การลงทุนในกองทุนรวมปัจจุบันเป็นการลงทุนที่นิยมและประหยัดเวลา เพราะผู้ลงทุนสามารถลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ในครั้งเดียว ซึ่งจัดการโดยบริษัทจัดการกองทุน และมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆให้เรียบร้อยแล้ว
โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกแผนลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของตนได้ ในบทความนี้เรานำความรู้ในการเลือกกองทุนรวมธนาคารในปี 2566 ว่าธนาคารไหนดี และการเปรียบเทียบกองทุนมาให้คุณได้ศึกษาไปดูพร้อมๆกันเลย
กองทุนรวมคืออะไร
กองทุนรวม คือ กองทุนที่จัดการโดยบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งระดมเงินทุนจากนักลงทุนหลายรายมารวมกันให้เป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)
ผู้ทำหน้าที่ระดมเงินทุนจะนำกองทุนไปจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล และนำเงินกองทุนนั้นไปลงทุนตามนโยบายตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเพื่อลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ เช่น หุ้น หนี้ ทรัพย์สิน และให้ผลตอบแทนในรูปแบบของผลตอบแทน หรือเงินปันผล
- นักลงทุนแต่ละรายจะได้รับจัดสรร หน่วยลงทุน เพื่อแสดงสถานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ได้ลงทุนไป ดังนั้น ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมจึงถูกเรียกว่า ผู้ถือหน่วยลงทุน
- กองทุนรวมที่เสนอขายครั้งแรก จะมีราคาหรือมูลค่าหน่วยลงทุนเริ่มต้นที่ 10 บาท
- เมื่อ บลจ. นำเงินกองทุนไปบริหารตามนโยบายการลงทุนแล้วเกิดผลตอบแทนขึ้น
- บลจ.จะจัดสรรผลตอบแทนนั้นให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามจำนวนหน่วยที่มีอยู่ มูลค่าหน่วยลงทุนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากมูลค่าเริ่มต้น ขึ้นกับการบริหารของ บลจ.ในการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน
กองทุนรวมมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ประเภทของกองทุนรวมมี 8 ประเภท ดังนี้
-
กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
- กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้คุณภาพดีที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี
- เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้หรือสำหรับการลงทุนระยะสั้นๆ
- โดยทั่วไปให้ผลตอบแทนที่ดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และผลตอบแทนที่ได้ ก็ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย
-
กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)
กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ เช่น
- พันธบัตรรัฐบาล
- ตั๋วเงินคลัง
- ตั๋วแลกเงิน
- หุ้นกู้ของภาคเอกชน
- ผลตอบแทนที่กองทุนได้รับจากการลงทุนส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ย และอาจมีส่วนต่างของราคาต้นทุนของตราสารหนี้ที่ลงทุนกับราคาตลาดที่มีการคำนวณทุกวัน ซึ่งอาจทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนได้ ต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
- เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ คาดหวังความสม่ำเสมอของผลตอบแทน
- ราคาของกองทุนตราสารหนี้อาจมีความผันผวนได้ตามภาวะตลาด ดังนั้น การลงทุนควรเป็นไปตามระยะเวลาที่แนะนำ เช่น กองทุนตราสารหนี้ระยะปานกลาง ควรลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
-
กองทุนรวมผสม (Mixed Fund)
- กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนทั้งในตราสารหนี้หุ้น และสินทรัพย์อื่นๆ ดังนั้น ผลตอบแทนที่กองทุนได้รับและความเสี่ยงของการลงทุนจะแตกต่างไปตามสัดส่วน
การลงทุนของแต่ละตราสาร เช่น
- กองทุนผสม A ลงทุนในหุ้น 50% ตราสารหนี้ 50% จะมีความเสี่ยงสูงกว่า กองทุนผสม B ที่ลงทุนในหุ้น 20% และตราสารหนี้ 80%
- เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ระดับปานกลางค่อนข้างสูง หรือต้องการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ภายในกองทุนเดียว
- โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะกับแต่ละภาวะตลาด
-
กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) หรือ กองทุนรวมหุ้น
กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น เช่น
- หุ้นสามัญ
- หุ้นบุริมสิทธิ หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์
- รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นๆ
- กองทุนหุ้นจะถูกกำหนดให้มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน บางกองทุนมีนโยบายลงทุนตามขั้นต่ำ แต่ละกองทุนอาจลงทุนสูงสุดที่ 100%
- การลงทุนในหุ้นมีความผันผวนซึ่งนำไปสู่ทั้งโอกาสและความเสี่ยง ดังนั้น กองทุนหุ้นจึงเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง สามารถลงทุนระยะยาวได้ และเข้าใจว่าการขาดทุนระยะสั้นอาจเกิดขึ้นได้
-
กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF)
- กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ซึ่งมีนโยบายให้เลือกลงทุนหลากหลายเช่นเดียวกับกองทุนในประเทศ
กองทุนต่างประเทศ เช่น
- กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
- กองทุนหุ้นต่างประเทศ
- เนื่องจากแต่ละประเทศมีสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองแตกต่างกัน สินทรัพย์ในต่างประเทศกับในประเทศไทย อาจมีผลตอบแทนแตกต่างกัน
- การเลือกลงทุนใน FIF จึงเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยง นอกจากความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละตราสารการลงทุนแล้ว การลงทุนใน FIF ยังมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
- นักลงทุนจึงต้องสามารถรับความผันผวนของค่าเงินที่กองทุนไปลงทุนด้วยเช่นกัน
-
กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF)
- กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากภาครัฐ
- โดยผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่ลงทุนจริงสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีในแต่ละปี และไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อนับรวมกับเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- SSF สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้ หลากหลายประเภทเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ หุ้น หรือ REITs โดยสามารถลงทุนได้ทั้งในและต่างประเทศ
- เป็นทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนทุกประเภทที่สามารถลงทุนระยะยาวได้
-
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF)
- กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมและเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณอายุ
- โดยผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่ลงทุนจริงสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- RMF มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ตั้งแต่การลงทุนในตลาดเงิน ตราสารหนี้ ตราสารผสม และ หุ้นทั้งในและต่างประเทศ
- ผู้ลงทุนสามารถเลือกออมเงินลงทุนตามความเสี่ยง ความคาดหวังในผลตอบแทน และระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง
- RMF จึงเป็นทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนทุกประเภทที่สามารถลงทุนระยะยาวได้
-
กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก (Alternative Investment)
กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือกต่างๆ เช่น
- หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
- หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น
- น้ำมันดิบ
- ทองคำ
- กองทุนประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากทรัพย์สินที่ไปลงทุนอาจมีความผันผวนของราคาสูงมาก หรืออาจไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย หรือราคาอ้างอิงกับสินทรัพย์อื่นๆ
- ผู้ที่จะเลือกลงทุนในกองทุนประเภทนี้ ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไปลงทุน ลงทุนระยะยาว และสามารถรับความเสี่ยงได้สูง
จัดลำดับระดับความเสี่ยงตามประเภทของกองทุน
ตารางแสดงระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมทั้ง 8 ประเภท
ระดับความเสี่ยงตามประเภทของกองทุนรวม
ระดับความเสี่ยง | ความเสี่ยง | ประเภท | สินทรัพย์ที่ลงทุน | เหมาะกับใคร |
สูงมาก | 8 | กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก | อสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงพวกโครงสร้างพื้นฐาน น้ำมัน ทองคำ | ผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุน และมีความชำนาญในสินทรัพย์นั้นๆ |
สูง | 7 | กองทุนรวมเพื่อการออม | ลงทุนเฉพาะกลุ่มธุรกิจเดียวกัน เช่นหุ้นธนาคาร หุ้นสื่อสาร | ผู้ที่ต้องการลงทุนเฉพาะธุรกิจนั้นๆและเข้าใจเป็นอย่างดี |
6 | กองทุนรวมตราสารทุน | หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นๆ | ผู้ที่ต้องการลงทุนในหุ้นแต่ไม่มีเวลาดูแลเอง | |
ปานกลางค่อนข้างสูง | 5 | กองทุนรวมผสม | กระจายการลงทุนทั้งเงินฝาก ตราสารหนี้ และหุ้น | ผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น |
ปานกลางค่อนข้างต่ำ | 4 | กองทุนรวมตราสารหนี้ | หุ้นกู้บริษัทเอกชน | ผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอ |
3 | กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | พันธบัตรรัฐบาลอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป | ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ไม่มากและไม่หวังผลตอบแทนสูง | |
2 | กองทุนรวมตลาดเงิน | เงินฝาก ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี | ผู้ที่ต้องการพักเงินและไม่ต้องการเสียเงินต้น | |
ต่ำ | 1 | กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ | ตราสารหนี้ระยะสั้นที่อายุไม่เกิน 1 ปีในต่างประเทศ | ผู้ที่ต้องการพักเงินและรับความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนได้ |
จากข้อมูลที่แสดงในตารางจะเห็นได้ว่าในแต่ละการลงทุนนั้นย่อมมีความเสี่ยง ผู้ที่ต้องการลงทุนกองทุนรวมควรศึกษาข้อมูลหรือรายละเอียดกองทุนแต่ละประเภทให้ดีก่อนการตัดสินใจลงทุน เพื่อการใช้ชีวิตที่ไม่กังวลกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
กองทุนรวมธนาคารไหนดี SCB กสิกร กรุงศรี กรุงไทย กรุงเทพฯ
การลงทุนในกองทุนรวมเป็นวิธีการลงทุนที่หลากหลายของเงินในหลายๆสินทรัพย์ เช่น หุ้น หนี้ หรือสินทรัพย์อื่นๆ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนควบคุมและวางแผนการลงทุน เพื่อความสะดวกในการลงทุน และลดความเสี่ยงในการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ในหลายประเภท การลงทุนในกองทุนรวมมีประโยชน์มากมายหลายประการ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนใหม่บางคนอาจจะสับสนไม่รู้ว่าควรจะเลือกลงทุนในกองทุนรวม ธนาคารไหนดีที่ให้ผล ตอบแทนสูง เรามาดูไปพร้อมๆกันเลย
แบบที่ 1 กองทุนรวม LTF ผลตอบแทนสูง 2566
กองทุนเปิดเค สตราทีจิค ดีเฟ็นซีฟหุ้นระยะยาวปันผล (KSDLTF)
- ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่า
- ทรัพย์สินสุทธิของกองทุน >>> กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารพอร์ตการลงทุน Efficient Portfolio Management
กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มสมาร์ทหุ้นระยะยาว (1SMART-LTF)
- ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นสามัญของ บริษัทจดทะเบียนหรือตราสารแห่งทุน
- ซึ่งผลตอบแทนของตราสารดังกล่าวอ้างอิงกับ ผลตอบแทนของหุ้นหรือกลุ่มหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความมั่นคง
- ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับระดับความเสี่ยง
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท (SCBLTS)
- ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน ประเภทหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
- ซึ่งจะลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี มั่นคง หรือ มีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูง
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (SCBLT1)
- ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน ประเภทหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน
- โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
- จะต้องมีฐานะการลงทุนสุทธิในหุ้นสามัญดังกล่าวเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ
กองทุนเปิดเค 70:30 หุ้นระยะยาวปันผล (K70LTF)
- กองทุน LTF ซึ่งมีฐานะการลงทุนสุทธิในหุ้นสามัญเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% และไม่เกิน 70% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
- สำหรับเงินส่วนที่เหลือ กองทุนจะลงทุนในเงินฝากหรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ
แบบที่ 2 กองทุนรวม RMF ผลตอบแทนสูง 2566
กองทุนเปิดทหารไทย China Opportunity เพื่อการเลี้ยงชีพ (TMBCORMF)
- เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียว (Master Fund) คือ กองทุน UBS (Lux) Equity Fund-China Opportunity (USD) ในหน่วยลงทุนชนิด Class I-A1-acc ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
- ซึ่งจดทะเบียนในประเทศ Luxembourg และลงทุนในรูปสกุลเงินดอลล่าสหรัฐ
- นโยบายการลงทุนของกองทุนต่างประเทศ กองทุน UBS (Lux) Equity Fund – China Opportunity (USD) มีการ ลงทุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สิน ในตราสารทุน ของบริษัทที่มีภูมิลำเนา หรือมีธุรกิจหลักอยู่ในประเทศจีน
กองทุนเปิด วรรณ อัลติเมท โกลบอล อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ (ONE- UGERMF)
- เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งจัดตั้งหรือ มีผู้ออกหลักทรัพย์อยู่ในต่างประเทศ
- เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ของกองทุน
- สำหรับการลงทุนส่วนที่เหลือ กองทุนอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารหนี้ หรือเงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นทั้งในและต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ก.ล.ต
กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth เพื่อการเลี้ยงชีพ (TMBGQGRMF)
- เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียว (Master Fund) คือกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund ในหน่วยลงทุนชนิด USD Class S Accumulating Unhedged
- ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปี บัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และลงทุนในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ มุ่งหาผล ตอบแทนในระยะยาว
กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เฮลธ์แคร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-HEALTHC RMF)
- เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Janus Global Life Sciences Fund (Master Fund) เพียงกองเดียว
- โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV.
