Sharpe Ratio คืออะไร ทำความรู้จักกับคำศัพท์ลงทุน

Sharpe Ratio คืออะไร

SharpeRatio หรือ ชาร์ปเรโช คือ การวัดผลตอบแทนของกองทุนว่ามีผลการบริหารจัดการมากกว่า อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยงปรับด้วยค่าความเสี่ยงของกองทุน (Standard Deviation) หรือไม่

Sharpe Ratio คืออะไร

โดยวัดกันว่า ถ้ากองทุนไหนที่มีค่า Sharpe Ratio ที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับอีกกองทุนหนึ่ง แสดงว่า กองทุนนั้นบริหารได้ผลตอบแทนดีกว่า ขณะที่ความเสี่ยงเท่ากัน

  • การวัดผลประกอบการของกองทุน ปัจจุบันมีการใช้วัดจำนวนมาก
  • การวัดผลประกอบการของกองทุนรวม
  • การวัดผลประกอบการของกองทุนหุ้น
  • การวัดผลประกอบการของกองทุนเก็งกำไรความเสี่ยง Hedge Fund
  • การวัดผลประกอบการของกองทุน Forex อย่าง MMF หรือ FTMO

Sharpe Ratio แปลความหมายว่าอย่างไร

Sharpe Ratio แปลความหมายค่อนข้างตรงไปตรงมา คือ การลงทุน 1 หน่วย จะให้ผลตอบแทนเท่ากับกี่หน่วย โดยที่เทียบเป็น 1 หน่วยทุกครั้ง

  • โดยค่าบวก ก็คือ ผลตอบแทนที่ได้เป็นบวก
  • Sharpe Ratio ที่เป็นลบก็ให้ผลตอบแทนเป็นการขาดทุน
  • ค่า Sharpe Ratio จึงมีค่าที่เป็นได้ทั้งบวกและลบ

สูตร Sharpe Ratio

Sharpe’s ratio คิดค้นโดย ศาสตราจารย์ William Forsyth Sharpe จากมหาลัย Stanford University โดยสามารถเปรียบเทียบได้หลายวิธี

  • เทียบกับค่า Sharpe ratio ของกองทุนนั้น ในช่วงเวลาก่อนหน้า
  • เปรียบเทียบค่า Sharpe ratio ของกองทุน กับกองทุนอื่น หรือตัวชี้วัดกลางอื่น เช่น การเคลื่อนไหวของตลาด

สำหรับสูตรการคำนวณ Sharpe Ratio เป็นดังต่อไปนี้

Sharpe Ratio = (อัตราผลตอบแทน – อัตราดอกเบี้ย)/ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกอง

  • อัตราผลตอบแทน คือ ผลตอบแทนของกองทุนนั้นคิดเป็น %
  • อัตราดอกเบี้ย คือ ผลตอบแทนของการลงทุนโดยไม่มีความเสี่ยง โดยมากเป็นดอกเบี้ยระยะยาว หรือ พันธบัตร
  • ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกองทุน คือ การแกว่งตัวขึ้นลงของกองทุนในแต่ละช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ใน 1 ปี และมีการคิดค่าตอบแทนเฉลี่ยอาจจะเป็นรายเดือน หรือรายวันแล้วแต่กำหนด

ตัวอย่างการคิด Sharpe Ratio

จากการสอบกองทุน Myforexfund ของการเทรด Forex จะมีค่า Sharpe Ratio ให้ดังตัวอย่าง สมมุติว่า ค่า Sharpe Ratio ของนาย A เท่ากับ 19.20 และ Sharpe Ratio ของนาย B เท่ากับ -4.30

  • สามารถตีความได้ว่า นาย A เสี่ยง 1 บาท มีโอกาสได้กำไร 19.20 บาท
  • ขณะที่นาย B เสี่ยง 1 บาท มีโอกาสขาดทุน 4.30 บาท

Sharpe Ratio ตัวอย่างการคิด

Sharpe Ratio ใน Myfxbook

ในการเทรด Forex สิ่งที่ทุกคนต้องรู้คือ การใช้งาน myfxbook เพราะว่า myfxbook นั้นจะมีการคำนวณ Sharpe RAtio ไว้ มันคือ ความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนของระบบ

Sharpe Ratio ใน myfxbook

ซึ่งการใช้งานก็ค่อนข้างตรงไปตรงมา เป็นการเปรียบเทียบกับระบบ และสามารถนำไปเเปรียบเทียบกับระบบอื่น ๆ หรือระหว่างเทรดเดอร์ได้ สำหรับคนที่ต้องการทำ Copy Trade Sharpe Ratio ตรงนี้มีประโยชน์มาก

Sharpe Ratio ไม่ได้ผลกับอะไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม Sharpe Ratio ไม่ใช่ยาวิเศษในการเทรด Forex มีระบบหรือรูปแบบการเทรดที่ Sharpe Ratio ใช้ไม่ได้ผล หรือไม่สามารถวัดอะไรได้เลยได้แก่

ระบบที่ไม่มีการตั้ง Stop loss

ระบบที่ไม่ตั้ง Stop losss มันคือ ระบบที่ความเสี่ยหายยังไม่เกิด นั่นคือ Sharpe ratio ที่คำนวณได้เป็นการคำนวณของอดีตที่ยังไม่ขาดทุน หรือ ยังไม่พอร์ตแตก ทำให้เราไม่สามารถเชื่อถือ Sharpe Ratio กับระบบที่ไม่มี Stop loss ได้

