบาทของภาคเอกชนในฐานะผู้รับประกันสุขภาพนั้น เนื่องจากประเทศที่พัฒนา แล้วส่วนมาก มีระบบประกันสุขภาพของภาครัฐที่ให้สิทธิในการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมแก่ประชาชนในประเทศทุกรายทำให้ประกันสุขภาพเอกชนจะมีพื้นที่ตลาดน้อย
โดยจํากัดเพียงประกัน ในส่วนที่เป็นการให้สิทธิประโยชน์ เพิ่มเติมจากชุดสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้รับ ภายใต้ประกันสุขภาพของภาครัฐ หรือในส่วนที่เป็นการลดความเสี่ยงของภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกันตนอันสืบเนื่องมาจากภาระในการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามข้อกําหนดของระบบประกันสุขภาพของภาครัฐ
- ประกันสุขภาพเอกชนช่วยให้ผู้เอาประกันเข้าถึงการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนที่มีระยะเวลารอรับบริการสั้นกว่ามากสำหรับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน พร้อมทั้งอาจระบุเลือกแพทย์ที่ต้องการได้
- หากทำประกันความคุ้มครองทั่วไปร่วมด้วย ผู้เอาประกันจะสามารถเข้าถึงบริการบางประเภทที่ไม่ครอบคลุมภายใต้เมดิแคร์ เช่น ทันตกรรม หรือแว่นสายตา
- ประกันความคุ้มครองทั่วไปหรือ extras เหมือนสมุดรวมคูปองส่วนลด กรมธรรม์หลายตัวจ่ายให้ตามร้อยละที่กำหนด
- หากเกิดอะไรขึ้นกับสุขภาพของคุณหรือคนในครอบครัว คุณรู้ว่าจะเข้าถึงโรงพยาบาล แพทย์ และการรักษาที่เหมาะสมได้ โดยมีเงินทุนรองรับผ่านประกันสุขภาพ
รูปแบบการประกันสุขภาพในประเทศไทยมี 4 รูปแบบอะไรบ้าง
รูปแบบการประกันสุขภาพในประเทศไทยในปัจจุบันอาจจะมีรูปแบบเพิ่มเติมขึ้นมาจาก 4 รูปแบบ จะเป็นอะไรนั้นไปดูพร้อมๆกันเลยจ้า
รูปแบบที่ 1 ประกันสุขภาพ ผู้ป่วยนอก (OPD)
- การประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันได้รับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่า 6 ชั่วโมง
- ไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล พบแพทย์ วินิจฉัย จ่ายยา(ถ้ามี) แล้วก็กลับบ้านได้เลย
- กรณีที่เรามีอาการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง เช่น การฉีดวัคซีน เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย เป็นต้น
รูปแบบที่ 2 ประกันสุขภาพ ผู้ป่วยใน (IPD)
- การประกันสุขภาพผู้ป่วยใน คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกัน 6 ชั่วโมงขึ้นไป
- กรณีที่เราต้องนอนพักในโรงพยาบาล ทั้งนี้รวมถึงการที่โรงพยาบาลรับตัวผู้ป่วยหรือผู้เอาประกันไว้ แต่เสียชีวิตลงภายใน 6 ชั่วโมงด้วยนะ
รูปแบบที่ 3 ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (ECIR)
- เนื่องจากบางโรคนั้นเป็นโรคที่ต้องใช้การรักษาเป็นระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
- ซึ่งบางครั้งประกันสุขภาพที่มีอยู่จะให้ความคุ้มครองได้ไม่เพียงพอ จึงมี ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางและต้องรักษาต่อเนื่องโดยเฉพาะ โรคที่เกิดจากการบาดเจ็บร้ายแรง เป็นต้น
- ซึ่งประกันแบบนี้ก็จะระบุในกรมธรรม์ครับว่า จะจ่ายเงินเมื่อเราเป็นโรคอะไรบ้าง จ่ายเมื่อตรวจเจอ หรือเป็นโรคอยู่ที่ระดับไหน อย่างไร
รูปแบบที่ 4 ประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ (PA)
- ประกันอุบัติเหตุ คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
- ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาตัวของเรา
- ถ้าหากร้ายแรงถึงขั้นต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ บริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เราด้วย
รูปแบบที่ 5 ประกันชดเชยรายได้
- การประกันชดเชยรายได้ คือ ความคุ้มครองเกี่ยวกับรายได้ของผู้เอาประกันระหว่างนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
- โดยบริษัทประกันจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนเป็นรายวันให้ ซึ่งเงินจำนวนนี้ก็เพื่อเป็นการชดเชยรายได้เมื่อเราไม่สามารถทำงานได้จากการพักรักษาตัวนั่นเอง
