ปัจจุบันการออมเงินเป็นวินัยทางการเงินพื้นฐานที่ควรเริ่มฝึกตั้งแต่เด็ก การมีนิสัยการออมจะทำให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างดี และมีความมั่นคงในอนาคต เพราะความจำเป็นในการใช้ชีวิตของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน อายุจึงไม่ใช่ตัววัดเพียงอย่างเดียวที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรมีเงินเก็บเท่าไร ในบทความนี้เรามาดูสูตรการออมเงินเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการนำไปใช้ของใครหลายๆคนเราไปดูกันเลย
การออมเงินคืออะไร
การออมเงิน คือ การเก็บเงินไว้เพื่อใช้ในอนาคต โดยการตั้งเป้าหมายการออมเงิน และจัดการกับการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสม เพื่อให้ได้รับปริมาณเงินที่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เตรียมเงินเพื่อช่วยในการปรับตัวให้พร้อมสำหรับความเสี่ยงในอนาคต และเตรียมเงินไว้สำหรับโอกาสในอนาคต
- เงินออมก็คือ เงินที่เกิดจากการเก็บสะสมหรือแบ่งออกจากรายได้ แล้วจัดสรรเป็นส่วนต่างๆ เพื่อใช้จ่ายในอนาคตหรือเพื่อความมั่นคงของชีวิต ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการสะสมสิ่งของที่มีค่าเป็นตัวเงินอีกด้วย
- โดยเงินออมถือเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัวที่ดีมาก ดังนั้นทุกคนจึงควรเรียนรู้และหมั่นออมเงินอย่างสม่ำเสมอ
การออมเงินมีความสำคัญอย่างไร
การออมเป็นปัจจัยที่จะทำให้บรรลุจุดประสงค์ จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายไว้ นอกจากนี้เงินออมยังใช้สำหรับแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงของบุคคลได้ด้วย เงินออมมีความสำคัญดังนี้
ช่วยให้ครัวเรือนมีความมั่นคง
- เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินในครอบครัว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสมาชิกและเพื่อสะสมทรัพย์สินให้แก่สมาชิกของครอบครัว การออมทำให้ผู้ออมมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคต
ช่วยให้ครัวเรือนมีรายได้มากขึ้น
- โดยการนำเงินไปฝากธนาคารหรือ สถาบันการเงิน การซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือการซื้อหุ้นในธุรกิจต่างๆ จะทำให้ได้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ย เงินปันผลหรือกำไร
ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น
- โดยอาจนำเงินออมไปซื้อบ้าน รถยนต์ อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เงินออมของประชาชนส่วนหนึ่งรัฐบาลจะนำไปใช้พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
- เงินออมจะถูกนำไปใช้ในการลงทุนของ ภาคธุรกิจ การสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน
ช่วยลดปัญหาการพึ่งพาต่างประเทศ
- การพยายามส่งเสริมการออมของคนไทย จะช่วยลดปัญหาการพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
สูตรออมเงิน คืออะไร
สูตรการออมเงินคือ การเก็บเงินไว้เพื่อใช้ในอนาคต ซึ่งสามารถทำได้โดยการบันทึกรายได้คงเหลือหลังจากจ่ายค่าใช้จ่ายแล้ว และใช้ส่วนของเงินคงเหลือเพื่อออมไว้ในอนาคต
- สูตรการออมเงิน เป็นเหมือนคัมภีร์เคล็ดวิชาลับที่หลายคนต่างออกตามหาเท่าไหร่ก็ไม่เจอสักที
