วิธีเก็บเงิน มนุษย์เงินเดือน อย่างฉลาด

 

วิธีเก็บเงิน มนุษย์เงินเดือน อย่างฉลาด

การวางแผนการเงินจำเป็นมากหลายคนมีความพยายามที่จะแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อเก็บออมไว้ใช้จ่ายในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการออมเพื่อใช้ในการท่องเที่ยว การออมเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลในยามฉุกเฉิน ซึ่งแต่ละอย่างก็มีแผนการออมที่แตกต่างกันออกไปตามจำนวนเงินที่ต้องการออมดังนั้นเพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายในเรื่องต่าง ๆ ในบทความนี้จึงนำวิธีการเก็บเงินแบบมนุษย์เงินเดือนมาแบ่งปันคนที่ต้องการจะเก็บเงินในปัจจุบัน

Contents

วิธีเก็บเงิน คืออะไร

วิธีเก็บเงิน ก็คือการออมเงินนั้นเอง โดยการออมเงินนั้นจะมีวิธีในการเก็บเงินที่มากมายหลายวิธีในปัจจุบัน การเก็บสะสมเงินรายได้ในส่วนต่างๆ ไว้ใช้จ่ายในอนาคตรวมถึงการสะสมสิ่งที่มีค่าเป็นตัวเงินและมีประโยชน์ต่อครอบครัว ซึ่งการเก็บรายได้เมื่อหักรายจ่ายแล้วจะมีส่วนที่เหลืออยู่เรียกว่า เงินออม การออมเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับตัวเอง จึงมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ครอบครัวและชุมชนในยุคปัจจุบัน

วิธีเก็บเงิน มนุษย์เงินเดือน

การออมเงินเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะต้องทำ เพราะคือสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ความฝันหรือความต้องการเป็นจริงได้ สำหรับมนุษย์เงินเดือนสามารถวางแผนการออมเงินได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างด้วยการออมแบบ 80/20การ

ออมแบบ 80/20 คืออะไร

  • การออมเงิน 80/20 หมายถึงการแบ่งรายรับในแต่ละเดือนออกเป็น 2 ส่วน
  • 20% แรก คือแบ่งออกมาเพื่อเป็นเงินออม
  • 80% ที่เหลือสามารถนำไปใช้จ่ายได้

ออมแบบ 20% เหมาะกับใคร

  • การออมเงิน 80/20 เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนหรือคนที่มีรายได้สม่ำเสมอในแต่ละเดือนมากเพราะประมาณการรายรับรายจ่ายแต่ละเดือนได้ค่อนข้างแม่นยำ
  • โดยตัวเลขเงินออม 20% นี้อาจจะปรับเพิ่มได้ตามความเหมาะสม ที่สำคัญต้องไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันจนเกินไปนัก ออมทั้งที่ต้องใช้ชีวิตได้มีความสุขด้วย

ส่วนของ 80% จ่ายไปกับอะไร

  • หลังจากที่กันเงินออมออกไปแล้ว 20% ของรายรับทั้งหมด
  • แนะนำให้แบ่งเงินเพื่อใช้จ่ายหรือ 80% ที่เหลือออกเป็น 3 ส่วน
  • รายจ่ายประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าขนม ค่าใช้จ่ายในกลุ่มนี้ควบคุมยาก เพราะบางครั้งก็เป็นเงินที่จ่ายออกไปทีละน้อย แต่พอมานับรวมๆ แล้วในแต่ละเดือนไม่น้อยเลย จึงควรคุมไว้ไม่ควรเกิน 20% ของรายจ่ายแต่ละเดือน
  • รายจ่ายประจำเดือน หรือประจำปี เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือผ่อนบ้าน บางรายการก็เป็นหนี้ไม่ดี เช่น สินค้าเงินผ่อนที่เกินความจำเป็น จึงไม่ควรเกิน 50% ของรายจ่ายแต่ละเดือน
  • รายจ่ายเพื่ออนาคต เช่น การลงทุน ซื้อประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ การลงทุนในกองทุน ลงทุนในความรู้การศึกษา ถึงแม้ว่ารายจ่ายในกลุ่มนี้จะก่อให้เกิดผลตอบแทนที่งอกเงยในอนาคต แต่ก็ควรแบ่งสัดส่วนให้ดีๆ จึงไม่ควรเกิน 30% ของรายจ่ายแต่ละเดือน
  • การแบ่งรายจ่ายออกเป็น 3 ส่วนนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าในแต่ละเดือนเรามีรายจ่ายไปกับอะไรบ้าง และส่วนไหนไม่จะเป็น เพื่อที่จะได้ลดรายจ่ายนั้น และนำมาปรับเพิ่มสัดส่วนเงินออมได้

ออมแบบ 20% ด้วยวิธีอะไร?

