การประกันภัย คือ อะไร

การประกันภัย คือ อะไร

ปัจจุบันในการทำประกันภัยเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อความคุ้มครองต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นตัวช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าหากเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหาย คุณจะได้รับการช่วยเหลือและการเคลมเงินได้ตามสิทธิ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและความคุ้มครองต่อความเสี่ยงที่เป็นไปได้ในอนาคตควรศึกษาการทำประกันภัย ได้จากบทความนี้เลยจ้า

Contents

การประกันภัย คืออะไร

การประกันภัยเป็นการตั้งสัญญาระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยจะรับประกันภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหาย โดยจะเสียเงินเพื่อช่วยเหลือและกู้คืนความเสียหายให้กับผู้เอาประกันภัยในกรณีที่เกิดความเสี่ยงตามที่ตกลงไว้ในสัญญา ประกันภัยมีรูปแบบและขอบเขตต่างๆ เช่น ประกันภัยบ้าน ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยทรัพย์สิน ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นต้น

  • การทำประกันภัยเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้ทำประกันภัยไว้ ด้วยการเฉลี่ยหรือการกระจายความเสียหายไปยังสมาชิกที่ทำประกันภัย
  • โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ทำหน้าที่เก็บเบี้ยประกันและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
  • การทำประกันภัย เป็นการตกลงร่วมกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ
  • ผู้รับประกันภัย หรือบริษัทประกันภัย
  • ผู้เอาประกันภัย หรือลูกค้า
  • โดยมีการจัดทำข้อตกลงขึ้นในลักษณะของสัญญาประกันภัย หรือเรียกว่า กรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อกันและกัน
  • ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่คุ้มครองผู้เอาประกันภัย เมื่อเกิดการสูญเสียหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นต้องชดเชยให้กับผู้เอาประกันภัยตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญา
  • ขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยก็มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัย ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เพื่อให้ความคุ้มครองดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

มีผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยอยู่ 3 ฝ่าย

ได้แก่

  1. ผู้รับประกันภัย (Insurer)

  • เป็นบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยจากภัยที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขในสัญญา
  1. ผู้เอาประกันภัย (Insured)

  • ผู้เอาประกันหรือผู้ถือกรมธรรม์ เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
  • มีหน้าที่ส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัยจนครบกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
  1. ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary)

  • เป็นบุคคลที่ถูกระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ให้เป็นผู้ได้รับค่าสินไหมทดแทน
  • ซึ่งผู้รับผลประโยชน์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย

ประเภทของการประกันภัย

ประเภทของการประกันภัย

การประกันภัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

การประกันชีวิต

  • การประกันภัยที่มุ่งให้การคุ้มครองต่อการเสียชีวิตหรือการยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลหรือการอาศัยการทรงชีพของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญในการกำหนดสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง
  • ซึ่งมีกฎหมายรองรับคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันชีวิต
  • ประเทศไทยมีบริษัทประกันชีวิตที่จดทะเบียนมีใบอนุญาติประกอบธุรกิจประกันชีวิตจำนวน 24 บริษัท
  • การประกันภัยที่มีระเวลาที่ยาวนานในการทำประกันเพื่อคุ้มครองกรณีการเสียชีวิต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอน หรือ บางบริษัทก็จะใช้คำว่า Life Insurance ซึ่งก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน
  • Insurance หมายถึงการประกันภัยที่คุ้มครองในระยะสั้นเช่น 1,2,3 ปี และมุ่งให้การคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหายหรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

รูปแบบการประกันชีวิตนั้นจะมีอยู่ 4 แบบ

ได้แก่

  1. การประชีวิตแบบตลอดชีพ
  2. การประกันชีวิตแบบเฉพาะกาล
  3. การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
  4. การประกันชีวิตแบบมีรายได้ประจำ