- แต่สิ่งที่ทำให้ยากก็คือปัจจัยส่วนตัวของแต่ละคน บางคนมีความจำเป็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงยกตัวอย่าง สูตรการออมเงิน 50/30/20
สูตรการออมเงิน 50/30/20
สูตรออมเงินแบบ 50/30/20 เป็นการแบ่งรายจ่ายออกเป็นส่วน ๆ ตามความสำคัญ จะแบ่งรายจ่ายต่อเดือนออกเป็น 3 ส่วนคือ
- ก้อนแรก 50 เปอร์เซ็นต์เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องจ่าย
- ก้อนที่สอง 30 เปอร์เซ็นต์ไว้สำหรับความสุขส่วนตัว
- ก้อนที่สาม 20 เปอร์เซ็นต์ไว้สำหรับเงินฉุกเฉินและเงินออม
โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้
ก้อนแรก 50 เปอร์เซ็นต์เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องจ่าย
- สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่กันส่วนแบ่งไว้เยอะที่สุดถึงครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- สูตรนี้เอาไว้ใช้ไปกับสิ่งจำเป็นที่ต้องจ่าย อย่างเช่น ค่าเช่าบ้าน ค่างวดคอนโด ค่างวดรถยนต์ ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร เป็นต้น
ก้อนที่สอง 30 เปอร์เซ็นต์ไว้สำหรับความสุขส่วนตัว
- สิ่งที่ต้องการหรือความสุขส่วนตัวนั้น สูตรนี้อนุญาตให้ใช้ได้ถึง 30% ของรายจ่าย ดูเหมือนน้อยนะแต่ที่จริงมันเยอะมาก
- ลองคิดถ้าคุณมีเงินเดือน 30,000 บาท คุณสามารถจ่ายสุรุ่ยสุร่ายได้ถึง 9,000 บาท
ก้อนที่สาม 20 เปอร์เซ็นต์ไว้สำหรับเงินฉุกเฉินและเงินออม
- ส่วนของเงินออมเผื่อฉุกเฉินหรือไว้ใช้ยามเกษียณ
- เงินตรงนี้ต่อเดือนอาจจะได้น้อย แต่ถ้าหมั่นไว้ในธนาคาร กองทุน พอร์ทหุ้น เก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อย นานวันเข้ามันก็จะมีมูลค่าขึ้นมาเอง
และนี้ก็เป็นการยกตัวอย่างสูตรการออมเงินเพียงหนึ่งสูตรให้คุณได้ลองพิจารณาหรือบางคนอาจจะนำไปเป็นตัวอย่างในการออมก็ได้
สูตรคำนวนการออมเงิน สำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งเป้าหมาย
- สูตรการคำนวนการออมเงินจะช่วยในส่วนของการตั้งเป้าหมาย สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าจะตั้งเป้าหมาย
- ทั้งนี้เงินออมทั้งหมดไม่จำเป็นต้องเก็บในรูปแบบเงินสด สามารถแบ่งเงินไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ ตามเป้าหมายในการออมและความเสี่ยงที่เหมาะสมของแต่ละคน
โดยมีตัวอย่างสูตรคำนวณการออมง่ายๆดังนี้
จำนวนเงินที่ควรออม = 2 x (อายุปัจจุบัน – อายุเริ่มทำงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน + เงินเดือนที่เริ่มงาน)
ยกตัวอย่าง
- นายสายน้ำเริ่มทำงานเมื่ออายุ 22 ปี ได้รับเงินเดือนในเดือนแรก 20,000 บาท/เดือน ปัจจุบันนายสายน้ำอายุ 32 ปี และทำงานแล้ว 10 ปี มีรายได้ในปัจจุบัน 50,000 บาท/เดือน
- จากสูตรคำนวณในเบื้องต้น นายสายน้ำควรมีเงินออม 1,400,000 บาท
ก็คือ 2 x (32 – 22) x (50,000 + 20,000) =1,400,000 บาท
สูตรการคำนวณข้างต้นเป็นตัวเลขที่สมมติมาเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงของทุกคน แต่อย่างไรก็อยากให้ลองหัดวางแผนทางงานเงินได้แบบง่าย
สูตรออมเงินแต่ละวัย เก็บยังไงให้สำเร็จ
อายุและวัยต่างๆของแต่ละคนจะมีภาระค่าใช้จ่ายรวมไปถึงการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน แต่ละช่วงอายุจะเก็บเงินยังไงให้สำเร็จเรามาดูไปพร้อมๆกันเลย
ช่วงอายุ 20+ เริ่มทำงาน