  • เมื่อเงินเดือนออก ให้แบ่งเงิน 20% ใช้ในชีวิตประจำวันออกมาอีกบัญชี หรืออาจถือเป็นเงินสดเพื่อใช้ตลอดทั้งเดือน
  • ถ้าใช้เหลือก็เก็บแยกไว้ต่างหาก สำหรับให้รางวัลตัวเองด้วยการใช้ซื้อของที่อยากได้ หรือท่องเที่ยว
  • เพียงเท่านี้มนุษย์เงินเดือนก็สามารถออมเงินในแต่ละเดือน
  • การแบ่งรายการต่างๆ ในแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน แต่หลักการสำคัญคือ การควบคุมรายจ่าย เพื่อเก็บออมเงินอย่างมีวินัย

วิธีเก็บเงิน มนุษย์เงินเดือน อย่างฉลาด 7000 9000 10000 12000 15000 20000 ทำอย่างไร

การเก็บเงิน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นกับเราอย่างมากในปัจจุบันนี้ การเก็บเงินเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้อนาคตมีความมั่นคงโดยจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินเก็บที่มีอยู่ ยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็จะช่วยให้อนาคตของเรามีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการเก็บเงินให้มีปริมาณมากๆ ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดและคนที่มีเงินเดือนไม่เยอะ ก็สามารถมีเงินเก็บที่เยอะได้เช่นกัน โดยมีกวิธีการเก็บเงินง่ายๆดังนี้

ออมเงินมากกว่า 10% ของรายได้ที่มีอยู่

  • ในการออมเงิน แน่นอนว่าอัตราส่วนการออมเงินเพียง 10% ของเงินเดือนทั้งหมด ถือว่าเป็นอัตราส่วนที่พอดีกับคนออม เป็นตัวเลขที่ไม่ค่อยกระทบกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนสักเท่าไหร่
  • ซึ่งถ้าหากว่าเรามีเงินเดือน 7000 บาทต่อเดือน เงินที่เราต้องออมในทุกๆเดือนก็คือ 700 บาท
  • การที่เราจะเก็บเงินเป็นจำนวนเท่านี้แล้วจะรวยได้ มันคงไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่ เพราะเงิน 700 บาทต่อเดือนที่เราออม
  • ภายในหนึ่งปีเราก็จะมีเงินเก็บทั้งหมด 8,400 บาท แน่นอนว่าเงินจำนวนเท่านี้ เรานำไปใช้เพียงนิดหน่อยก็หมดแล้ว
  • เมื่อการออมเงินเพียง 10% ไม่สามารถทำให้เรารวยขึ้นได้ ฉะนั้นแล้วการเพิ่มอัตราส่วนการออม ถือว่าเป็นวิธีที่ดีไม่น้อย
  • โดยเพิ่มจาก 10% เป็น 15% 20% หรือ 30% ตามลำดับ ซึ่งแน่นอนว่าทุกครั้งที่เพิ่มปริมาณเงินออมขึ้นมา รายจ่ายส่วนอื่นๆก็ต้องลดลงไป
  • หากเราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเท่าไหร่ เราก็สามารถออมเงินได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามการเก็บเงินต้องไม่กระทบกับรายจ่ายของเราด้วย

การเก็บเงินจากมนุษย์เงินเดือน 7000 9000 10000 12000 15000 20000 เพียง 10 % ของเงินเดือนจะได้เงินเก็บปีละเท่าไหร่ไปดูกันเลย

การเก็บเงิน 10 % จากมนุษย์เงินเดือนน้อย

เงินเดือน (บาท) หัก 10 % ของเงินเดือน (บาท) เก็บครบ 1 ปี เป็นเงิน (บาท)
7000 700 8400
9000 900 10800
10000 1000 12000
12000 1200 14400
15000 1500 18000
20000 2000 24000

ในตารางนี้ก็เป็นเพียงการเก็บเงินแค่ 10 % ของเงินเดือนเท่านั้น เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในยุคปัจจุบัน แต่หากใครที่เงินเดือนเหลือมากกว่าเงินที่เก็บก็สามารถเก็บได้มากกว่า 10 % โดยเพิ่มเป็น 15 20 25 หรือ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามความสะดวกของแต่ละท่านได้เลยจ้า