ระบบ Martingale

ระบบ Martingale เป็นการกำหนดขนาดที่ไม่คงที่และไม่แน่นอนสำหรับการเทรดเพราะว่ายิ่งผิดทาง ยิ่งเพิ่ม Lot ทำให้การเทรดขนาดใหญ่นั้น อาจจะได้กำไรน้อย ระบบ Martingale จึงทำให้ Sharpe Ratio ม่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ในระบบนี้ของ Sharpe Ratio ยังไม่มีการตั้ง Stop loss อีกเช่นกัน

 

Sharpe Ratio ติดลบ หมายความว่าอะไร

หลายครั้งที่เราจะเห็นค่า Sharpe Ratio ติดลบ นั่นหมายความว่า การบริหารจัดการของคนนั้น ไม่ดี การตีความ Sharpe Ratio ที่ติดลบจึงตีความดังต่อไปนี้

  • สมมุติ Sharpe Ratio ติดลบ 3 หมายความว่า เมื่อเราลงทุน 1 บาท เรามีโอกาสที่จะขาดทุน 3 บาท
  • ทำไมเราจึงขาดทุนได้เกินที่เราลงทุนกัน
  • นั่นก็เพราะว่า สินทรัพย์ใช้ Leverage สามารถขาดทุนได้เกินกว่าที่ตัวเองกำหนด ถ้าหากไม่ตั้ง Stop loss
  • นั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญของการเทรดที่ต้องมี Stop loss ของพอร์ตไว้

Treynor Ratio คืออะไร

Treynor Ratio หรือ เทรเนอร์เรโช คือ การวัดผลตอบแทนของกองทุนโดยเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของการลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยง โดยปรับค่าความเสี่ยงที่เป็นระบบกับกองทุน นั่นคือ ค่า Beta

(ค่า Beta คือ การวัดความผันผวนของ ผลตอบแทนกของการบริหารจัดการกองทุน อีกแบบหนึ่ง) ซึ่งแนวคิด และวิธีคิด ก็เหมือนกับ Sharpe Ratio ซึ่งแนวคิดของ เทรเนอร์นั้น ก็คล้ายคลึงกับ Sharpe Ratio ต่างกันก็แค่แทนที่จะเป็นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมาใช้นั่นเอง

สำหรับค่า ความเสี่ยงที่เป็นระบบ หรือ Systematic Risk คือ ค่าความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ตลาดหุ้นลงทั้งตลาด และหุ้นทุกตัวก็ต้องได้รับผลกระทบ การบริหารกองทุน ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การเปรียบเทียบกับ Treynor Ratio นั้นค่อนข้างที่จะแตกต่างกับ Sharpe Ratio เพราะว่า นำไปเปรียบเทียบกับผลการประกอบการของตลาดเป็นหลัก

 

สูตร Treynor Ratio

สูตรของ Treynor Ratio คือ

Treynor Ratio = (ผลตอบแทนของการลงทุน – อัตราผลตอบแทนแบบไม่มีความเสี่ยง )/ ค่า Beta ของกองทุน)

สูตร Treynor Ratio

เจนเซ่น อัลฟ่า (Jensen’s Alpha)

Jensen’s Alpha หรือ เจนเซ่น อัลฟ่า คือ การเปรียบเทียบผลต่างของ อัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมกับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการปรับด้วย ค่าความเสี่ยงค่าอัลฟ่า

คือค่าที่บอกว่า ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในกองทุนนั้นทำได้ดีหรือ มากกว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ต้องการตามทฤษฎีหรือให้ผลตอบแทนมากกว่า ของผลตอบแทนของตลาดอยู่กี่ %

ตัวอย่างการอ่านค่า

ค่า Jensen อัลฟ่า 4 % ตีความได้ว่า การลงทุนของกองทุนที่บริหารจัดการอยู่นั้น ให้ผลตอบแทนมากกว่าการลงทุน ตามตลาด อยู่ 4 %

  • ดังนั้น ถ้ากองทุนใด ที่มีค่าอัลฟ่ามาก จะบอกได้ว่ามีผลตอบแทนที่ดีกว่า
  • ข้อดีของวิธีการวัดแบบนี้คือ จะวัดฝีมือของผู้จัดการกองทุนโดยตรงว่าทำได้ดีกว่าตลาดหรือไม่นั่นเอง

สูตร Jensen Alpha

สูตรของ Jensen Alpah

สูตร jensen alpha

โดยที่สูตร

  • E(Rp) คือ ผลตอบแทนของกองทุน
  • Rf คือ ผลตอบแทนโดยที่ไม่เสี่ยง เช่น พันธบัตร
  • E(Rm) คือ ผลตอบแทนของตลาด

ค่าไหนดี

จะสังเกตุว่า การเปรียบเทียบผลตอบแทนของตลาดในแต่ละตัวจะให้ผลการคำนวณที่แตกต่างกัน ในแต่ละมุมมอง มีการเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน ฉะนั้นตัวชี้วัด 3 ตัวจึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ แต่สามารถใช้ตัวใดก็ได้

ค่ามากหรือน้อยดี

คำถามนี้ตอบง่ายมาก ก็คือ ถ้าเปรียบเทียบกันก็ยิ่งค่ามาก ยิ่งดี เพราะหมายถึงผลตอบแทนที่มีโอกาสกำไรสูง ภายใต้ความเสี่ยงตามกำหนด

การดู Sharpe Ratio ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบผลตอบแทนของกลยุทธ์ได้ ทำให้เราสามารถพัฒนาระบบเทรดของเราด้วย

halo icon removebg preview

เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี

การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้