- รายละเอียดก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละกรมธรรม์ เช่น ชดเชยวันละ 300 บาท 500 บาท หรือวันละ 1,000 บาท เป็นต้น
ข้อดีของการทำประกันสุขภาพ
เมื่อเราอายุมากขึ้นปัญหาสุขภาพย่อมตามมา การทำประกันสุขภาพนั้นมีข้อดีมากมายมีอะไรบางไปดูกันเลยจ้า
- เป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งในยามฉุกเฉินหรือรักษาอาการเจ็บป่วยตามปกติ โดยเราสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้หรือจะรักษาในโรงพยาบาลที่ได้ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ก็ได้
- จะได้รับความสะดวกในการรักษาจากโรงพยาบาลนั้นๆอย่างแน่นอน
- หมดกังวลในเรื่องค่ารักษาพยาบาล หากไม่เกินวงเงินที่ทำไว้เราก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเลยแต่หากเกินเราก็จ่ายแค่ส่วนต่างเท่านั้น
- สามารถเลือกเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่มีอุปกรณ์ครบครันได้ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน หรือป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในความคุ้มครองของประกันที่เราทำไว้
- ประกันสุขภาพในปัจจุบัน มีรูปแบบประกันที่สะดวกและคุ้มครองมากขึ้นทำให้สะดวกในการเข้ารับการรักษาพยาบาลหากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายต่างๆ
ข้อแตกต่างระหว่างประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย กับ ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย เป็นอย่างไร
ประกันสุขภาพที่คุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลก็มีความหลากหลาย ทั้งแบบ “แยกค่าใช้จ่าย” และแบบ “เหมาจ่าย” ค่ารักษาพยาบาล ก่อนตัดสินใจทำก็ต้องพิจารณาถึงข้อดีและข้อจำกัดดังต่อไปนี้
ประกันสุขภาพแบบ “แยกค่าใช้จ่าย”
ความสำคัญ แบบ “แยกค่าใช้จ่าย” | จะถูกกำหนดโดยอัตราค่าห้องพยาบาล ในกรณีที่เราเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งสามารถเลือกให้เหมาะสม โดยผู้ซื้อประกันสามารถประมาณได้จากค่าห้องของโรงพยาบาลที่ตัวเองใช้บริการอยู่เป็นประจำ โดยความคุ้มครองจะแยกออกเป็นวงเงินจำกัดในแต่ละส่วน เช่น วงเงินค่าห้องพักรักษาพยาบาล วงเงินค่าผ่าตัด วงเงินค่าตรวจเยี่ยมของแพทย์ เป็นต้น ถ้าเลือกค่าห้องที่สูง วงเงินอื่น ๆ ก็จะปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จะมีการกำหนดวงเงินค่ารักษาต่อครั้งไว้ว่าไม่เกินครั้งละเท่าไหร่ |
ข้อดี | ประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย แม้จะมีการกำหนดวงเงินค่ารักษาแต่ละครั้งสำหรับโรคใดโรคหนึ่ง แต่จะไม่มีการกำหนดวงเงินสูงสุดต่อปี ทำให้หากปีใดเจ็บป่วยและต้องนอนในโรงพยาบาลด้วยโรค A เมื่อรักษาหายแล้วต่อมาอีก 1 เดือนเป็นผู้ป่วยต้องนอนในโรงพยาบาลด้วยโรค B ทำให้วงเงินในการเบิกรักษาเริ่มนับใหม่ได้ ถ้าเป็นโรคเดิมแต่มีระยะเวลาที่เข้าพักรักษาห่างกันเกิน 90 วัน ก็สามารถเริ่มนับใหม่ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ สามารถเลือกความคุ้มครองตามงบประมาณที่มีจำกัดได้ โดยเลือกเปรียบเทียบค่าห้องให้เหมาะสมกับโรงพยาบาลที่ใช้บริการอยู่กับงบประมาณที่จะใช้วางแผนประกันสุขภาพ ทำให้สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ ในกรณีที่ต้องเข้าพักรักษาตัว |
ข้อจำกัด | ข้อจำกัด เมื่อมีการกำหนดวงเงินค่ารักษา ทำให้แต่ละรายการมีวงเงินคุ้มครองจำกัด จึงอาจไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันที่มีการเพิ่มขึ้นของค่ารักษาพยาบาลตามเทคโนโลยีที่พัฒนา ทำให้การรักษามีผลกระทบกับผู้ป่วยลดลง แต่ค่ารักษาพยาบาลอาจจะสูงขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ผู้เลือกประกันสุขภาพประเภทนี้ อาจมีส่วนต่างที่เป็นส่วนเกินจากวงเงินคุ้มครองที่เบิกไม่ได้ในบางรายการ |
ประกันสุขภาพแบบ “เหมาจ่าย”
ความสำคัญแบบ “เหมาจ่าย” | จะกำหนดวงเงินรักษาแบบเหมาทุกอย่างรวมต่อปี ให้มีวงเงินสูงสุดที่เท่าไหร่ บางครั้งอาจมีเงื่อนไขมีกำหนดรายละเอียดเป็นวงเงินการรักษาต่อครั้งเพิ่มเติมด้วย ยกตัวอย่าง เช่น คุ้มครองการรักษาผู้ป่วยในเหมาจ่ายต่อปี 1 ล้านบาท แต่ให้ความคุ้มครองการรักษาต่อครั้งไม่เกิน 500,000 บาท เป็นต้น |
ข้อดี | สบายใจเพราะมีวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาต่อปีให้ ซึ่งเป็นวงเงินที่สามารถเลือกได้สูงถึงระดับล้านบาท ทำให้มีเพียงพอครอบคลุมค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า แม้ในอนาคตจะมีการปรับราคาค่าบริการสูงขึ้น และไม่ต้องคอยกังวลว่าค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลแยกออกมาเป็นเรื่องต่าง ๆ จะเกินวงเงินหรือไม่ |
ข้อจำกัด | เบี้ยประกันค่อนข้างสูง ยิ่งเป็นแผนที่วงเงินเหมาจ่ายสูงมาก ค่าเบี้ยก็จะยิ่งสูงขึ้นตามวงเงินคุ้มครองที่เลือก และตามอายุของผู้เอาประกันที่มากขึ้นในแต่ละปี อีกทั้ง มีการจำกัดวงเงินเรื่องค่าห้องพักรักษาพยาบาลไม่ได้รวมอยู่ในวงเงินเหมาจ่าย ทำให้ผู้ซื้อประกันสุขภาพมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินในเรื่องค่าห้องพักเพิ่มเติมในกรณีที่ค่าห้องสูงเกินวงเงินที่กำหนด |
ทำความเข้าใจกันง่ายๆก็คือ ประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา ประกันแบบนี้ บริษัทประกันสุขภาพจะกำหนดความคุ้มครองและกำหนดวงเงินความคุ้มครองให้แต่ละรายการแยกตามที่กำหนดไว้ แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกัน ซึ่งสามารถเบิกได้ต่อครั้งต่อโรค
ส่วนประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเป็นประกันสุขภาพที่ไม่กำหนดวงเงินค่ารักษา โดยกำหนดเพียงวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบต่อปี จะไม่กำหนดแยกเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ
ข้อดี – ข้อเสีย ระหว่างประกันสุขภาพแบบพ่วงประกันชีวิต กับ ประกันสุขภาพเดี่ยว เป็นอย่างไร
ประกันสุขภาพแบบพ่วงประกันชีวิต
ข้อดี | ข้อเสีย |
กรมธรรม์มีสัญญาหลักที่เป็นประกันชีวิตซึ่งเป็นสัญญาระยะยาว (ระยะเวลาขึ้นกับแบบประกัน) โอกาสบริษัทจะไม่ต้องอายุสัญญา จะขอเพิ่มเบี้ย จะยกเลิกสัญญามีน้อยมาก ถ้าไม่ได้ปกปิดข้อมูล แจ้งข้อมูลไม่ครบ หรือเคลมเกินความจําเป็นมากจริงๆ | เบี้ยมันแพงกว่า แต่เบี้ยที่เพิ่มมาก็เป็นความคุ้มครองชีวิตให้ตัวเราเอง ถ้าเราเสียชีวิต บริษัทที่จ่ายทุนประกันชีวิตเป็นสินไหมให้หลังความตาย ไม่เดือดร้อนคนข้างหลัง |
ประกันสุขภาพเดี่ยว (แบบไม่พ่วงประกันชีวิต)
ข้อดี | ข้อเสีย |
เบี้ยประกันถูก เพราะไม่มีสัญญาหลักประกันชีวิต จ่ายเฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพอย่างเดียว เป็นแบบที่ความคุ้มครองใกล้เคียงกันแบบประกันสุขภาพที่ไม่พ่วงประกันชีวิต ก็ถูกกว่าด้วย | สัญญาเป็นปีต่อปี ก็ไม่มีสัญญาหลักยึดอะไร เคลมเยอะบริษัทมีสิทธิขอเพิ่มเบี้ย หรือไม่ต่ออายุให้ในปีกรมธรรม์ถัดไปได้ การเปลี่ยนบริษัทไม่ได้เปลี่ยนง่ายๆ เหมือน ประกันรถยนต์ เพราะ ประวัติสุขภาพจะติดตัวเราไปตลอด ทุกบริษัทก็ไม่คุ้มครองโรคและอาการที่เป็นมาก่อนทำประกัน จึงเหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองระยะสั้นๆ เท่านั้น ไม่เหมาะกับการวางแผนระยะยาว |
สรุป
การเลือกประกันแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับหลักการพิจารณาจากข้อดี – ข้อเสีย สำหรับผู้ซื้อประกันด้วยซึ่งประกันสุขภาพแบบพ่วงประกันชีวิตประกันประเภทนี้จะเน้นความคุ้มครองชีวิตเป็นหลักซึ่งโดยปกติแล้วมักจะเป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองระยะยาว หรืออาจจะตลอดชีพแล้ว
ส่วนการเลือกใช้ประกันสุขภาพเดี่ยวประกันที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะด้านสุขภาพอย่างเดียว โดยครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย โรคภัย หรืออุบัติเหตุ ยังรวมค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการทางการแพทย์ทั่วไป และค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน อีกด้วย
เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี
การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้