การประกันวินาศภัย

  • หลักประกันเพื่อความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติภัยหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ล่วงหน้า
  • ซึ่งการประกันวินาศภัยนั้นจะมีหลากหลายแบบหากพูดแบบสรุปรวมก็คือนอกจากการประกันชีวิตแล้วก็ถือได้ว่าเป็นการประกันวินาศภัยทั้งสิ้น
  • โดยการประกันวินาศภัยนั้น ก็มีกฎหมายรองรับแยกออกมาอีกฉบับหนึ่งคือ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย
  • ปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทประกันวินาศภัย Non-Insurance จำนวน 55 บริษัท เป็นบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศ 50 บริษัท และเป็นบริษัทประกันวินาศภัย สาขาต่างประเทศอีกจำนวน 5 บริษัท
  • โดยส่วนใหญ่แล้วการประกันวินาศภัยนั้นจะมีระยะเวลาในการคุ้มครองไม่เกิน 1 ปี เป็นการคุ้มครองระยะสั้นๆ
  •  หากไม่เกิดเหตุการณ์หรืออุบัติการณ์ใดเกิดขึ้นในกรอบระยะเวลาความคุ้มครองแล้วจะไม่มีเงินคืนเหมือนกับการประกันชีวิตบางแบบที่เมื่อครบตามระยะเวลาที่คุ้มครองแล้วทางผู้เอาประกันภัยไม่ได้เสียชีวิตผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับเงินเอาประกันภัยคืน
  • สำหรับการประกันวินาศภัยแล้วหากในช่วงระยะเวลาที่เอาประกันภัยนั้นผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีภัยใดใดเกิดขึ้นเลยก็จะไม่มีเงินคืนแต่อย่างใด
  • เพียงแต่ตลอดระยะเวลาที่ให้การคุ้มครองนั้น จะเกิดเหตุกี่ครั้งกี่หนก็ตามบริษัทประกันวินาศภัยจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นทุกครั้งโดยในแต่ละครั้งต้องไม่เกินวงเงินเอาประกันที่กำหนดเอาไว้ในสัญญาทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์หรือสัญญาประกันภัยนั้นด้วย
  • โดยหลักการคือ การให้ความคุ้มครองต่อเหตุที่ไม่แน่นอนในอนาคต

การประกันวินาศภัยอยู่ 4 แบบ

ได้แก่

  1. การประกันภัยอัคคีภัยหรือการประกันภัยทรัพย์สิน
  2. การประกันภัยการขนส่งและภัยทางทะเล
  3. การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
  4. การประกันภัยรถยนต์

ซึ่งในรูปแบบการประกันวินาศภัยแต่ละแบบยังมีการแยกย่อยลงไปอีกมากมาย

หลักการประกันภัย คืออะไร

หลักการประกันภัย คืออะไร

หลักการประกันภัย คือ การเป็นการสัญญาระหว่างผู้ประกันภัยและผู้เอาประกัน ในการปกป้องทรัพย์สิน หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้ประกันภัยจะต้องเสียค่าเป็นการชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันในกรณีที่เกิดความเสียหาย

หลักการประกันภัย มีอะไรบ้าง 6 ข้อ

หลักการประกันภัยสามารถแบ่งออกเป็น 6 หลักการดังนี้

  1. หลักส่วนได้เสียในการประกันภัย
  2. หลักสุจริตใจอย่างยิ่ง
  3. หลักสาเหตุใกล้ชิด
  4. หลักการชดใช้
  5. หลักการสวมสิทธิ หรือ รับช่วงสิทธิ
  6. หลักการเฉลี่ย