 เพิ่มมูลค่าให้กับเงินเก็บที่มีอยู่ไม่ให้เงินเก็บนอนอยู่เฉยๆ

  • คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเก็บเงินไว้เฉยๆในที่ใดที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเก็บไว้ในกระปุกออมสิน เก็บเข้าบัญชีธนาคาร เก็บในรูปแบบหุ้น
  • ซึ่งแน่นอนว่ามันคือการเก็บเงินเหมือนกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้มันต่างกันไม่น้อยเลยซึ่งคนจำนวนไม่น้อยก็อาจจะเลือกที่จะออมเงินโดยเก็บเข้ากระปุกออมสินหรือฝากเงินเข้ากับบัญชีออมทรัพย์
  • ความจริงแล้วเราสามารถเลือกที่จะเก็บเงินในรูปแบบอื่นเพื่อให้เงินเก็บของเรามีมากขึ้นและงอกเงยไปพร้อมๆกัน
  • เงินเก็บที่มีอยู่ เราสามารถเพิ่มมูลค่าได้อย่างง่ายๆ โดยเราสามารถเปลี่ยนจากการบัญชีออมทรัพย์ไปเป็นบัญชีฝากประจำ บัญชีทวีทรัพย์ เพื่อเพิ่มอัตราส่วนดอกเบี้ยที่มากขึ้น
  • เนื่องด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของบัญชีออมทรัพย์ที่มีอยู่น้อยมาก ต้องฝากในปริมาณที่เยอะถึงจะเห็นเม็ดเงินที่เป็นดอกเบี้ยที่แท้จริง
  • ในทางกลับกันหากเราเลือกที่จะฝากประจำหรือฝากทวีทรัพย์ รับรองว่าในจำนวนระยะเวลาเท่ากันและปริมาณเท่ากัน แต่เราจะเห็นว่าการฝากประจำและการฝากทวีทรัพย์ให้เงินดอกเบี้ยที่มากกว่ามากเลย
  • แหล่งเงินออมอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ออมสามารถเพิ่มมูลค่าเม็ดเงินที่ตัวเองมีอยู่อย่างง่ายๆเลยก็คือการซื้อกองทุนรวม
  • การซื้อกองทุนรวมเป็นการลงทุนที่มีความปลอดภัยที่สูงเนื่องจากมีมืออาชีพคอยบริหารจัดการเงินให้กับเรา อีกทั้งยังมีสภาพคล่องทางการเงินที่มาก ทำให้เราหมดห่วงว่าเราจะไม่มีแหล่งเงินทุนฉุกเฉินเวลาต้องการใช้เงินเลย

ฝึกนิสัยในการออมระยะยาว

  • ความยากลำบากของการออมเงินก็คือการหักห้ามใจไม่ให้นำเงินเก็บนั้นมาใช้หรือพยายามออมเงินไปต่อ ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยที่มักจะล้มเลิกความตั้งใจในการออมเงินหลังจากที่เริ่มออมเงินได้ 3 4 เดือน
  • ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงระยะเวลาการเก็บเงินที่สั้นๆนั้น ไม่สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จได้เท่าที่ควร
  • ฉะนั้นแล้วลองพยายามสร้างแผนในรูปแบบของการออมระยะยาวอย่างเช่นออมเป็นระยะเวลา 1 ปี 2 ปี หรือ 3 ปี จะช่วยให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของเม็ดเงินในบัญชีอย่างมากเลย เพราะยิ่งเรามีเงินออมเก็บเยอะขึ้น มากขึ้นเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่เราได้รับก็จะเยอะขึ้นมากเท่านั้น
  • บางคนอาจจะเลือกที่จะหักเงินเข้าบัญชีเงินเก็บอัตโนมัติหรืออาจจะมีวิธีอื่นๆ ตามความชอบของตัวเอง

เริ่มทำงานใหม่ๆจะเก็บเงินอย่างไร

เริ่มทำงานใหม่ๆจะเก็บเงินอย่างไร

เมื่อเริ่มเข้าสู่โลกการทำงานจะเก็บเงินอย่างไรให้เหมาะสมกับรายรับรายจ่ายที่มี รวมทั้งแนวทางการใช้ชีวิตของตัวเอง เพราะการออมเงินไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แน่นอนว่าวิธีการแต่ละแบบก็ปรับใช้กับแต่ละคนได้แตกต่างกันไป แล้วมีวิธีไหนที่ช่วยให้ออมเงินได้กันบ้าง มาดูกันเลยจ้า