- เป็นช่วงวัยที่มีรายได้อย่างเงินเดือนที่แน่ชัด และมีเวลาในการเก็บเงิน หากวางแผนออมเงินเร็ว
- ไม่ควรสร้างหนี้สินที่เกินกำลังของตัวเอง บริหารรายรับรายจ่ายให้พอดี และตั้งเป้าหมายสำหรับการเก็บเงินเพื่ออนาคตสำรองไว้ เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ
- สูตรออมเงิน = ออมเงิน 10 % – 20% ของรายได้
ช่วงอายุ 30+ สร้างครอบครัว
- เป็นช่วงวัยที่มีความมั่นคงในเรื่องหน้าที่การงานแล้ว แต่ก็มีภาระค่าใช้จ่ายในการสร้างฐานะเช่น ผ่อนบ้าน,ผ่อนรถ
- แม้รายได้จะเพิ่มมากขึ้นแต่รายจ่ายก็เพิ่มสูงเช่นกัน ควรแบ่งเงินออมไว้สำหรับการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มรายได้ให้มั่นคง
- โดยลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยถึงปานกลาง เพื่อให้ได้เงินปันผลหรือดอกเบี้ยที่สูง เพื่อเพิ่มเงินออมในอนาคตอีก
- สูตรออมเงิน = ออมเงิน 20% – 30% ของรายได้
ช่วงอายุ 40+ สร้างความมั่นคง
- เป็นช่วงวัยที่มีรายได้เยอะและมั่นคง ภาระหนี้สินบางอย่างหมดไปเช่น บ้านหรือรถ แต่ภาระเรื่องการศึกษาลูกยังคงมีอยู่
- การออมเงินในวัยนี้อาจเพิ่มมากขึ้น จากเงินส่วนที่ต้องผ่อนสินทรัพย์ต่างๆหมดไป โดยออมเพิ่มมากขึ้นในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อวางแผนเกษียณงาน
- สูตรออมเงิน = ออมเงิน 30% – 40% ของรายได้
ช่วงอายุ 50+ เข้าสู่เกษียณ
- เป็นช่วงวัยที่เข้าสู่เกษียณแล้ว ภาระหนี้สินไม่มีทั้งบ้าน,รถ,การศึกษาลูก จึงมีเงินเหลือออมเพิ่มมากขึ้น เพราะเงินจากการลงทุนในช่วงวัยที่ผ่านมา จะเพิ่มพูนมากขึ้น
- หากคนไหนมีแพลนจะทำอะไรแล้วใช้เงินก็มีเงินจากตรงนี้เอามาใช้ได้เลย ส่วนแผนการออมเงินควรออมเพิ่มมากขึ้นระยะยาว
- สูตรออมเงิน = ออมเงิน 40% – 50% ของรายได้
อายุ 60+ หลังเกษียณ
- เป็นช่วงวัยที่พักผ่อนอย่างแท้จริง ไม่มีภาระด้านใดๆแล้ว ใช้ชีวิตในบั้นปลายชีวิต จากเงินเก็บ
- ซึ่งวัยนี้สามารถเก็บเงินต่อไปเรื่อยๆได้ แต่ลดจำนวนเงินออมลง เพื่อใช้จ่ายเงินตามที่ต้องการในช่วงบั้นปลาย
- สูตรออมเงิน = ออมเงิน 20% – 30%
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างของสูตรการคำนวณเงินออมในแต่ละช่วงอายุ ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางหรือตัวอย่างในการออมเงินของท่านได้
วิธีการออมเงิน ที่ใช้ได้ผลที่สุด
การออมเงินที่ใช้ได้ผลที่สุด คือการจัดการกับเงินให้เหมาะสม โดยใช้สูตรการออมเงิน และจัดการกับเงินให้เป็นปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้เตรียมเงินไว้ในอนาคต นอกจากนี้ การออมเงินที่ใช้ได้ผลที่สุดอาจแตกต่างกันตามสถานการณ์และความต้องการของแต่ละบุคคล
เช่น การออมเงินในรูปแบบกองทุนหรือหุ้น อาจเป็นตัวเลือกที่ใช้ได้ผลที่สุดสำหรับคนที่มีความต้องการลงทุน แต่การออมเงินแบบเงินฝากธนาคาร อาจเป็นตัวเลือกทีดี โดยสามารถทำตามวิธีดังนี้
เก็บก่อนใช้ ได้เปรียบกว่าเห็น ๆ
- หากเงินเดือน 20,000 ให้กันเงินไว้ 2,000 (คิดเป็น 10% จากเงินเดือน) จากนั้น เงินเหลือเท่าไหร่ ค่อยหักลบหนี้สิน
- รายจ่ายคงที่ในแต่ละเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ แล้วจึงเหลือเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน
- เราจะมีเงินเก็บที่แน่นอนในทุก ๆ เดือน อย่างน้อย ๆ ก็ได้เดือนละ 2,000 บาท ปีหนึ่งก็ได้มา 24,000 บาท
เปิดบัญชีฝากประจำ
- การฝากประจำ คือ ต้องฝากเงินในจำนวนเท่าๆ กันทุกเดือน ในระยะเวลาที่กำหนด เงินจำนวนนี้จะไม่สามารถถอนออกก่อนกำหนดเวลาได้
- ระยะเวลาของการฝากประจำก็มีทั้งแบบระยะสั้น 3 เดือน – 1 ปี และแบบระยะยาว 2-3 ปี
- สำหรับคนที่เป็นคนเก็บเงินไม่ค่อยอยู่ แนะนำให้ลองออมเงินด้วยวิธีนี้ด ทั้งได้เงินออม ได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย แถมยังได้ฝึกวินัยในตนเองเพิ่มอีกด้วย
หักบัญชีอัตโนมัติ
- การตั้งหักบัญชีอัตโนมัติถือเป็นตัวช่วยด้านวินัยอย่างหนึ่ง ให้เราสามารถชำระค่าบริการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและตรงต่อเวลา
- ซึ่งการที่เราสามารถชำระค่าบริการต่างๆ ได้ตรงเวลา นอกจากจะไม่โดนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมชำระล่าช้าแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างเครดิตและความน่าเชื่อถือให้กับตัวเราเองอีกด้วย
มีเศษเหรียญ ให้หยอดกระปุก
- ลองหากระปุกออมสินน่ารักๆ มาสร้างแรงบันดาลใจสักอัน คอยสำรวจกระเป๋าสตางค์ของเราว่า มีเศษเหรียญอยู่บ้างไหม ถ้ามีก็ รีบหยอดกระปุก
- ถ้าวันไหนเกิดอยากจะให้โบนัสตัวเอง ก็ลองเพิ่มจากเศษเหรียญเป็นแบงก์ 20 บ้างก็ได้
แบงก์ 50 เป็นของต้องห้าม
- แบงก์ 50 ค่อนข้างจะเป็น Rare Item เพราะมันมีน้อยกว่าจำนวนแบงก์อื่นๆ ที่เราใช้กัน
- การที่เราจะเก็บมันไว้โดยไม่ใช้ ก็ไม่น่าจะกระทบกับชีวิตประจำวันของเรามากนัก
- ให้มองว่า เจ้าแบงก์สีฟ้านี้เป็นของต้องห้าม หมายถึง ต้องห้ามนำออกมาใช้เด็ดขาด นั่นแหละ
ช้อปไปเท่าไหร่ ออมคืนเท่านั้น
- ข้อนี้เป็นการปรับนิสัยการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของตัวเองได้ดีเลยนะ มองอีกแง่ มันเหมือนกับการ ยืมเงินตัวเองออกมาใช้ก่อน แล้วคืนให้ทีหลัง
- หลักการเดียวกับการยืมเงินเพื่อนเลย เพียงแต่นี่คือเงินตัวเอง ถ้าอยากช้อปปิงมาก ก็ช้อปได้เลย แต่ซื้ออะไรไปเท่าไหร่ จดไว้ แล้วหามาจ่ายคืนทีหลัง
- แม้จะเป็นเงินตัวเอง ก็ห้ามอ่อนข้อ ทำให้เหมือนเราติดหนี้เพื่อน ต้องรีบใช้คืน อย่าผัดวันประกันพรุ่งเด็ดขาด
เงินเหลือเท่ากับออม
- สมมติว่า สิ้นเดือนเรามียอดคงเหลือในบัญชีอยู่ 1,530 บาท ให้ย้ายเงินส่วนนี้ไปใส่บัญชีเงินออม อาจจะถอนออกเป็นเลขกลม ๆ เช่น 1,500 บาท ไปเก็บออมไว้
- พอขึ้นเดือนใหม่ เงินเดือนเข้ามาอีก 15,000 บาท + ของเก่าคงค้าง 30 บาท รวมเป็น 15,030 บาทเพื่อใช้จ่ายในเดือนนั้น ๆ
- ถือเป็นการบังคับตัวเองให้ใช้จ่ายด้วยวงเงินที่จำกัดเท่า ๆ กันในแต่ละเดือน และลดการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายลงได้
สูตรออมเงิน 365 วัน
“ออมเงิน 365 วัน” คือ การออมเงินในรูปแบบที่ออมเงินทุกวัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้เตรียมเงินไว้ในอนาคต โดยใช้จำนวนเงินที่เหมาะสม โดยไม่ต้องตั้งเป้าหมายออมเงินเฉพาะ แต่อาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความต้องการในการออมเงินเฉพาะจุด หรือคนที่มีรายได้น้อย
สูตรการออมที่ 1 ตารางออมเงินรายวัน เริ่มต้น 1 บาท
วิธีในการออมเงิน
- เริ่มต้นออมเงิน 1 บาท จากนั้นบวกเพิ่มไปอีกวันละ 1 บาท
- ยกตัวอย่างเช่น วันที่ 2 เก็บ 2 บาท วันที่ 3 ก็ 3 บาท เรื่อยๆ