- โดยกองทุนหลักจดทะเบียน จัดตั้งที่ประเทศไอร์แลนด์ อยู่ภายใต้กฎ UCITS ซึ่งบริหารและจัดการโดย Janus Capital Management LLC
กองทุนเปิดเค โกลบอล เฮลท์แคร์ หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (KGHRMF)
- ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund, Class A (acc) – USD
- ในอัตราส่วนโดย เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุน
แบบที่ 3 กองทุนรวมตราสารทุน (หุ้น) ผลตอบแทนสูง 2566
กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอ็นแฮนซ์ อิควิตี้ (PRINCIPAL EEF)
- เน้นลงทุนในหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หรือ หลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- โดยปัจจุบันลงทุนในหุ้น 5 อันดับแรก ได้แก่
- PTT
- AOT
- ADVANC
- CPALL
- KBANK
กองทุนเปิดเคดัชนีหุ้นธุรกิจเทคโนโลยีและการสื่อสาร (K-ICT)
- เน้นลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีธุรกิจเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ดัชนีอ้างอิง)
- โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกอง ทุน เพื่อให้ผลตอบแทนของกองทุนใกล้เคียงกับดัชนีธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- โดยปัจจุบันลงทุนในหุ้น 5 อันดับแรก ได้แก่
- ADVANC
- INTUCH
- DIF
- TRUE
- DTAC
กองทุนเปิด แอล เอช สแทรทิจี อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า (LHSTRATEGY-A)
- เน้นลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
- โดยจะเน้นการลงทุนด้วยการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนให้มีความผันผวนต่ำ เพื่อลดความผันผวนของการลงทุนโดยรวมของกองทุนให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด
- โดยปัจจุบันลงทุนในหุ้น 5 อันดับแรก ได้แก่
- TTW
- INTUCH
- RATCH
- CPALL
- AOT
กองทุนเปิด แอล เอช สแทรทิจี อิควิตี้ ชนิดขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (LHSTRATEGY-R)
- เน้นลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
- โดยจะเน้นการลงทุนด้วยการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนให้มีความผันผวนต่ำ เพื่อลดความผันผวนของ การลงทุนโดยรวมของกองทุนให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด
- โดยปัจจุบันลงทุนในหุ้น 5 อันดับแรก ได้แก่
- TTW
- INTUCH
- RATCH
- CPALL
- AOT
กองทุนเปิด แอล เอช สแทรทิจี อิควิตี้ ชนิดจ่ายเงินปันผล (LHSTRATEGY-D)
- เน้นลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
- โดยจะเน้นการลงทุนด้วยการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนให้มีความผันผวนต่ำ เพื่อลดความผันผวนของ การลงทุนโดยรวมของกองทุนให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด
- โดยปัจจุบันลงทุนในหุ้น 5 อันดับแรก ได้แก่
- TTW
- INTUCH
- RATCH
- CPALL
- AOT
แบบที่ 4 กองทุนรวมตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง 2566
กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี 3 ปี ทวีสุข 1 (MT3Y1)
- เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ หรือเอกชน ที่มีคุณภาพที่เสนอขายในประเทศ เช่น
- ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์เงินฝาก
- ตราสารหนี้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่ สามารถลงทุนได้ (Investment grade)
กองทุนเปิด กรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้ (KFAFIX)
- เน้นลงทุนในหรือต่างประเทศในตราสารหนี้หรือเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากที่ออกรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกันการจ่ายเงินโดยภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน หรือภาคเอกชน
- ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือ ของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้
กองทุนเปิดเคเอ คอร์เปอเรท บอนด์ (KACB)
- เน้นลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ
- กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) แต่จะไม่ลงทุนในตราสารที่มี สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
- กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด
กองทุนเปิดพรินซิเพิล ตราสารหนี้ (PRINCIPAL FI)
- เน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ตราสารหนี้ภาคเอกชน รวมกัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุนรวม
- มีความสามารถในการชําระดอกเบี้ย และเงินต้น โดยบริษัทจัดการจะกําหนดการ ดำรงอายุถัวเฉลี่ย แบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินที่ จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนไว้
กองทุนเปิดพรินซิเพิล คอร์ ฟิกซ์ อินคัม ชนิดผู้ลงทุนกลุ่ม (PRINCIPALiFIXED-C)
- กองทุนมีนโยบายลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ตราสารทางการเงิน หรือเงินฝากที่เสนอขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ออกโดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน หรือเอกชนที่มีความสามารถในการชําระดอกเบี้ยและเงินต้นสูง
- โดยมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้
แบบที่ 5 กองทุนรวมตลาด เงิน ผลตอบแทนสูง 2566
กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ เอ็นจอย (TCMFENJOY)
- เน้นการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ หรือเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก แต่ไม่รวมถึงเงินฝากอิสลาม
- โดยการลงทุนในตราสารแห่งหนี้นั้น กองทุนจะลงทุนในตราสารทั้งภาครัฐ และ/หรือภาครัฐวิสาหกิจที่มีความมั่นคงและมีสภาพคล่องสูงเป็นหลัก เช่น
- ตั๋วเงินคลัง
- พันธบัตรรัฐบาล
- พันธบัตร
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
- ตราสารทางการเงินอื่นใด
- หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น
- การหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนกำหนดไว้ให้ลงทุนได้
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารรัฐตลาดเงิน พลัส ชนิดหน่วยลงทุน (ESCBTMFPLUS-E)
- เน้นลงทนในตราสารภาครัฐอาทิตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตร
- ตราสารหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน
- พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกอาวัลหรือผู้รับค้ำประกันที่มีอันดับความน่าเชื่อตามที่สำนักงานคณะกรรมการ
กองทุนเปิดเค บริหารเงิน (K-CASH)
- เน้นลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศที่ลงทุนส่วนใหญ่ในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
- พันธบัตรที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหรือเทียบเท่า โดยจะไม่ลงทุน ในตราสารหนี้ภาคเอกชน
- กองทุนจะดำรงอายุเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (Portfolio Duration) ของกองทุน ณ ขณะใดขณะหนึ่งไว้ไม่เกิน 92 วัน
กองทุนเปิดธนชาตบริหารเงิน (T-CASH)
- เน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ธุรกรรมทางการเงิน หรือตราสารทางการเงินอื่นใด ที่มีกำหนดวันชําระหนี้ตามตราสารเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือไม่เกิน 397วัน นับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญา และ/หรือเงินฝากรวมถึง ตราสารทางการเงิน หลักทรัพย์
- การหาดอกผลด้วยวิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารรัฐตลาดเงิน พลัส ชนิดสะสมมูลค่า(SCBTMFPLUS-A)
- เน้นลงทุนในตราสารภาครัฐ อาทิ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตร
- ตราสารหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือ พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก
ทั้งหมดนี้คือกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูงในปี 2566 ซึ่งในบทความด้านบนนี้ก็จะมีกองทุนรวมของแต่ละธนาคารรวมอยู่ด้วย และบริษัทจัดการกองทุนรวม ซึ่งมีผู้จัดการกองทุน ทำหน้าที่บริหารจัดการการลงทุนแทนเรา ตามนโยบายหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกเริ่มจัดตั้งกองทุนรวม ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่เราได้เลือกและยอมรับได้
ซึ่งเราไม่สามารถบอกได้ว่า กองทุนไหนดี เพราะการจะเลือกลงทุนในกองทุนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจุดประสงค์ที่คุณต้องการจะลงทุนเพื่ออะไรโดยแต่ละกองทุนข้างต้นก็มีรายละเอียดบ่งบอกไว้ เพียงแค่คุณพิจารณาเลือกกองทุนที่ตรงใจและมีผลตอบแทนที่โดนใจคุณ แค่นี้คุณก็สามารถลงทุนได้ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนนั้นคุณควรจะศึกษารายละเอียดกองทุนนั้นๆเพิ่มเติมอีกด้วย เพื่อความมั่นใจและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
การเลือกกองทุนทำอย่างไร
กองทุนรวมมีอยู่มากมายหลายประเภท แล้วเราจะเลือกกองทุนรวมกันอย่างไรดี เราสามารถเริ่มต้นเลือกกองทุนรวมให้โดนใจได้โดยพิจารณาก่อนการตัดสินใจตามหัวข้อดังนี้
การกำหนดเป้าหมายการลงทุนและระยะเวลาการลงทุนให้ชัดเจน
ตัวอย่างเช่น
- ถ้าคุณมีเป้าหมายที่จะใช้เงินก้อนนี้ในอนาคตอันใกล้ ก็แปลว่าคุณจะไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากไม่ได้ ดังนั้นก็อาจต้องเลือกลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น
- ซึ่งกองทุนประเภทนี้ผลตอบแทนในแต่ละ บลจ. อาจจะไม่ต่างกันมาก เพราะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่ค่อนข้างจะมั่นคง และความเสี่ยงต่ำ
- ดังนั้นคุณก็สามารถเลือกลงทุนใน บลจ. ที่คุณสะดวกได้ เช่นสามารถทำออนไลน์ หรือสามารถผูกกับบัญชีเงินเดือนได้ เป็นต้น
ถ้าเป้าหมายเป็นเรื่องอิสรภาพทางการเงิน หรือเป้าหมายเกษียณอายุ
- คุณก็มีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานมากพอ เช่น 5 ปี 10 ปีขึ้นไป นั่นแปลว่าคุณสามารถไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากขึ้นได้
- ดังนั้นคุณควรพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมหุ้น หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก การเลือกลงทุนใน บลจ. ที่คุณรู้สึกแค่สะดวก อาจไม่เพียงพอแล้ว
- เราต้องใส่ใจ และให้เวลาในการเลือกกองทุนรวมที่ตอบโจทย์กันสักหน่อย ซึ่งก็นำมาสู่วิธีการเลือกกองทุนในข้อถัดไปก็คือ
พิจารณาจากผลตอบแทนของกองทุนรวม
- สำหรับการพิจารณาผลตอบแทนเปรียบเทียบในแต่ละกองทุนนั้น ขอแนะนำว่าเราควรพิจารณาผลตอบแทนย้อนหลังให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- แม้ผลตอบแทนในอดีต จะไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคตได้ แต่การที่กองทุนมีประวัติการลงทุนมายาวนาน จะทำให้เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนในแต่ละช่วง
- โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เคยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จะทำให้เราได้เห็นความสามารถของผู้จัดการกองทุนในการบริหารกองทุนให้ผ่านพ้นเหตุวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในตลาดทุน
- ดังนั้น การเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีข้อมูลที่พร้อมในการประกอบการตัดสินใจ มีผลการดำเนินงานในอดีตไม่ต่ำกว่า 3 – 5 ปี น่าจะเพียงพอและเป็นหลักในการเลือกกองทุนรวมโดยทั่วไป
- เมื่อเลือกดูที่ผลตอบแทนแล้ว อย่าลืมพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงของกองทุนนั้นๆ ประกอบด้วย เพราะความเสี่ยงและผลตอบแทน คือคนละด้านของเหรียญเดียวกัน
เรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน
- ก่อนการลงทุนในกองทุนรวม คุณต้องทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนเสมอ เพื่อพิจารณาว่ารับความเสี่ยงได้ในระดับใด
- กองทุนรวมทุกประเภทจะระบุระดับความเสี่ยงไว้เป็นสเกลตั้งแต่ 1 ถึง 8 โดยระดับความเสี่ยง 1 คือ มีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำที่สุด และระดับความเสี่ยง 8 คือ มีความเสี่ยงในการลงทุนสูงที่สุด
- เราสามารถนำมาเทียบกับผลคะแนนที่ทำได้จากแบบประเมินความเสี่ยงที่เราทำก่อนเลือกการลงทุน จะทำให้ทราบว่าจากคะแนนที่ทำได้ เรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน และเหมาะกับการลงทุนแบบไหนนั่นเอง
พิจารณาจากนโยบายการลงทุน
- เป็นการพิจารณาว่ากองทุนรวมนั้นๆ นำเงินของนักลงทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด โดยสินทรัพย์หลักที่กองทุนรวมไปลงทุนนั้น มีอยู่ 6 ประเภท ดังนี้
- ตราสารเงิน เช่น เงินฝากธนาคาร และตราสารหนี้ระยะสั้น มีความเสี่ยงต่ำ อัตราผลตอบแทนคาดหวังอยู่ที่ 1.0 – 1.4% ต่อปี
- ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ มีระดับความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง อัตราผลตอบแทนคาดหวังอยู่ที่ประมาณ 3% ต่อปี
- อสังหาริมทรัพย์ เช่น ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า และนำเงินค่าเช่ามาจ่ายเป็นผลตอบแทนให้กับนักลงทุน ความเสี่ยงปานกลาง อัตราผลตอบแทนคาดหวังอยู่ที่ประมาณ 5 – 7% ต่อปี
- ตราสารทุน เช่น ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ความเสี่ยงสูง อัตราผลตอบแทนคาดหวังอยู่ที่ประมาณ 8 – 10% ต่อปี
- สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ และน้ำมัน ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนผันผวนตามราคาโภคภัณฑ์
- กองทุนผสม คือ การลงทุนในสินทรัพย์ตั้งแต่สินทรัพย์ที่ 1 – 5 ผสมกันตามสัดส่วนที่กำหนด ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆโดยอัตราผลตอบแทนคาดหวัง เป็นการคาดการณ์อนาคตว่าการลงทุนในหลักทรัพย์น่าจะให้ผลตอบแทนเท่าใด โดยประเมินจากอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีต
ค่าธรรมเนียมที่กองทุนเรียกเก็บ
- ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญมากในการพิจารณาลงทุนในกองทุนรวม กองทุนรวมที่มีค่าธรรมเนียมมาก จะทำให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนควรได้รับต่ำลง
- ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน
- ซึ่งสามารถเปรียบเทียบจากกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวกันและมีนโยบายใกล้เคียงกันเป็นหลัก
การจะเลือกซื้อกองทุนให้เหมาะกับเราคงใช้เวลานาน หรืออาจจะไม่มั่นใจในการเลือกกองทุนด้วยตนเอง ตอนนี้โปรแกรมมากมายที่มาช่วยวิเคราะห์และแนะนำกองทุนที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนแต่ละคนให้ โดยผ่านการคิด วิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน และใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบ จนได้เป็นกองทุนแนะนำ เพื่อให้เราเลือกลงทุนได้อย่างมั่นใจ ง่าย สะดวกกว่าที่เคย
เทคนิคการลงทุนในกองทุนรวม
เพื่อให้การลงทุนของเราง่ายยิ่งขึ้นเราควรต้องรู้เทคนิคเบื่องต้นมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
รู้เป้าหมายการลงทุน
- จะเน้นลงทุนระยะยาวเพียงใด 1 ปี หรือ 1 – 5 ปี หรือ 5 – 8 ปี
- รับความเสี่ยงได้ในระดับไหน ความเสี่ยงต่ำ หรือความเสี่ยงสูงมาก
- คาดหวังผลตอบแทนประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ 1% 10% 20%
รู้จักประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน
- จริงอยู่ว่ากองทุนรวมมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพที่ดูแลเงินลงทุนของเรา แต่ผู้ลงทุนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่ลงทุนด้วย
- เพื่อให้จัดพอร์ตการลงทุนได้บาลานซ์ กระจายความเสี่ยงได้หลากหลาย และรู้ว่าสินทรัพย์แต่ละชนิดจะให้โอกาสทำกำไรได้ในสถาการณ์แบบใด
- เพื่อให้หลีกเลี่ยง หรือสับเปลี่ยนได้ทันท่วงที
รู้ข้อมูลเบื้องต้นของกองทุน
- นโยบายการลงทุน
- การจ่ายปันผล
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ผลการดำเนินงานในอดีต
สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนถึงฝีมือในการบริหารกองทุน และโอกาสทำกำไรแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย อย่างไรก็ดี แม้เราจะรู้แล้วว่ากองทุนรวมคืออะไร และสร้างโอกาสทำกำไรให้เราได้อย่างไร