สูตรการออมเงิน 50-30-20

  • ถือเป็นอีกสูตรการออมเงินที่มักได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ คือ การจัดสรรรายได้ตามภาระรายจ่ายที่จำเป็น
  • โดยแบ่งสัดส่วนของเงินที่มีให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ข้อดีของวิธีนี้คือช่วยให้ผู้ออมจำกัดการใช้เงินได้ เพราะมีการแจกแจงตัวเลขของรายจ่ายแต่ละแบบอย่างชัดเจน
  • รวมทั้งยังสามารถกันจำนวนเงินออมได้แน่นอน ซึ่งทำให้มั่นใจว่าจะมีเงินออมทุกเดือน
  • 50 เปอร์เซ็นต์ คือ เงินที่นำไปใช้กับรายจ่ายจำเป็นที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน เช่น ค่าเช่า/ผ่อนที่อยู่อาศัย ค่าส่งงวดผ่อนรถหรือสิ่งของต่างๆ ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าใช้บริการที่จำเป็นต้องหักเป็นประจำทุก
  • 30 เปอร์เซ็นต์ คือ เงินที่นำไปใช้จ่ายส่วนตัว หรือใช้สำหรับการพักผ่อนและสันทนาการตามใจชอบ
  • 20 เปอร์เซ็นต์ คือ เงินที่นำไปเก็บไว้เป็นเงินออม โดยเงินส่วนนี้ให้หักออกมาก่อนทันทีที่ได้รับเงินเดือนในแต่ละเดือน เพื่อเก็บไว้ใช้สำรองยามฉุกเฉินหรือเป็นทุนรอนในการต่อยอดรายได้ให้งอกเงยต่อไปได้ในอนาคต

สูตรการออมเงิน เก็บเงิน 10% ของรายได้

  • วิธีที่ได้รับความนิยมไม่น้อย คือ เก็บเงินออมเป็นจำนวน 10% ของรายได้ เมื่อได้เงินเดือนมาแล้ว
  • ให้จัดการแบ่งเงินจำนวน 10% มาออมเป็นอันดับแรก ส่วนเงินที่เหลือจากนั้นก็นำไปใช้จ่ายตามสมควร
  •  ยกตัวอย่าง นายมาดี ได้รับเงินเดือนเดือนละ 25,000 บาท หากต้องการออมเงินตามสูตรนี้ก็นำ รายได้ x 10% = จำนวนเงินออม ตามสูตรนี้ก็จะได้เป็น 25,000 x 10% = 2,500 บาท
  • จากสูตรนี้เราจะเก็บเงินเดือนละ 2500 บาทต่อเดือน รวมแล้วใน 1 ปี สามารถเก็บเงินได้ 30000 บาทต่อปี

รวมวิธีเก็บเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน

เมื่อเรามีเงินเดือนและอยากจะเก็บเงินไว้ใช้ในอนาคตแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากส่วนไหนก่อนดีหรือจะทำอย่างไร เรามาดูไปพร้อมๆกันเลยจ้า

  1. จัดสรรการออมเงินให้ชัดเจน
  • การเริ่มต้นที่ง่ายและทำได้แบบเห็นผล คือเริ่มจัดสรรปันส่วนจำนวนเงินให้ชัดเจน
  • โดยอิงจากสูตรการออมเงินที่แนะนำไปข้างต้นก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้เห็นตัวเลขของเงินออมอย่างชัดเจน
  • ส่งผลไปถึงการตั้งเป้าหมายและรักษาวินัยการออมให้ได้ตามจำนวนเงินนั้นในทุกเดือน
  1. ฝากเงินกับธนาคาร
  • สิ่งแรกคือต้องแยกบัญชีเงินออมออกจากบัญชีใช้จ่ายทั่วไป วิธีแนะนำคือแบ่งบัญชีออกเป็น 4 บัญชี ได้แก่
  • บัญชีฉุกเฉิน เก็บเงินก้อนไว้ใช้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างอุบัติเหตุ เจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีเหตุจำเป็นต้องเสียเงิน โดยเงินส่วนนี้ควรมีไว้อย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
  • บัญชีเงินออมสำหรับระยะสั้นถึงระยะกลาง เก็บไว้เป็นเงินสำหรับต่อยอดหรือใช้ประโยชน์สำหรับแผนอันใกล้    เช่น ผ่อนที่อยู่อาศัย ผ่อนรถ สร้างครอบครัวเป็นของตัวเอง หรือเดินทางท่องเที่ยวตามเป้าหมาย
  • บัญชีเงินออมสำหรับระยะยาว เก็บไว้เป็นเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณหรือภายภาคหน้า โดยควรออมเงินส่วนนี้อย่างสม่ำเสมอ และไม่หยิบมาใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
  • บัญชีเพื่อการลงทุน เก็บเงินก้อนนี้ไว้ต่อยอดทางการเงินให้งอกเงยต่อไป โดยอาจเก็บออมครั้งละเล็กๆ น้อยๆ เมื่อได้เงินจำนวนหนึ่งแล้ว จึงถอนเงินก้อนนั้นออกมาลงทุนตามที่ตั้งใจ
  1. ตั้งหักบัญชีอัตโนมัติ
  • วิธีนี้จะช่วยสร้างวินัยการใช้จ่ายและออมเงินได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยให้ชำระรายจ่ายจำเป็นในแต่ละเดือนได้อย่างถูกต้องและตรงเวลา
  • ทั้งยังทราบรายละเอียดค่าใช้จ่ายชัดเจน ทำให้จัดสรรเงินออมได้อย่างสม่ำเสมอ
  1. เหลือเงินจากรายจ่ายให้เก็บไว้
  • แม้ว่าเราจะจัดสรรสัดส่วนเงินออมและรายจ่ายไว้ชัดเจนแล้ว แต่หากเรามีเงินเหลือจากการใช้จ่าย ก็สามารถนำเงินส่วนนั้นมาเก็บออมเพิ่มได้ในแต่ละเดือน
  • ซึ่งมีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการหยอดเหรียญออมเงิน หรือแม้แต่การทดธนบัตร 50 บาท เก็บไว้ ไม่ใช้จ่ายออกไป