- เมื่อครบ 365 วัน จะมีเงินออมทั้งหมดถึง 66,795 บาท
สูตรการออมที่ 2 ตารางออมเงินรายสัปดาห์ เริ่มต้น 10 บาท
วิธีในการออมเงิน
- คล้ายกับวิธีแรก แต่เปลี่ยนจากรายวันเป็นรายสัปดาห์แทน เริ่มต้น 10 บาท ในสัปดาห์แรก
- บวกเพิ่มอีก 10 บาทในสัปดาห์ถัดๆ ไป จนครบ 52 สัปดาห์
- จะมีเงินออมทั้งหมด 13,780 บาท วิธีนี้จะผ่อนคลายมากกว่าวิธีแรกเพราะไม่ได้กำหนดว่าต้องออมทุกวัน ไม่หักโหมจนเกินไป เหมาะกับมือใหม่หัดออม
สูตรการออมที่ 3 การออมเงิน 10% ของเงินที่ใช้ในทุกๆ วัน
วิธีในการออมเงิน
- กำหนดค่าใช้จ่ายรายวัน หรือบันทึกรายจ่ายประจำวันว่าใช้เท่าไหร่ จากนั้นให้หัก 10% ของเงินนั้นทุกวัน
- ยกตัวอย่างเช่น วันจันทร์ใช้เงินไปทั้งหมด 300 บาท ก็เก็บ 30 บาท หรือวันพุธใช้เงินไป 500 บาท ก็เก็บ 50 บาท
- วิธีนี้จะยืดหยุ่นกว่าสองวิธีแรก เพราะหักเป็นเปอร์เซ็นต์แทนที่จะกำหนดจำนวนแน่นอน ยิ่งใช้เงินเยอะก็จะยิ่งเก็บเยอะตาม
วิธีออมเงินนักเรียน
การออมเงินของนักเรียน ควรเริ่มเร็วๆ เพื่อเตรียมเงินไว้ในอนาคต และเตรียมเงินให้พร้อมสำหรับการเล่าเรียน ค่าเรียน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นักเรียนควรเริ่มต้นการออมเงินโดยเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร และตั้งเป้าหมายการออมเงินเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ โดยมีหลักการและวิธีดังนี้
ดูรายรับ-รายจ่าย ในแต่ละวัน
- วิธีการเก็บเงินนั้นเริ่มต้นจากการ ทำรายรับ-รายจ่าย ถ้าหากเราทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกวันเป็นประจำ ใส่รายละเอียดลงไปให้ครบถ้วน
- บางคนอาจจะได้รับเงินเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ก็ใส่ไปตามวันที่เราได้รับเงิน
- หากใครได้รับเงินเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน ให้ลองเฉลี่ยดูว่า ในแต่ละวัน เรามีรายรับเฉลี่ยอยู่วันละเท่าไหร่ และในแต่ละวันต้องลงรายละเอียดของรายจ่ายด้วย ว่าเราใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง
- เพื่อดูว่าในวันหนึ่ง เราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง หากค่าใช้จ่ายอันไหนที่พิจารณาแล้วว่าไม่จำเป็น ก็อาจจะต้องตัดออกเพื่อให้เราสามารถเก็บเงินเพิ่มมากขึ้น
แบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วน
- ลองแบ่งให้ชัดเจนเลยว่า เงินที่เราจำเป็นต้องใช้หลัก ๆ ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง แบ่งเงินส่วนนี้ไว้เป็นส่วนแรกที่เราต้องใช้
- ส่วนถัดมาเป็นเงินที่ต้องนำมาเก็บเท่านั้น โดยอาจจะต้องมีการตั้งเป้าหมายด้วยว่า เงินหมื่นที่เราจะเก็บนี้ จะนำไปทำอะไรบ้าง
- หากมีเป้าหมายหลายอย่าง ก็อาจจะแบ่งเก็บแยกเป็นหลายๆส่วนได้ตามที่เราต้องการ
เก็บเงินติดตัวเท่าที่ใช้
- การมีเงินติดตัวเท่าที่เราจำเป็นต้องใช้ จะช่วยให้เราไม่จ่ายเงินเกินที่กำหนดไว้ พยายามใช้เงินในแต่ละวันให้เท่า ๆ กัน หรือใช้น้อยลงได้ยิ่งดี แต่ไม่ต้องฝืนตัวเองมาก
- ถ้าปกติเรากินขนมเป็นประจำทุกวัน ก็อาจจะลดขนมในบางวัน หรือ การห่อข้าวไปกินที่โรงเรียน
- จะช่วยให้เรามีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมที่วางแผนไว้ แค่นี้เงินหมื่น ก็อยู่ไม่ไกลแล้ว
เก็บเศษเหรียญ หรือ แบงค์ 20