แต่การลงทุนก็ย่อมมีความเสี่ยงและผลการดำเนินงานในอดีต ก็มิอาจยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนจึงต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
เปรียบเทียบกองทุนรวม
เมื่อเราสามารถเลือกได้แล้วว่าต้องการที่จะลงทุนกับกองทุนไหน แต่ก็ยังอยากจะรู้อีกว่ากองทุนที่สนใจอีกอันหนึ่งมันต่างจากที่เราเลือกมากน้อยเพียงใด ในบทความนี้จึงนำวิธีการเปรียบเทียบกองทุน ใน เว็บไซต์มาให้ดูกัน การที่เราจะเปรียบเทียบกองทุนนั้นเราจะต้องเปรียบเทียบกองทุนที่อยู่ในประเภทเดียวกันถึงจะรู้ว่ากองทุนอันไหนได้เปรียบและน่าสนใจกว่ากัน เราไปดูพร้อมๆกันเลย
ขั้นตอนการเปรียบเทียบกองทุน
- เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.finnomena.com/fund/filter
- จากนั้นไปที่ >>> เปรียบเทียบกองทุน ที่มุมบนขวา
- จากนั้นให้ใส่ชื่อกองทุนที่ต้องการจะเปรียบเทียบสามารถใส่ได้มากกว่า 2 กองทุน เพียงแค่กดที่ เพิ่มกองทุนด้านล่างขวา
- พอคลิก >>> เปรียบเทียบกองทุน แล้ว ก็จะขึ้นหน้าตาแบบนี้ เปรียบเทียบข้อมูลครบทุกด้านเลย
ผลการเปรียบเทียบข้อมูล ณวันที่ 30-1-2566
ในส่วนแรกจะเป็นกราฟแสดง NAV ย้อนหลังของกองทุน ซึ่งสามารถดูได้ว่ากองทุนนั้นมี NAV ย้อนหลังในช่วงเวลาต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง อย่างในรูปก็จะเห็นได้ว่ากองทุนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองกองทุนมีกำไรอยู่ที่เท่าไหร่ โดยคุณสามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้จากการเปลี่ยนหัวข้อด้านบน จาก 1 ปี เป็น 3 ปี หรือ 5ปี อย่างไรก็ตามการดูผลตอบแทนด้วย NAV จะใช้ไม่ได้กับกองทุนที่มีการเงินปันผล
ผลการดำเนินงานและปันผล
ผลการดำเนินงานในอดีตและผลการปันผล จะเห็นว่าในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น มีผลเปรียบเทียบที่ดีทั้งสองกองทุน แต่จะมีเปอร์เซ็นต์มากน้อยที่ต่างกัน คุณสามารถเลื่อนดูเพื่อเปรียบเทียบได้
พอร์ตการลงทุน
ในส่วนนี้จะทำให้เราเห็นว่ามีกองหุ้นไหนมาลงทุนบ้าง
ค่าธรรมเนียม
ในส่วนนี้จะมีรายละเอียดค่าธรรมเนียมต่างๆของกองทุนนั้นๆ
แนะนำว่าการเปรียบเทียบกองทุน ควรทำกับกองทุนประเภทเดียวกัน จะช่วยในการตัดสินใจเลือกกองทุนรวมได้ดี เนื่องจากลักษณะกองทุนเป็นแบบเดียวกัน ลักษณะผลตอบแทนและความเสี่ยงก็จะเหมือนกัน
ขั้นตอนในการเริ่มต้นลงทุนกองทุนรวมทำอย่างไร
กองทุนรวม เป็นทางเลือกการลงทุนที่เหมาะกับมือใหม่ สำหรับวางแผนการเงินและต่อยอดความมั่งคงของตัวเอง หลายคนอยากซื้อกองทุนรวม แต่มักติดปัญหาไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี เรามาดูขั้นตอนไปพร้อมๆกันเลย
ขั้นตอนแรก รู้จักก่อนว่ากองทุนรวมคืออะไร
- การลงทุนรูปแบบหนึ่งที่รวบรวมเงินของหลายๆคนมารวมกัน แล้วนำไปจัดตั้งเป็น กองทุนโดยมีมืออาชีพคอยดูแล
- เพื่อนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น ตราสารหนี้ หุ้น อสังหาฯ ทองคำ
- เมื่อได้กำไรสร้างผลตอบแทนงอกเงย ค่อยนำกำไรส่วนนั้นมาเฉลี่ยคืนให้กับผู้ลงทุน ซึ่งจะมากน้อยตามสัดส่วนที่เราซื้อกองทุนนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 2 ทำไมมือใหม่ควร เริ่มต้นลงทุนกองทุนรวม
- เงินน้อยก็ลงทุนได้ ปัจจุบันเราใช้เงินแค่ 1 บาทก็ซื้อกองทุนรวมได้แล้ว อย่างไรก็ดี ขั้นต่ำที่เราแนะนำควรอยู่ที่ 1,000 บาทขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นเงินที่ไม่ได้เยอะเลย มีทุนน้อยก็ลงทุนน้อย เมื่อเงินเพิ่มขึ้นค่อยเพิ่มเงินลงทุนได้
- มีมืออาชีพมาคอยดูแล ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการลงทุนก็สามารถซื้อกองทุนรวมได้ เพราะเขามีมืออาชีพด้านนี้อย่าง “ผู้จัดการกองทุน” คอยจัดให้โดยเฉพาะ ทั้งเรื่องจัดพอร์ต เลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม และบริหารความเสี่ยงจากความผันผวน
- กระจายลงทุนในทรัพย์สินที่หลากหลาย กองทุนรวมจะมีนโยบายกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลายกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของตลาดได้ดีกว่า
- สิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นข้อได้เปรียบเฉพะตัวของกองทุนรวมเลย เพราะกองทุนบางประเภท เช่น กองทุน LTF และกองทุน RMF จะได้สิทธิ์เรื่องการลดหย่อนภาษีเข้ามาด้วย เรียกว่าซื้อทีเดียวเหมือนได้ประโยชน์ 2 เด้ง
ขั้นตอนที่ 3 เตรียมตัวให้พร้อม
เอกสารที่ต้องใช้เปิดบัญชีกองทุนรวม
- บัตรประชาชน
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (Book Bank)
- โดยทั่วไปจะเราใช้หลักฐานเพียง 2 อย่างก็เพียงพอแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นบางแห่งอาจจะขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสลิปเงินเดือน เป็นต้น
อายุเท่าไหร่ถึงจะเปิดบัญชีกองทุนได้
- ปกติแล้วข้อกำหนดในการเปิดบัญชีกองทุนรวม ต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่บางแห่งอาจอนุญาตให้ผู้ที่อายุไม่ถึงเปิดบัญชีได้ โดยผ่านบัญชีในชื่อผู้ปกครอง
มีเงินเท่าไหร่ ถึงซื้อกองทุนรวมได้
- แม้เงินหลักหน่วยก็สามารถเริ่มลงทุนได้แล้ว แต่แนะนำจำนวนเงินขึ้นต่ำที่เหมาะสมควรเริ่มต้นที่หลักพันขึ้นไปจะดีกว่า เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม
ขั้นตอนที่ 4 เลือกเปิดบัญชีที่ไหนดี
การเปิดบัญชีกองทุนรวมที่ไหน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ
เปิดโดยตรงกับธนาคาร/บล. ในเครือเดียวกับ บลจ.
