วิกฤติเศรษฐกิจ คือ
วิกฤษเศรษฐกิจ คือเหตุการณ์ที่ระบบการเงินปรับตัวเข้าสู่ทิศทางสวนกับการเติบโต หรือการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ส่งผลเสียต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือในระดับโลก ในการเทรด วิกฤติเศรษฐกิจถือเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับนักเทรดได้สูงสุด
ในการเทรด Forex สิ่งที่นักเทรดต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลอย่างหนึ่ง คือ วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินมหาศาลมาก และเกิดเป็นเทรนด์ระยะยาวทำให้นักเทรดขาดทุนจนล้างพอร์ตได้ในจำนวนมหาศาล ดังนั้น วันนี้เราจึงมาดูไทม์ไลน์ของวิกฤติเศรษฐกิจใหญ่ ๆ ที่เป็นที่รู้จักและส่งผลต่อตลาดการเงิน สาเหตุของมันว่าเกิดจากอะไร
สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจ
การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจย่อมมีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการที่ระบบเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนไต่อไปได้ เกิดการเทขายสินทรัพย์อย่างหนัก ความเชื่อมั่นทางด้านการถือครองสินทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนแสวงหาสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ซึ่งได้แก่ ทองคำ หรือ ค่าเงินที่มีเสถียรภาพสูงอย่าง ค่าเงินสวิสฟรัง (CHF) ซึ่งถือเป็น Safe Heaven ของเงินลงทุน โดยสาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ
การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์อย่างรวดเร็ว
การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “ฟองสบู่” หรือเศรษฐกิจฟองสบู่ ซึ่งอาจจะเกิดจากการเก็งกำไร กล่าวคือ มีการเก็งกำไรในตลาดหุ้น หรือตลาดใด ตลาดหนึ่ง ที่ส่งผลต่อความเสียหายเป็นวงกว้าง นั่นคือ มีการเข้าซื้อสินทรัพย์ชนิดใด ชนิดหนึ่ง เพื่อเก็งกำไร เมื่อราคาเพิ่มสูงขึ้น จะมีการเทขาย
และเมื่อสินทรัพย์ถูกเทขาย มันจะทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล จนทำให้เกิดปรากฏการณ์เทขาย (Short Sell) หมู่ในตลาดหลักทรัพย์ เหตุการณ์การเก็งกำไรนี้ เคยเกิดขึ้นกับการเก็งกำไรในตลาดดอกทิวลิปของเนเธอแลนด์ หรือเรียกว่า Tulip Crisis หรือ Tulip mania ซึ่งตามที่มีการบันทึกข้อมูลไว้ พบว่า ราคาดอกทิวลิปพุ่งสูงขึ้นภายในระยะเวลา 3 เดือนในช่วงเดือน
ที่มา: wikipedia
การเก็งกำไรราคาดอกทิวลิป
การเก็งกำไรราคาดอกทิวลิปเกิดในระยะสั้น ๆ จากไม่มีมูลค่า ไปจนถึงราคา 200 ในระยะเวลา 3 เดือนในประเทศเนเธอแลนด์ ช่วงปี ค.ศ. 1636 – 37 และราคาร่วงจนเหลือแบบไม่เหลือมูลค่าภายในระยะเวลา 1 – 2 เดือน
ตัวอย่างการเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในประเทศไทยก็มีการเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์จนดัชนี Set พุ่งสูงไปจนถึงที่ 1800 จุด ในปี 2540
การเกิดภาวะฟองสบู่ในหนี้สิน
นอกจากการเกิดฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์จากการเก็งกำไรแล้ว การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจยังเกิดในการที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
ตัวอย่างของการเกิดวิกฤติหนี้สินนี้ สามารถดูได้จากการเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในไทย และวิกฤติ Hamberger Crisis หรือ Sub-prime ของสหรัฐฯ
การเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งของประเทศไทย ทางด้านฟองสบู่หนี้สิน เมื่อมีการเก็งกำไรจำนวนมากในการปล่อยกู้ดอกเบี้ยในอัตราสูงลิ่ว เพื่อให้ประชาชนนำไปซื้อบ้าน เก็งกำไร ทำให้มีหนี้ในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก การปล่อยกู้ของประชาชน อนุมัติง่ายมิหนำซ้ำ ยังไปกู้จากต่างประเทศมาเพื่อมาปล่อยกู้ให้กับประชาชนในประเทศอีกต่างหาก
อัตราดอกเบี้ยที่สูงเพิ่มภาระหนี้
สาเหตุที่มีการกู้ต่างประเทศ มาปล่อยกู้ในประเทศเพราะประเทศไทยในยุคนั้นอัตราดอกเบี้ยสูงมาก สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศ จึงมีการกู้จากต่างประเทศ และมาปล่อยกู้ให้คนไทย ก็ยังกำไรจากอัตราดอกเบี้ย การกระทำเช่นนี้เป็น การซ้ำเติมเศรษฐกิจเพราะว่า ทำให้หนี้พุ่งสูงเป็นอย่างมาก
เมื่อมีธุรกิจมีกำไร จึงทำให้มีการปล่อยกู้แบบไร้ระเบียบวินัย จึงส่งผลต่อจำนวนหนี้ในประเทศที่พุ่งสูง
และเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ นั่นคือ เหตุการณ์ที่คนที่เป็นหนี้ไม่มีเงินมาจ่าย จึงส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจลุกลามไปทั้งภูมิภาค
สาเหตุอื่น ๆ
การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยมากเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินของประเทศ แต่การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ นั้นเกิดจากสาเหตุใดเป็นตัวกระตุ้นก็ได้ แล้วลุกลามไปสู่ส่วนที่มีปัญหาที่แท้จริง คือ การเกิดฟองสบู่ หรือ Bubbles อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเราพิจารณาว่า การเป็นตัวจุดชนวนแล้ว วิกฤติเศรษฐกิจอาจจะมาจากสาเหตุอื่น ๆที่นำไปสู่การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจได้ เช่น
- การเกิดโรคระบาด
- การเกิดการดำเนินนโยบายผิดพลาดของภาครัฐ
- การมีหนี้สาธารณะสูงมากเกินไป
- การเกิดความเสื่อมความน่าเชื่อถือในรัฐบาล ทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
- การเกิดคอรัปชั่นในประเทศ
- ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง นำไปสู่การปัญหาเศรษฐกิจเรื้อรังสะสม
- อื่น ๆ ฯลฯ
ลำดับเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจที่สำคัญ
จากสาเหตุดังกล่าว เราสามารถลำดับ Timeline ของวิกฤติเศรษฐกิจสำคัญของโลกได้ดังต่อไปนี้
Japan Asset Bubbles
ฟองสินทรัพย์ญี่ปุ่น 1986-1991
เกิดการเก็งกำไรสินทรัพย์ในตลาดหุ้นญีปุ่นจนราคาพุ่งสูง เมื่อมีการขายทำกำไร ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
ในช่วงปี 1989 ดัชนี NIKKEI พุ่งขึ้นถึง 40,000 จุดในช่วงปี 2021 คือ 30 ปีต่อมา ดัชนี NIKKEI ยังอยู่แค่ 28,000 จุดเท่านั้น
Black Monday 19 ตุลาคม 1987
เหตุการณ์ Black Monday 1987
เหตุการณ์ Black Monday เป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่ลุกลากไปทั่วโลก โดยมีความรุนแรง และไม่ได้ตั้งตัว หลังจากที่ตลาดหุ้นร่วงหนักวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1987
ตลาดที่เป็นตัวจุดชนวนของวิกฤติคือสหรัฐฯ ตลาด Dow Jones ลดลงกว่า 508 จุด คิดเป็น 22.6 %
วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 1998
วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย 1997 – 1998
เหตุการณ์หลังจากที่หนี้ในประเทศสูงมากจากการไปกู้ต่างประเทศเพื่อมาปล่อยกู้ในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันมาก ทำให้เกิดช่องว่างของความผิดปกติ
นำไปสู่การบริหารนโยบายการเงิน ที่ผิดพลาด จนทำให้เกิดช่องโหว่ และกองทุนเก็งกำไรข้ามชาติ หรือ Hedge Fund เห็นช่องโหว่นี้จึงเข้ามาเก็งกำไร Short ค่าเงินบาทจำนวนมาก เรียกว่า การโจมตีค่าเงินบาท
อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพราะประเทศไทยบริหารผิดพลาดเอง เพราะกองทุนเล็งเห็นโอกาสทำกำไร จึงเข้ามาเก็งกำไร หลังจากนั้นเกิดการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้อัตราแลกเปลี่ยน คงที่จาก 1 USD : 25 บาทกลายเป็น 1 USD : 53 บาท หมายความว่าหน่วยงาน (ธนาคาร) ที่ไปกู้ต่างประเทศมาเพื่อมาปล่อยกู้ให้กับประชาชนในประเทศ ต้องชดใช้เงินเพิ่มมากขึ้นจากที่เงินบาทอ่อนค่า
ผลของการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ธนาคารใหญ่หลายสถาบันในประเทศไทย ล้มละลาย ต้องปิดกิจการไปจำนวนมาก
Black Monday 19 ตุลาคม 1987
วิกฤติ Sub-Prime 2007 – 2008
นี่เป็นวิกฤติหนี้เสียที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐฯ สาเหตุเพราะมีการปล่อยกู้ และนำหนี้มาทำการ รีไฟแนนซ์ โดยการมัดรวมหนี้เก่า กับ หนี้ใหม่ หนี้ดีกับหนี้เสีย แล้วขายให้กับสถาบันการเงินอื่น ซึ่งสถาบันการเงินอื่นที่รับซื้อไปก็จะได้ดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีหนี้เสียที่ปะปนไปทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ จนกลายเป็นวิกฤติ มีธนาคารใหญ่ ๆ ในสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบ วิกฤติลุกลามไปทั่วโลก
วิกฤติ Covid-19 ปี 2020
วิกฤติ COVID-19 ปี 2020
การระบาดของวิกฤติ Covid-19 ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับการชะงักของเศรษฐกิจ เมื่อการระบาดแพร่เป็นวงกว้าง และมีการตายจำนวนมาก ร้านค้า ธุรกิจต้องปิดตัวจำนวนมาก เนื่องจากการประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อลดการแพร่ระบาด
ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก ไม่มีการจับจ่ายใช้สอย ตลาดหุ้นร่วงหนักในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม
ข้อสังเกตุ
การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จากเหตุการณ์ที่กล่าวมาจะสังเกตุความเชื่อมโยงอย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะฟองสบู่ของเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเก็งกำไรราคาสินทรัพย์ การเกิดฟองสบู่ของหนี้สิน ทำให้ขาดเงินในการชำระหนี้ การเกิดวิกฤติ Covid-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก แต่ละเหตุการณ์เรียกว่า เกิดความเสียหายต่อสถานะเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้าง
เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี
การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้