- เมื่อเรากำหนดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละวันแล้ว หากวันไหนมีเศษเหรียญเหลือ
- ให้นำไปเก็บแยกไว้คนละส่วนกับเงินที่เราแยกไว้ในตอนแรก เพราะเงินส่วนนี้เป็นเงินส่วนที่เราปันส่วนไว้สำหรับซื้อของที่จำเป็น
- เพราะฉะนั้น การเก็บเงินส่วนนี้ไว้ คือนำมาเก็บเผื่อว่าหากวันไหนจำเป็นต้องใช้ขึ้นมา
- เราอาจแบ่งเงินส่วนนี้ออกมาใช้ได้ โดยที่ไม่ต้องไปยุ่งกับเงินที่แบ่งเก็บไว้
หารายได้เสริม
- การเก็บเงินอย่างเดียวอาจไม่รวดเร็วทันใจ เพราะฉะนั้นการหารายได้เสริมเป็นอีก 1 ตัวเลือกที่สำคัญมากในการมีเงินเก็บ
- นอกจากจะทำให้เงินเก็บเราเพิ่มอย่างรวดเร็วแล้ว ในส่วนของเงินใช้จ่าย ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
- ในยุคนี้เด็กนักเรียนสามารถหารายได้เสริมได้ง่ายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน เนื่องจากความไวของอินเทอร์เน็ต
- ทำให้การหารายได้นั้นมีทางเลือกที่หลากหลาย ลองประเมินความสามารถของตัวเองว่าสามารถสร้างรายได้จากอะไรได้บ้าง เช่น บางคนอาจจะถนัดทำงานพิเศษอย่างการสมัครเป็นพนักงาน Part-time บางคนมีความสามารถทางด้านศิลปะ ก็สามารถวาดรูปขายได้
ใช้ Cloud Pocket ในการช่วยจัดการเงิน
- ในบรรดาวิธีการทั้งหมดที่กล่าวมาจะง่ายขึ้นมากกว่าเดิม ถ้าหากใช้ Cloud Pocket เป็นตัวช่วยในการจัดการเงิน
- ยิ่งในวัยเรียนเรา มีเรื่องให้ทำเยอะแยะอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบ้านที่โรงเรียน หรือที่เรียนพิเศษ การมานั่งจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายแบบเดิมๆ อาจทำให้เริ่มท้อจนไม่สามารถเก็บเงินตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
ข้อดีของการมีเงินออม
- เพิ่มความมั่นคงในชีวิต
- เราไม่รู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ยกตัวอย่างเช่นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ หลายคนต้องตกงาน
- ถ้าหากเราเก็บออมไว้อย่างน้อยๆ ก็จะช่วยให้เรามีเงินทุนสำรองในการใช้ชีวิต มีเงินเพียงพอสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
- เมื่อล้มอย่างน้อยก็ยังมีเบาะมารองไว้ ไม่ทำให้เราต้องเจ็บมาก
- ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและอิสระ
- เมื่อมีเงินออมพอประมาณก็จะทำให้เราเบาใจและวางใจได้ว่า ในอนาคตเราจะมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าบ้าน ค่ารถ หรือค่าจัดงานแต่งงาน
- เราก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ ซื้อสิ่งของเครื่องใช้ กินอาหารและทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับฐานะ ซึ่งจะทำให้ชีวิตเรามีความสุข
- สามารถใช้เงินออมต่อยอดหารายได้เพิ่ม
- หากเรามีเงินออมมากพอ ก็สามารถแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการลงทุนทำธุรกิจหรือลงทุนในกองทุนต่างๆ
- รวมทั้งการเล่นหุ้นที่จะทำให้เรามีรายได้เข้ามาอีกช่องทางหนึ่ง อย่างไรก็ตามก่อนจะลงทุนอะไรต้องศึกษาให้ดีๆ เพราะการลงทุนนั้นย่อมมีความเสี่ยง
- ไม่เป็นภาระของลูกหลาน
- หากเริ่มออมเงินเสียตั้งแต่วันนี้ เมื่อยามแก่ตัวลงไปเราก็จะไม่เป็นกลายภาระของลูกหลาน เพราะลูกหลานแต่ละคนก็มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่แตกต่างกันออกไป