เช่น
- SCBAM
- KTAM
- KAsset
เปิดผ่านตัวกลางกับบลน.
หรือ บล. ที่มีลักษณะเป็น Fund Supermart เช่น
- Finnomena
- WealthMagik
- Phillip
ขั้นตอนที่ 5 เลือกกองทุนที่เหมาะกับเป้าหมายตัวเอง
- แม้กองทุนรวมจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลเงินลงทุนให้ แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าการลงทุนแล้ว ยังไงก็มีความเสี่ยงเหมือนกับสินทรัพย์อื่นๆ
- โดยกองทุนรวมมีหลากหลายประเภทให้เลือก ดังนั้น เราจึงควรเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่รับได้ ซึ่งเราได้ลิสต์กองทุนไล่ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำสุดจนสูงสุดมาให้ดูคร่าวๆ
- ความเสี่ยงระดับ 1 : กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล
- ความเสี่ยงระดับ 2 : กองทุนรวมตลาดเงิน
- ความเสี่ยงระดับ 3 : กองทุนรวมผสม
- ความเสี่ยงระดับ 4 : กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม
- ความเสี่ยงระดับ 5 : กองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือกที่ลงทุนในทองคำ, น้ำมัน, สินค้าเกษตร, ตราสารอนุพันธ์ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนคัดกองทุนที่ใช่
อ่าน Fund Fact Sheet
- หนังสือชี้ชวนที่สรุปข้อมูลสำคัญของกองทุน เช่น ประเภทกองทุน, นโยบายลงทุน, ระดับความเสี่ยง, มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV), ผลดำเนินงานย้อนหลัง, การกระจายสินทรัพย์ลงทุน และสัดส่วนพอร์ตลงทุน เป็นต้น
เทียบผลตอบแทนกับดัชนีชี้วัด (Benchmark)
- เราควรเปรียบเทียบผลดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี ของกองทุนนั้นๆ กับกองทุนประเภทเดียวกันอยู่เสมอ เพื่อดูผลดำเนินงานของการลงทุน
- รวมถึงอาจจะเทียบกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) ว่ากองทุนที่มีนโยบายคล้ายๆ กัน มีกองไหนบ้างที่โดดเด่นกว่าตลาด
ตรวจสอบค่าธรรมเนียม
- รายละเอียดค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าใช้จ่ายที่กองทุนเรียกเก็บ เป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องเช็กให้ดี เพราะหากค่าธรรมเนียมสูงเกินไป ก็หมายถึงผลตอบแทนที่เราได้จะลดลงด้วย
อ่านรีวิวอื่นๆ เพิ่มเติม
- ปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่างๆ ที่รีวิวเจาะลึกกองทุนรวมออกมามากมาย
- ซึ่งเราสามารถเข้าไปติดตามเพื่ออัปเดตข่าวสาร อย่างไรก็ดี เราควรอ่านข้อมูลให้รอบด้านจากหลายๆ แหล่งด้วย
ขั้นตอนที่ 7 หมั่นติดตามผลการลงทุนอยู่เสมอ
- หลายคนซื้อกองทุนไปแล้ว แต่กลับปล่อยทิ้งไว้อยู่อย่างนั้น ไม่ได้กลับมาตรวจสอบผลดำเนินงานเลย
- ซึ่งการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสขาดทุนได้ รวมทั้งโอกาสในการเข้าซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติม เมื่อเห็นโอกาสทำกำไร
- โดยสรุปแล้วกองทุนรวมถือว่าเป็นวิธีลงทุนที่มือใหม่สามารถเริ่มต้นได้ ด้วยเงินจำนวนน้อยๆ แต่สามารถกระจายความเสี่ยงได้ดี และประหยัดเวลาการลงทุนอีกด้วย
ลงทุนในกองทุนรวมดีอย่างไร?
เราไปดูข้อดีกันว่าถ้าเราลงทุนในกองทุนรวมนั้นมันดีอย่างไร
ใช้เงินน้อย
- ในอดีตนั้นคำว่าการลงทุนมักเป็นสิ่งที่มองดูว่าห่างไกลตัวและดูเป็นของที่อยู่คู่กับคนมีฐานะเท่านั้น
- แต่ในปัจจุบันกองทุนรวมจำนวนมากมีขั้นต่ำการลงทุนลดลง ส่งผลให้คุณสามารถที่จะเริ่มลงทุนได้เสมอ ขอเพียงให้ต้องการที่จะเริ่มเท่านั้นเอง
เลือกลงทุนได้หลากหลาย ตามแนวที่เราต้องการ
- เพื่อที่จะตอบโจทย์นักลงทุน นักการเงินจำนวนมากคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินอยู่ตลอดเวลา ทำให้โอกาสการลงทุนได้ถูกเปิดกว้างขึ้นอย่างมาก
- มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกลงทุนอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้นกองทุนตราสารหนี้, กองทุนหุ้นเทคโนโลยี, กองทุนทองคำ, กองทุนเฮลท์เทคโนโลยี, กองทุนคลีนเอนเนอร์จี้ (พลังงานยุคใหม่) และอื่น ๆ
- ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกได้ตามความสนใจ หรือแนวคิดของตน หรือกระจายการลงทุนด้วยการจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อไปให้ได้ถึงเป้าหมาย
มีสภาพคล่องสูง
- เมื่อพูดถึงการลงทุนแล้ว หลาย ๆ คนมักจะคิดว่าจะต้องลงทุนระยะเวลานาน ไม่สะดวกต่อการถอนเงินหรือเมื่อจำเป็นต้นใช้เงิน
- แต่ในปัจจุบันการลงทุนในกองทุนรวมนั้นมีสภาพคล่องที่เพิ่มมากขึ้น ระยะเวลาการขายคืนหน่วยลงทุนและได้รับเงินนั้นใช้ระยะเวลาที่ไม่นาน จึงนับว่ามีสภาพคล่องสูง ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเมื่อเทียบในอดีต
ได้ผลประโยชน์ 2 เท่าด้วยสิทธิด้านภาษี
- สิทธิทางภาษี คืออีกผลประโยชน์ทางตรงอีกด้าน นอกเหนือจากผลตอบแทนจากการลงทุนตามปกติที่นักลงทุนมีโอกาสได้