โดยแต่ละหลักการมีความหมายอย่างไรบ้าง

ดังต่อไปนี้

หลักการประกันภัย 6 หลักการ

หลักการประกันภัย ความหมาย
หลักส่วนได้เสียในการประกันภัย (Insurable Interest)   ผู้ที่จะเอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุหรือเหตุที่เอาประกันภัย ไม่เช่นนั้นแล้ว การประกันภัยนั้นไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย (ปพพ.ม.863)หากไม่มีส่วนได้เสียจะทำให้สัญญาประกันภัยนี้กลายเป็นการพนันและอาจเกิดการทุจริต จงใจทำให้เกิดความสูญเสียหรือเสียหายผู้ที่จะเอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุหรือเหตุที่เอาประกันภัย ในขณะที่ทำสัญญาประกันภัย   ผู้ที่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันได้ คือ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการที่ทรัพย์สินนั้นๆ เมื่อคงสภาพอยู่หรือจะได้รับความเสียหายจากการที่ทรัพย์สินนั้นถูกทำลายไปผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สินนั้นๆ เมื่อคงสภาพอยู่หรือจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเมื่อทรัพย์สินนั้นถูกทำลายไปผู้ที่มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินนั้นๆ เมื่อคงสภาพอยู่ หรือเมื่อทรัพย์สินนั้นๆ ถูกทำลายไป
หลักสุจริตใจอย่างยิ่ง (Utmost Good Faith)   ดังนั้นผู้เอาประกันภัยต้องเปิดเผยข้อความจริงและไม่แถลงข้อความที่เป็นเท็จ โดยหากผู้เอาประกันภัยซึ่งรู้อยู่แล้ว แต่ปกปิดข้อเท็จจริง หรือ แถลงข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งอาจจะจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือกำหนดเงื่อนไข หรือปฏิเสธการรับประกันภัยการทำสัญญาประกันภัยนี้ถือเป็นโมฆียะ (ปพพ.ม.865) สัญญาเป็นโมฆียะ
สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์ แต่บริษัทมีสิทธิบอกล้างสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เช่น ปิดบังประวัติการป่วยของตนด้วยโรคหัวใจ, โรคดันความโลหิตสูง หรือโรคมะเร็ง ในเวลาที่จะเอาประกันภัยสุขภาพแจ้งข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญของทรัพย์สินที่เอาประกันหรือแจ้งรายละเอียดสิ่งปลูกสร้างหรือที่ตั้ง ไม่ถูกต้อง สาเหตุที่ต้องเปิดเผยข้อความจริง ข้อความจริงเหล่านั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้เอาประกันภัยแต่เพียงฝ่ายเดียวข้อความจริงเหล่านั้นเป็นข้อความจริงที่ผู้รับประกันจะใช้พิจารณาเพื่อตัดสินใจเข้ารับความเสี่ยงภัยหรือไม่ และคิดเบี้ยประกันภัยเท่าใด ความแตกต่าง โมฆะ กับโมฆียะ โมฆะ  ไม่มีส่วนได้เสีย  และ สัญญาไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรกโมฆียะ  มีส่วนได้เสีย  และ สัญญาสมบูรณ์แต่บอกล้างได้
หลักสาเหตุใกล้ชิด (Proximate Cause)   ต้นเหตุแรกซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง หรือเป็นเหตุต่อเนื่อง โดยไม่ขาดตอน ซึ่งส่งผลเป็นทอดๆ แล้วทำให้เกิดความเสียหายสุดท้ายสาเหตุใกล้ชิด ต้องเป็นสาเหตุที่ระบุคุ้มครองและความเสียหายทั้งหลายที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกระบุยกเว้น ดังนั้นความเสียหายดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์
หลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Indemnity)   ต้องเป็นค่าเสียหาย ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดภัยขึ้นต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงต้องไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ยึดหลักให้ผู้เอาประกันกลับคืนสู่สถานะเดิมเหมือนก่อนเกิดวินาศภัยโดยเร็วที่สุด ดังต่อไปนี้ การจ่ายเป็นตัวเงิน (Cash Payments)การซ่อมแซม (Repair)การหาของแทน (Replacement)การกลับคืนสภาพเดิม (Reinstatement) การเรียกร้องค่าสินไหม
เมื่อมีความเสียหายเกิด ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ แจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้าส่งหลักฐานภายใน 30 วันนับตั้งแต่เสียหายยอมให้บริษัทดำเนินการใดๆ เพื่อป้องกันมิให้ความเสียหายเพิ่มขึ้นถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข บริษัทอาจไม่ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้รับประกันภัยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ ในกรณีดังนี้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรงความไม่สมประกอบแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นข้อยกเว้นที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย สินไหมกรุณา (Ex Gratia Payment) เป็นการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ที่ไม่อยู่ในความรับผิดของสัญญาประกันภัยผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายรุนแรง หรือเสียหายมากต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากบริษัทรับประกันภัยต่อ
หลักการรับช่วงสิทธิ Subrogation การที่ผู้รับประกันภัยเข้าไปใช้สิทธิ์ทั้งปวงของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ เท่าจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้รับประกันภัยได้จ่ายไปด้วยอำนาจของกฎหมาย การรับช่วงสิทธิ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เป็นวินาศภัยที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์เท่านั้นผู้ก่อให้เกิดวินาศภัยนั้นจะต้องไม่ใช่ผู้เอาประกัน หรือ ผู้รับประโยชน์ต้องเป็นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องจากเกิดวินาศภัยที่อยู่ในความรับผิดตามสัญญาประกันภัยเท่านั้น
หลักการเฉลี่ย (Contribution) ผู้รับประกันภัยในวัตถุที่เอาประกันภัยอันเดียวกัน ความเสี่ยงภัยอันเดียวกันและส่วนได้เสียอันเดียวกัน ต้องรับผิดในส่วนของความเสียหายที่ผู้รับประกันแต่ละคนมีอยู่ตามสัญญาแต่ละฉบับเป็นอัตราส่วน กับจำนวนเงินที่รับประกัน หลักการเฉลี่ยจะเกิดขึ้น เมื่อประกอบด้วย มีผู้รับประกันตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปให้ความคุ้มครองภัยชนิดเดียวกันทุกกรมธรรม์มีผลบังคับในเวลาที่เกิดความเสียหายมีวัตถุที่เอาประกันภัยเดียวกัน