- คงไม่มีใครที่สามารถช่วยเราได้ตลอดเวลา และทำให้เราสบายใจได้ว่าเราสามารถดูแลตัวเองได้แม้ในยามแก่เฒ่า
ประโยชน์ของการออมเงิน
การออมให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและพัฒนาชีวิตของทุกคน โดยมีประโยชน์ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ
- เป็นสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่และเปิดโอกาสให้คนพัฒนาชีวิตให้เจริญขึ้น หรือเป็นการประกอบอาชีพเพื่อนำไปแลกกับปัจจัยอื่น เช่น ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ เป็นต้น
ด้านสังคม
- เป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เอื้ออาทรต่อกัน เช่น การออมวันละ 1 บาท ของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องมือให้คนที่เป็นสมาชิกคิดเอื้ออาทรต่อเพื่อนสมาชิก ต่อผู้ด้อยโอกาส ถ้าได้ปฏิบัติกันจริงจังก็จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว และชุมชนได้
ด้านวัฒนธรรม
- เป็นกิจกรรมที่คนส่วนใหญ่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายมีสาระที่เป็นความรู้ ความคิด การปฏิบัติที่มีแบบแผนแน่นอน และทำอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดผลดีแก่ผู้ปฏิบัติ ดังนั้น พฤติกรรมการออม กิจกรรมการออม ผลการออมที่มีลักษณะเช่นนี้ จึงถือว่าเป็นวัฒนธรรมสำคัญได้
ด้านการศึกษา
- กระบวนการออมเป็นเรื่องของการเรียนรู้ การฝึกตนเอง ผู้ทำการออมต้องรู้หลักคิด หลักการและหลักปฏิบัติตลอดถึงผลลัพธ์ที่จะได้
- การที่ทุกคนได้เข้าสู่กระบวนการออมก็ถือได้ว่าเป็นการเข้าสู่กระบวนการทางการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง ผู้ที่มีส่วนร่วมในการออมนี้จะเรียนรู้ และได้รับประโยชน์ โดยจะพบว่าตนเองได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ด้านทรัพยากรธรรมชาติแวดล้อม
- ทรัพยากรที่อยู่รอบตัว เช่น ดิน น้ำ ป่า สัตว์ พืช เป็นต้น คือ ชีวิตทุกคน เพราะมนุษย์ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้
- จึงจะมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าทรัพยากรเหล่านี้ถูกทำลายก็ถือเป็นสัญญาณเตือนภัยที่เกิดขึ้นแก่มนุษย์แล้ว เพราะทุกคนอยู่ได้ก็ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้
ด้านการพัฒนาชีวิต
- การออมเป็นเรื่องการรู้ การคิด ซึ่งเป็นการเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเอง รู้จักความสัมพันธ์ระหว่าคนกับผู้คนในครอบครัว ในชุมชน เป็นต้น
สรุป
- นอกจากเงินออมในจำนวนที่เหมาะสมแล้ว ควรมีการวางแผนทางการเงิน เพื่อให้เงินออมงอกเงย
- เพื่อให้เกิดกความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง วางแผนอนาคตได้แน่นอน และมีเงินเก็บออมเพิ่มขึ้นทุกปี
- ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไร ทำงานมาแล้วกี่ปี การมีเงินออมเป็นเรื่องที่ควรทำร่วมกับมีการวางแผนทางการเงินที่ดี เพราะจะส่งผลให้อนาคตมั่นคง
- มีเงินทุนสำรองสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มีเงินใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และมีเงินลงทุนเพื่อการสร้างเป้าหมายชีวิตให้เป็นจริงได้แน่นอน
เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี
การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้