- หากเลือกลงทุนในกองทุนที่ถูกประเภท อันประกอบไปด้วย SSF และ RMF ซึ่งเป็นกองทุนที่ภาครัฐให้สิทธิประโยชน์ระบุว่า หากซื้อกองทุนรวมใน 2 หมวดนี้จะสามารถนำจำนวนเงินลงทุนดังกล่าวไปบันทึกลดหย่อนภาษีได้
- แต่จะมีเงื่อนไขในการลงทุนคือ จะต้องลงทุนในกองทุนรวมเหล่านั้นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น แบ่งออกได้เป็น SSF จะต้องลงทุนประมาณ 10 ปี ขณะที่ RMF จะต้องลงทุนจนถึงอายุ 55 ปี ขึ้นไป จึงจะเริ่มพิจารณาขายออกมาใช้ได้
- ดังนั้น ผู้ลงทุนต้องศึกษาเงื่อนไขการลงทุนก่อนการลงทุนเพื่อให้ลงทุนตามเป้าหมายที่ต้องการ
มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างเท่าเทียม
- จะลงทุน 10 บาท หรือเท่าไหร่ก็ตาม เมื่อเราลงทุนในกองทุนใด ๆ ไปแล้ว เราจะได้รับการบริหารกองทุนนั้น ๆ อย่างเท่าเทียมกันทุกคน
- โดย ผู้จัดการกองทุน ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ กองทุนรวมยังมีสิ่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ อยู่
- ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการบริหารกองทุนจะเป็นไปอย่างโปร่งใส และราบรื่น และคอยดูแลทรัพย์สินกองทุนกับบริษัทจัดการกองทุนนั้น ๆ แทนนักลงทุนอย่างเรา ๆ
- เพิ่มโอกาสการลงทุนให้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว พร้อมด้วยความโปร่งใส ช่วยให้นักลงทุนได้ลงทุนอย่างสบายใจและมีเวลาเหลือไปทำสิ่งที่รักหรือทำงานที่มีคุณค่ามากกว่า
ได้กระจายการลงทุน
- เนื่องจากกองทุนรวมนั้นมีเงินของนักลงทุนเป็นจำนวนมาก และเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีบนความเสี่ยงที่เหมาะสม
- ทำให้กองทุนรวมหนึ่ง ๆ ไม่สามารถที่จะลงทุนบนสินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งได้ทั้งหมด แต่จะต้องกระจายการลงทุนออกไปในหลากหลายหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวบนความเสี่ยงที่เหมาะสมและบริหารตามนโยบายกองทุนนั้นๆ
- ทำให้เราในฐานะนักลงทุนประหยัดเวลาที่จะต้องใช้ทั้งในการวิเคราะห์หากหลักทรัพย์ที่เหมาะสม และติดต่อหน่วยงานหรือ องค์กรต่างๆเพื่อที่จะทำธุรกรรมได้
กองทุนรวมเหมาะแก่การ DCA
- Dollar Cost Average (DCA) หรือการทยอยลงทุนสม่ำเสมอวิธีการลงทุนที่ง่ายแต่ทรงพลัง ในการสะสมและเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนในระยะยาวเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับการใช้กองทุนรวมเป็นเครื่องมืออย่างยิ่ง
- กองทุนรวมนั้นมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลใช้จำนวนเงินลงทุนเริ่มต้นที่ต่ำ และมีการกระจายการลงทุน ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า การเริ่มต้นจะทำได้ง่ายไปพร้อม ๆ กับมีโอกาสไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ในระยะยาว
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม ทำให้กองทุนรวมกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินยอดนิยมของผู้คนจำนวนมาก มีทั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนระดับโลกที่มีประสบการณ์และได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนทั่วโลก เพื่อให้นักลงทุนได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้อย่างราบรื่นตามเป้าหมาย
ข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวม
เรามาดูกันว่าการลงทุนกองทุนรวมนั้นมีข้อเสียอย่างไรบ้างไปดูกันเลย
เราไม่มีสิทธิ์จัดสรรเงินลงทุนเอง
- เพราะเราส่งเงินของเราให้ “คนอื่น” ดูแลดังนั้นถ้าเค้าเลือกไม่ถูกใจเรา เราก็ทำอะไรไม่ได้นะ
กองทุนบางกองทุนเก็บค่าธรรมเนียมแพง
- โดยเฉพาะกองทุนแบบ Active จะเก็บแพง เพราะว่าต้องการเอาชนะเกณฑ์มาตรฐาน ย่อมใช้ความรู้และความสามารถที่สูง
ราคาของกองทุนรวม (NAV) ไม่อัพเดทแบบ Real-Time
- ไม่เหมือนกับตลาดหุ้นที่เราจะเห็นราคาของหุ้นตัวต่าง ๆ ขึ้นลงแบบทันที (Real-Time) แต่กองทุนรวมเราจะเห็นราคา NAV เปลี่ยนวันละครั้งเท่านั้น
การซื้อ/ขาย ทำได้ช้ากว่าการลงุทนเองในตลาดหุ้น
- เนื่องจาก ราคา (NAV) จะอัพเดทเมื่อสิ้นวัน ดังนั้นเราจะซื้อได้ก็ต่อเมื่อสิ้นวันเท่านั้นและแต่ละกองทุน เวลาปิด/เปิด การซื้อขายก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นต้องศึกษาให้ดี
สรุป
การเลือกลงทุนกองทุนรวมนั้นถือว่าเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่ดี แต่ว่าเราต้องศึกษาข้อจำกัดของกองทุนรวมและจุดประสงค์ของการลงทุนด้วย
- การลงทุนผ่านกองทุนรวมนั้นถึงจะมีข้อดีมากมาย แต่การลงทุนผ่านกองทุนรวมก็เหมือนกับการลงทุนอื่นๆ ที่นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ
- หากยังมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบายและความเสี่ยงของกองทุน ควรขอคำแนะนำจากบุคคลที่เสนอขายกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี
การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้