ตัวช่วยการออมการลงทุนสำหรับคนวัยเริ่มต้นทำงาน 

บัญชีเงินฝากปลอดภาษี

  • บัญชีเงินฝากปลอดภาษี คือ บัญชีเงินฝากประจำรูปแบบหนึ่ง เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ
  • โดยความน่าสนใจที่แตกต่างจากการฝากประจำและบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป คือ มีดอกเบี้ยสูงกว่า และ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินฝาก
  • หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าการออมเงินกับบัญชีออมทรัพย์แบบทั่วไป ถ้าเรามีดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
  • บัญชีฝากประจำปลอดภาษีก็ตัวเลือกที่น่าสนใจ ไม่น้อยสำหรับวัยเพิ่งเริ่มต้นทำงาน เพราะไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้
  • โดยบัญชีเงินฝากปลอดภาษีสามารถเปิดได้เพียงคนละ 1 บัญชีเท่านั้น

สลากออมทรัพย์

  • การลงทุนในสลากออมทรัพย์ถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะมีการรับประกันเงินต้น
  • โดยเราจะได้รับดอกเบี้ยเช่นเดียวกับการฝากเงิน และมีโอกาสได้ลุ้นรางวัลตลอดจนกว่าจะขายสลากคืน
  • ความแตกต่างระหว่างสลากออมทรัพย์กับการฝากเงิน คือ เรามีโอกาสลุ้นรางวัลทุกเดือน ถ้าโชคดีก็มีสิทธิถูกรางวัลเลขท้ายคล้าย ๆ กับถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล
  • เหมาะกับคนเพิ่งเริ่มต้นลงทุน แต่จะถอนคืนได้ก็ต่อเมื่อครบอายุตามที่ธนาคารกำหนด เช่น 3 ปี หรือ 5 ปีจึงต้องวางแผนให้ดี ๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุนรวม

  • กองทุนรวมต่างกับการออมในบัญชีฝากประจำปลอดภาษีและสลากออมทรัพย์ ตรงที่มีการลงทุนให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่นโยบายที่เสี่ยงต่ำมาก ๆ อย่างกองทุนรวมตลาดเงิน ไปจนถึงนโยบายที่เสี่ยงสูงมาก ๆ อย่างกองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือก
  • เนื่องจากลงทุนได้ทุกประเภทสินทรัพย์ ทำให้เรามีโอกาสได้ผลตอบแทนที่มากกว่า แต่ก็ต้องเข้าใจความเสี่ยงที่มีโอกาสขาดทุน และไม่มีการรับประกันเงินต้น

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund

  • หากถ้าบริษัทคุณมีสวัสดิการตัวนี้เพราะกฎหมายแรงงาน ไม่ได้บังคับให้มี แต่บริษัทคุณมีก็แสดงว่าให้ความใส่ใจพนักงานและเห็นว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่ควร รักษาไว้นาน ๆ เป็นกองทุนที่นายจ้าง และลูกจ้าง ร่วมกันจัดตั้งขึ้น
  • โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมยามเกษียณหรือหยุดทำงาน และสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
  • โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า เงินสะสม
  • โดยแบ่งออมจากเงินเดือน ของเราในทุก ๆ เดือน และนายจ้างจ่ายเงินอีกส่วนหนึ่งเพื่อช่วยออม เรียกว่า เงินสมทบ
  • ซึ่งทั่วไปแล้ว ทั้งลูกจ้างและนายจ้างสามารถเลือกสะสมเงินและสมทบเงินได้ตั้งแต่ 2%-15% ของเงินเดือน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและนโยบายของบริษัท

การทำงานฟรีแลนซ์ต้องบริหารเงินยังไงให้อยู่รอดอย่างมั่นคง

ปัจจุบันเมื่อโลกดิจิตอลเข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต เด็กรุ่นใหม่เติบโตและคุ้นเคยกับเทคโนโลยี ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานที่หลากหลายคงหนีไม่พ้นการทำงานด้านดิจิตอล จึงต้องรู้จักบริหารเวลา บริหารเงินเอง เพื่อให้ชีวิตอยู่รอดได้นานๆ พร้อมสร้างความมั่นคงในชีวิต มีวิธีอะไรบ้างดังนี้

เขียนรายจ่าย มาก่อน รายรับ

  • คนทั่วไปที่มีรายได้ประจำจะคำนึงถึงรายรับก่อนรายจ่าย แต่ชาวฟรีแลนซ์นั้น ให้คำนึงรายจ่ายก่อนรายรับ เพราะเรามีรายจ่ายถาวร แต่ไม่มีรายได้ถาวร
  • การทำงบจะช่วยให้รู้ว่าควรใช้จ่ายและรับงานในแต่ละเดือนอย่างไร ดังนั้น จึงควรเขียนรายรับ-จ่าย ที่มี
  • ทำรายการล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 6 เดือนหรือ 1 ปี โดยระบุจำนวนเงิน และวันที่จะได้รับเงิน และต้องจ่ายเงินในแต่ละเดือนไหนให้ชัดเจน จะได้รู้สถานะการเงินของตัวเองตลอดเวลา

กำหนดเงินเดือนให้ตัวเอง

  • ฟรีแลนซ์ แปลว่า อิสระ นอกจากจะอิสระทางด้านเวลา รายได้ของคุณก็เป็นอิสระด้วยเช่นเดียวกัน
  • ไม่มีใครกำหนดรายได้ว่าคุณต้องการเท่าไรนอกจากตัวคุณเอง การกำหนดเงินเดือนให้ตัวเอง ทำให้การประเมินรายจ่ายง่ายมากขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มีวินัยในการใช้เงิน

เงินสำรอง “ตัวช่วย” ยามเงินหด

  • ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน คุณควรเตรียมเงินถุงเงินถังให้เพียงพอขั้นต่ำ 6 เดือน – 1 ปี เพราะไม่มีใครรู้ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร และไม่มีใครรู้ว่าวิกฤตจะมาเมื่อไร
  • คุณควรมองหารายได้หลายช่องทาง เพื่อรองรับในวันที่คุณไม่สามารถทำงานได้ ชีวิตที่ไม่มีแพลนบี ก็คือชีวิตที่ไม่มีแผนสำรอง

ตัดกำไร 10 – 20% เพื่อออมลงทุน

  • ต้นทุนของการทำงานฟรีแลนซ์มีแค่เรื่องเวลา ยังมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน และความเสื่อมของคอมพิวเตอร์
  • เมื่อหักต้นทุนไปแล้ว เงินที่เป็นกำไร ควรแบ่งออมส่วนหนึ่ง เพื่อเป้าหมายทางการเงินต่างๆ ในอนาคต
  • ศึกษาการลงทุนไปพร้อมกันไปด้วย จะได้วางเงินให้งอกเงย เพราะการฝากไว้แค่ออมทรัพย์ คงไม่รอดแล้วในยุคนี้

อดใจเป็น ไม่สร้างสุขสั้นแต่ทุกข์ยาว

  • สิ่งที่ชาวฟรีแลนซ์แตกต่างจากการทำงานประจำคือได้เงินมา ก็จะเป็นเงินก้อนยักษ์ใหญ่
  • อำนาจการจับจ่ายใช้สอยอยู่ในมือ อาจจะทำให้ซื้อของที่อยากได้โดยขาดความยับยั้งช่างใจ
  • การซื้อของชิ้นใหญ่ควรมีการคำนวณถึงเงินในระยะยาวด้วยว่า จะเพียงพอในอนาคตหรือไม่