อย่างไรก็ตามการเลือกประกันภัยที่เหมาะสมกับตัวเอง จะต้องทำการศึกษารายละเอียดข้อมูลให้ดีก่อน หลักการของประกันภัยก็เช่นเดียวกันที่ผู้ทำประกันภัยจะต้องทำความเข้าใจรายละเอียดก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกใช้

สัญญาประกันภัยมีกี่ประเภท

สัญญาประกันภัยมีกี่ประเภท

สัญญาประกันภัยมี 2 ประเภท ดังนี้

  1. สัญญาประกันวินาศภัย (ม.869)

  • มาตรา 869 อันคำว่า วินาศภัย ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอาความเสียหาย อย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้
  • สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังที่ระบุในสัญญา
  • ในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 869 ได้ให้คำนิยาม วินาศภัย ว่า ให้หมายความรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมเป็นอันสัญญาว่าตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งกรณีวินาศภัยหากเกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
  • ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีผิดสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควร (ฎีกาที่ 2821/2558)
  • ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 869 ได้ให้นิยามคำว่า วินาศภัย ว่า ให้หมายความรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้หากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย ถือว่าผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาทั้งหมด และโจทก์อาจยอมรับการบอกเลิกสัญญานั้นทันทีหรือเมื่อใดหลังจากนั้นก็ได้
  • เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเสียหายต่างๆ แก่ผู้ให้เช่าซื้อ อันได้แก่ ค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันให้คำนวณจากเงินงวดและดอกเบี้ยที่ค้าง ค่าโสหุ้ยและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโจทก์ในการค้นหา ยึดคืน ซ่อมแซม เก็บรักษา ทวงหนี้ ค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันให้คำนวณจากเงินค่างวดทั้งหมดที่จะต้องชำระในระยะเวลาเช่าซื้อที่เหลือ ตลอดจนค่าเสียหายอื่นๆ ดังนี้ ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อ
  1. สัญญาประกันชีวิต (ม.889)

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงิน ย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง
  • สัญญาประกันชีวิต การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง
  • สัญญาประกันชีวิต ไม่ใช่สัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อชดใช้ค่าสินใหม่ทดแทนอย่างสัญญาประกันวินาศภัย
  • สัญญาประกันชีวิต มิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง
  •  ค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยกรณีบาดเจ็บและค่ารักษาพยาบาลก่อนตายของผู้เอาประกันภัยที่โจทก์ ผู้รับประกันภัยจ่ายไปเป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลงคุ้มครองหาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ถือเป็นค่าเสียหายผู้เอาประกันภัยได้รับจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยเมื่อโจทก์จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิ์ของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยผู้ทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัย
  • สัญญาประกันชีวิตบุคคลอื่น ซึ่งผู้เอาประกันชีวิตมิได้ระบุผู้รับประโยชน์กรณีเช่นนี้ ต้องถือว่าผู้เอาประกันเป็นผู้รับประโยชน์
  • เงินอันเป็นใช้เมื่อมรณะของผู้เอาประกันภัย ไม่เป็นมรดกของผู้เอาประกันภัย
  • สัญญาประกันชีวิตที่ผู้ตายระบุให้จำเลยซึ่งไม่ใช่เป็นคนสำคัญเป็นผู้รับประโยชน์อันเข้ามาตามมาตรา 897 วรรค 2 ที่กำหนดไว้เฉพาะการกำหนดเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้น จัดเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย อันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันโดยกล่าวอ้างมาในคำฟ้องอย่าเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลจนต้น ทั้งไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่งแล้ววรรคสอง
  •  สัญญาประกันชีวิต ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยตามมาตรา 863 ด้วย กล่าวคือ ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันชีวิตของบุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะนั้น
  • สัญญาประกันชีวิต แม้ผู้รับประกันชีวิตได้ใช้เงินจำนวนหนึ่งตามสัญญาประกันชีวิตแล้ว ก็ไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิที่มีต่อบุคคลภายนอกการใช้ปัญญาประกันวินาศภัย
  • อายุความฟ้องเรียกเงินตามสัญญาประกันชีวิตมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193 / 30

สัญญาประกันภัยมีความสำคัญอย่างไร

สัญญาประกันภัยมีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของสัญญาประกันภัยมีดังนี้

สัญญาต่างตอบแทน

  • ทั้งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกัน และกัน แต่มีค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียมกัน
  • โดยผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับค่าสินไหมทดแทนกรณี เกิดความเสียหายที่ผู้รับประกันภัยต้องจ่าย

สัญญาที่มีลักษณะคล้ายการเสี่ยงโชคหรือเสี่ยงภัย

  • ผู้เอาประกันภัยเสี่ยงโชคในการจ่ายเบี้ยประกันภัยโดยหากมี ภัยเกิดขึ้น ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทน
  • ขณะที่ผู้รับประกันภัยเสี่ยงโชคโดยหากมีความเสียหายอันเกิดจากภัยขึ้นจะต้อง ชดใช้ค่า สินไหมทดแทนตามระบุใน1. สัญญา ทั้งนี้โดยแต่ละฝ่ายไม่รู้ว่าจะมีภัยเกิดขึ้นเมื่อไร

สัญญาที่อาศัยความสุจริตใจอย่างยิ่งของคู่สัญญา

  • เนื่องจากผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ทราบข้อเท็จจริงในความเสี่ยงภัยของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว

สัญญาที่ไม่มีแบบ แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงฟ้องร้องคดีได้

  • การทำสัญญาประกันภัยจะกระทำเพียงการ ตกลงปากเปล่าระหว่างผู้รับประกันภัยกับ ผู้เอาประกันภัยก็ถือว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
  • แต่หากมีข้อพิพาทระหว่างกัน การจะฟ้องร้องคดีจะต้องมีหนังสือสัญญารับประกันภัยเป็นหลักฐานไว้อ้างอิงในศาล

ประโยชน์ของการประกันภัย

การทำประกันภัยแบบไหน ก็ต่างมีประโยชน์ต่อผู้ทำประกันทั้งนั้น เช่น

ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย

  1. ให้ความคุ้มครองทำให้เกิดความมั่นใจในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย
  2. ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เป็นหลักประกันต่อบุคคลและครอบครัวของผู้เอาประกันภัย เช่น
    • กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินชดเชยจำนวนหนึ่ง ทำให้ไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น
  3. ช่วยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายนั้นจากผู้รับประกันภัยช่วยปลูกฝังให้เกิดนิสัยการประหยัดและการออม เนื่องจากต้องเก็บเงินจำนวนหนึ่งไว้ชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้ได้ตามจำนวนที่ตกลงไว้กับผู้รับประกันภัยและต้องชำระให้ทันภายในกำหนดเวลา การออมทำให้มีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินและยามชรา
  4. สามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้

ประโยชน์ต่อธุรกิจ

  1. ก่อให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าจะเกิดกับทรัพย์สินหรือชีวิตของเจ้าของกิจการ
  2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กย่อมดำเนินอยู่บนความเสี่ยง หากมีการกระจายความเสี่ยงไปให้ผู้รับประกันภัยช่วยรับภาระแทน ก็จะทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น
  3. ช่วยในการขยายเครดิตให้กับผู้กู้เงิน เป็นหลักประกันช่วยให้การกู้ยืมเงินดำเนินไปได้อย่างสะดวก เพราะการประกันภัยช่วยลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้จากหนี้สูญ
  4. ช่วยให้เกิดเสถียรภาพด้านต้นทุนการผลิต เพราะการทำประกันภัยคือการโอนความเสี่ยงภัยไปให้กับบริษัทประกันภัย โดยการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งที่มีจำนวนแน่นอนตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งถึงแม้จะเกิดหรือไม่เกิดภัยก็ตามต้นทุนการผลิตก็ถูกกำหนดได้อย่างแน่นอน ช่วยให้การคำนวณต้นทุนใกล้เคียงกับความเป็นจริง
  5. ช่วยส่งเสริมธุรกิจการค้าขายระหว่างประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เพราะธุรกิจเหล่านี้ต้องมีการขนส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปขายยังอีกประเทศหนึ่งซึ่งมีระยะทางไกลและอาจเกิดอันตรายในระหว่างการขนส่งได้ การประกันภัยนอกจากจะเข้ามาช่วยรับภาระความเสี่ยงภัยดังกล่าวข้างต้นแล้วยังทำให้ผู้ลงทุนกล้าตัดสินใจนำสินค้าไปจำหน่าย ซึ่งจะทำให้การค้าระหว่างประเทศมีความเจริญก้าวหน้า
  6. ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภัยมากๆ เช่น ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจรับส่งสินค้า และพาณิชย์นาวี เป็นต้น

ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

  1. ช่วยแบ่งเบาภาระของสังคมและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสงเคราะห์จากภาครัฐ ทำให้สังคมมีหลักประกันความปลอดภัย มีความมั่นใจว่าเมื่อเกิดอุบัติภัยและความเสียหายขึ้นผู้ประสบภัยจะได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน
  2. ช่วยให้มีการระดมทุนเพื่อนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการประกันภัยมีการเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยจะนำเงินเหล่านั้นไปลงทุนกับแหล่งเงินอื่น เพื่อให้ได้ดอกผลกลับคืนมา วิธีดังกล่าวช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญก้าวหน้า

เราควรทำประกันภัยเมื่อไหร่

  • จากประโยชน์อันมากมายของการประกันภัย เพราะความเสี่ยงภัยต่าง ๆ อาจจะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ไม่มีใครสามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่า อุบัติเหตุต่าง ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อใด ไม่ว่ากับตัวเองหรือแม้แต่คนที่เรารัก
  • การทำประกันภัยจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ประหยัดเงินในกระเป๋าของเราไม่ให้รั่วไหล
  • ช่วยลดปัญหาที่ตามมาจากความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ให้น้อยที่สุดได้ โดยถ้าความเสี่ยงภัยหรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดนั้นมาถึง
  • เมื่อทำประกันภัยไว้ เราก็จะมีบริษัทประกันภัยมาช่วยดูแล ชดใช้ค่าเสียหายให้ ซึ่งการจะทำประกันภัยแบบไหนให้เหมาะสมและครอบคลุมนั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือความเสี่ยงที่แต่ละคนอาจพบเจอไม่เหมือนกัน
  • การทำประกันภัยจึงจำเป็นที่จะต้องซื้อก่อนที่จะใช้ หรือเพื่อมีไว้ก่อนยามฉุกเฉิน เพราะเมื่อยามจำเป็นนั้นมาถึง เช่น กรณีเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุที่เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด
  • หากทำประกันภัยไว้ ก็จะมีเงินสำรองไว้สำหรับภาวะฉุกเฉินได้ทันท่วงที
  • ควรหาข้อมูลและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับประกันภัยที่ครอบคลุมทั้งประกันชีวิต ประกันวินาศภัยประเภทต่าง ๆ หรือผลประโยชน์ด้านต่าง ๆ ให้ละเอียดเพื่อเป็นเหตุผลประกอบการตัดสินใจทำประกันภัย

การเลือกประกันที่เหมาะสมพิจารณาจากอะไร

การพิจารณาเลือกทำประกันจะมีการพิจารณาที่อยู่ 2 อย่าง คือ

  1. พิจารณาความเสี่ยง
  2. พิจารณารายได้

รายละเอียดการพิจารณามีดังนี้

  1. พิจารณาความเสี่ยง

ความเสี่ยงในการทำงาน

  • การทำงานรวมไปถึงการเดินทางก็นับเป็นความเสี่ยงประการหนึ่ง
  • หากทำงานใกล้บ้าน งานออฟฟิศ อาจใช้เป็นการทำประกันสุขภาพ ที่มีความเกี่ยวข้องกับออฟฟิศซินโดรม
  • ถ้าออกต่างจังหวัดบ่อย งานมีความเสี่ยงสูง ประกันอุบัติเหตุและประกันชีวิตอาจมีความสำคัญมากขึ้น

ความเสี่ยงด้านสุขภาพ

  • แม้ว่าจะดูแลสุขภาพดีแค่ไหนแต่ความเสี่ยงในโรคภัยก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
  • การทำประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการแบ่งเบาความเสี่ยงที่อาจเกิดในอนาคต