ประกัน” ต้องมีไว้ อุ่นใจยามเจ็บป่วย

  • เมื่อไม่มีเพดานรายได้ ความขยันจะมีส่วนช่วยให้คุณทำงานหนัก เพื่อให้มีรายได้มากยิ่งขึ้น และแน่นอน
  • การทำงานหนัก แลกมาด้วยต้นทุนเรื่องสุขภาพ วันใดที่เจ็บป่วย ไม่ใช่วันที่คุณเสียแค่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล แต่เป็นวันที่งานคุณหยุดชะงัก และไม่มีรายได้
  • ดังนั้น การทำประกันสุขภาพ เพื่อกันไม่ให้เงินสำรองของคุณรั่วไหลก็เป็นแผนที่ควรทำ

ไม่ละเลยแผนเกษียณ

  • “แผนเกษียณ” เรื่องสำคัญ และเป็นแผนที่คุณไม่ควรละเลย ควรแบ่งเงินเพื่อเป้าหมายเกษียณด้วย
  • สำหรับมือใหม่ การลงทุนในกองทุน RMF และ SSF เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีมืออาชีพคอยบริหารเงินให้เรา จะได้ไม่ลำบากในยามแก่ชรา

การบริหารเงินสำหรับผู้ไม่มีรายได้ประจำควรทำยังไง

ยุคนี้หลายคนหันมาทำงานเป็นฟรีแลนซ์มากขึ้น เพราะต้องการความอิสระและเวลาที่สามารถบริหารจัดการการทำงานของตัวเองได้ตามใจชอบ ดังนั้นควรมีความสามารถในการบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้มีเงินใช้ทุกช่วงเวลาควรทำตามวิธีดังนี้

ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

  • เราจะต้องสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองเสียก่อน วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การจดบัญชีรายรับ-รายจ่ายของเรา
  • เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนในอนาคตว่า เราจะต้องเพิ่ม ลด หรือปรับการใช้จ่ายของเราตรงไหนและอย่างไร

อาศัยความรวดเร็ว

  • ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีและบริการต่าง ๆ มากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เรา การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์
  • เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของคนทำงานฟรีแลนซ์ เพราะสามารถตรวจสอบยอดเงินโอนจากลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย

สร้างความปลอดภัยให้ตัวเอง

  • การเป็นคนทำงานฟรีแลนซ์อาจมีความลำบากอีกอย่าง เมื่อเราไม่มีนายจ้างประจำ ก็หมายความว่าเราไม่มีสวัสดิการเช่นกัน
  • หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นจนทำให้เราไม่สามารถทำงานต่อได้ เราก็จะไม่ได้รับเงินชดเชยจากที่ไหนเลย ยิ่งเรามีคนสำคัญและครอบครัวที่ต้องดูแล แค่คิดก็หนักใจแล้ว
  • เราควรมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพเพื่อสร้างสวัสดิการให้ตัวเอง นอกจากจะเป็นการคุ้มครองตัวเองแล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อคนรอบข้างของเราอีกด้วย

เตรียมเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

  • ควรเตรียมเงินสดสำรองเผื่อความไม่แน่นอนของชีวิต ต้องระวังเรื่องกระแสเงินสด
  • คนที่เป็นฟรีแลนซ์ควรเก็บออมเงินส่วนนี้เอาไว้ประมาณ 6 เท่าของรายได้ที่เราทำได้ต่อเดือน
  • หากเราบังเอิญไม่มีรายได้เข้ามา เราก็ยังสามารถใช้ชีวิตปกติต่อไปได้ระหว่างหางานต่อไปได้อีก 6 เดือนนั่นเอง

อุปสรรคในการออมเงิน

เมื่อเรามีการเก็บเงินไว้ใช้ในอนาคตแน่นอนว่าเมื่อเราเริ่มทำแรกๆจะยังไม่มีปัญหาอะไรทุกอย่างจะไปได้ด้วยดีแต่เมื่อเราทำไปได้สักระยะหนึ่งแล้วจะมีอุปสรรคเกิดขึ้น อุปสรรคที่ว่านั้นมีอะไรบ้างดังนี้

ไม่มีวินัยในการออมเงิน

  • สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้หลายๆคนไม่ประสบความสำเร็จในการออมเงินนั่นคือการไม่มีวินัยในการออม
  • ดังนั้นต้องเริ่มปรับพฤติกรรมการออมเงินก่อน และวิธีที่จะช่วยสร้างวิธีเก็บเงินได้มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่งคือใช้วิธีฝากเงินแบบประจำที่จะต้องฝากเงินเท่ากันทุกๆ เดือน เดือนละ 1 ครั้ง