เป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัว

  • ครอบครัวต้องพึ่งพารายได้ของคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเป็นหลัก ควรที่จะมีประกันชีวิตเพื่อคุ้มครอง เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น หรืออุบัติเหต จนไม่สามารถทำงาน หรือขาดรายได้ คนข้างหลังจะลำบาก
  • ควรจะทำประกันชีวิตเท่าไหร่ดี ก็ขึ้นอยู่กับรายจ่ายครอบครัวต่อปี คูณด้วย 5 ปี ได้เท่าไหร่นั้นก็คือทุนประกันชีวิตที่ควรจะมี
  • เพื่อให้คนข้างหลังสามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติและมีเวลาตั้งตัวได้ หากเบี้ยประกันชีวิตที่ต้องส่งนั้นสูงเกินกว่าที่จะส่งไหวก็ยังไม่จำเป็นต้องทำทุนประกันสูงถึงที่คำนวณไว้
  • ให้เริ่มจากจ่ายเบี้ยประกันชีวิตน้อยๆ และเมื่อจ่ายไหวค่อยทำประกันชีวิตฉบับใหม่เพื่อให้ครอบคลุม

ความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆ

  • เนื่องจากการทำประกันนั้นมีหลากหลายชนิด ดังนั้นควรเลือกทุกอย่างให้ครอบคลุม เช่น การทำประกันภัยให้รถยนต์ ทำประกันอัคคีภัยให้บ้าน
  • หากมีครอบครัวอาจต้องให้ความสำคัญในด้านการทำประกันชีวิตเพิ่มเติม เพื่อรองรับความเสี่ยงให้คนที่อยู่ข้างหลัง
  • หากรู้ความเสี่ยงของตัวเองแล้ว เราก็สามารถพิจารณาแบบประกันและความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น
  • รวมถึงสามารถคำนวณจำนวนเงินที่สามารถทำประกันได้ง่ายขึ้น เพื่อความสบายใจในการจ่ายเบี้ยประกันระยะยาว
  1. พิจารณารายได้

รายได้สอดคล้องกับประกันหรือไม่

  • การทำประกันนั้นอาจถือเป็นหนึ่งในการออมทางเลือกที่หลายคนให้ความไว้วางใจ ที่นอกจากจะเป็นการเก็บเงินก้อนแล้ว ยังเป็นการรองรับความเสี่ยงที่ดีอีกด้วย
  • หลายคนก็เลือกจะทำประกันที่มีวงเงินสูง ทำให้ต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงตาม เราอาจมั่นใจกับการประกันภัยดังกล่าวในระยะสั้น แต่ว่าระยะยาวนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินได้
  • ประกันชีวิตที่เหมาะสมคือ 10-20% ของรายได้ นอกเหนือจากนั้น ความน่าเชื่อถือของบริษัท และตัวแทนหรือนายหน้าขายประกันเองก็สำคัญไม่แพ้กัน
  •  ผู้ซื้อประกันควรเลือกบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ และมีตัวแทนประกันที่เชื่อใจได้ สามารถพึ่งพาได้เมื่อถึงเวลาสำคัญ

ลักษณะของการเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้

การใช้ชีวิตย่อมมีการเสี่ยงภัยเกิดขึ้นอย่างแน่นอน หากท่านประสบภัยเหล่านี้ท่านจะสามารถเอาประกันภัยได้ มีดังนี้

  • ความเสี่ยงภัยนั้นควรเป็นความเสี่ยงภัยที่แท้จริงและเป็นความเสี่ยงภัยจำเพาะ
  • ความเสี่ยงภัยนั้นจะต้องมีหน่วยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก
  • ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องเป็นอุบัติเหตุและไม่ได้เกิดจากการกระทำ โดยเจตนาของผู้เอาประกันภัย
  • ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ต้องสามารถหาสาเหตุและประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้
  • ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องไม่เป็นมหันตภัย
  • ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
  • โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต้องคำนวณหรือประมาณได้

สรุป

การทำประกันภัยจึงเป็นหลักประกันที่ดีอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ที่จะใช้ค้ำประกันหากเราเสียชีวิต หรือเกิดเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน จะทำให้ท่านมีหลักประกันจำนวนหนึ่งที่สามารถบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับตัวท่านเอง หรือบุคคลในครอบครัวได้

การเลือกประกันที่ถูกต้องจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ซื้อเป็นหลัก นอกเหนือจากนั้นคือการพิจารณาความเสี่ยงของบุคคล และรายได้ที่เหมาะสมกับกรมธรรม์ต่างๆ เมื่อเกิดความเสียหายผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้ระบุความคุ้มครองไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้

halo icon removebg preview

เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี

การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้