ความต้องการ

  • ในยุคที่คำว่า ของมันต้องมี มาแรง ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายๆคนเอาเงินที่ควรนำไปออมมาใช้ซื้อของเหล่านี้ไปไม่น้อย
  • ซึ่งหากเราสามารถกำจัดความต้องการในจุดนี้ไปได้ จะทำให้มีเงินเหลือเพื่อมาออมเพิ่มขึ้นไม่น้อย

เงินเฟ้อ

  • เงินเฟ้อจะส่งผลให้สินค้าและบริการแพงขึ้น ทำให้เงินที่มีอยู่มีคุณค่าน้อยลง สิ่งนี้เราไม่สามารถจัดการเองได้ เพราะเกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น
  • แต่เราสามารถป้องกันอุปสรรคนี้ได้ด้วยการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าเงินที่เฟ้อก็จะสามารถป้องกันอุปสรรคในส่วนนี้ได้

เหตุการณ์ไม่คาดคิด

  • เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดนจะเกิดขึ้นแบบที่คุณไม่ได้ตั้งตัว เพราะอยู่นอกเหนือแผนที่วางเอาไว้ทั้งหมด เช่น เกิดอุบัติเหตุเจ็บป่วยด้วยโรค หรือไฟไหม้
  • ซึ่งเหตุการณ์ฉุกเฉินเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคการออมเงิน แต่เหตุการณ์เหล่านี้ก็มีวิธีที่สามารถป้องกันได้เช่นกัน นั่นคือ การทำประกันเอาไว้ป้องกันอุปสรรคเหล่านี้นั่นเอง

ออมอย่างไรให้ยั่งยืน

การออมนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้ชีวิตในปัจจุบัน แต่เราจะออมอย่างไรให้มั่นคง และยั่งยืนในระยะยาวละ เรามาดูไปพร้อมๆกันเลย

  1. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
  • จากที่ยกตัวอย่างมาในบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่า การทำบัญชีรายรับรายจ่ายนั้นสำคัญต่อการออมอย่างแน่นอน
  • ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่ช่วยในการทำรายรับรายจ่ายที่คุณไม่ต้องปวดหัวไปกับการจดบันทึกลงสมุด แถมยังแสดงสถิติและค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายของคุณได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
  1. แบ่งเก็บอย่างน้อย 10 – 20% จากรายได้
  • หลังจากได้เงินเดือนหรือมีรายได้จากช่องทางอื่นเข้ามา สิ่งแรกที่ควรทำคือ การหักเงินไปเก็บ 10 – 20% ของรายได้ในช่วงเดือนนั้นทันที
  •  เนื่องจากการรอเก็บจากเงินที่เหลืออยู่ในภายหลังอาจจะไม่เหลือเงินเก็บเลยก็ได้ โดยวิธีการเก็บเงินไม่ควรเก็บไว้กับบัญชีปกติที่คุณใช้อยู่
  • คุณควรมีบัญชีเงินฝากแยกเก็บโดยเฉพาะ จะเป็นการช่วยหักห้ามใจในการใช้เงินในส่วนที่ต้องการเก็บไปจนหมด
  1. ทำงบรายจ่ายประจำเดือน
  • นอกจากการเก็บออมทั่วไปแล้ว หากจะเก็บออมให้ยั่งยืนได้จริง เราจะต้องควบคุมรายจ่ายด้วย
  • ซึ่งทำได้โดยการตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เราต้องใช้ในแต่ละเดือน
  • วิธีการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำเดือนนั้น จะต่อยอดจากการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพราะบัญชีรายรับ-รายจ่ายจะช่วยให้คุณรู้ว่าในแต่ละเดือนคุณมีรายรับเท่าไรและมีรายจ่ายทางใดบ้าง
  • ให้คุณตั้งงบประมาณการออมไว้ก่อนรายจ่ายอื่นๆ ตามเป้าหมายหรือเพียง 10 – 20% ก็ได้ จากนั้นเงินที่เหลือจึงค่อยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ

สรุป

  • สำหรับคนที่ออมเงินไม่อยู่หรือใครที่กำลังมองหาวิธีการออมเงินอยู่
  • มาเริ่มได้ด้วยการสร้างวินัยการออมให้กับตนเอง ด้วยการตั้งเป้าหมายการออมและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
  • จะช่วยให้คุณเกิดความเคยชินไปกับการออมเงินด้วยตนเอง และออมให้ยั่งยืนด้วยการแบ่งออมก่อนใช้
  • ควบคุมรายจ่ายด้วยการตั้งงบประมาณรายเดือน คุณก็สามารถบรรลุเป้าหมายการออมได้
halo icon removebg preview

เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี

การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้