ในการใช้ชีวิตทุกวันนี้ต้องเจอกับความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บที่นับวันยิ่งมีโรคอุบัติใหม่หรือโรคแปลก ๆ เกิดมากขึ้น เพราะมลพิษที่มนุษย์เราสร้างขึ้น รวมถึงภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน หรือภัยจากธรรมชาติ
จึงทำให้มีการทำประกันภัยมากขึ้น แต่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ ผู้รับประกันภัย ผู้รับผลประโยชน์ ผู้เอาประกัน คืออะไร เรามาศึกษาไปพร้อมๆกันในบทความนี้เลยจ้า เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับการใช้ชีวิตมากที่สุด
ประกันภัยคืออะไร
การทำประกันภัยเพื่อให้เราได้วางแผนค่าใช้จ่ายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดในอนาคต เนื่องจากหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นจะนำพาค่าใช้จ่ายต่างๆมาให้เราดังนั้นการทำประกันภัยไว้สามารถช่วยเราได้มากขึ้น
- การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย
- เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย
- โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัย ตามจำนวนและระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญาประกันภัย
- การทำประกันภัยถือเป็นการวางแผนป้องกันความเสี่ยงภัยในอนาคตข้างหน้า
ประกันภัยมีกี่ประเภท
การประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- การประกันชีวิต
- การประกันวินาศภัย
- โดยธุรกิจการประกันภัยทั้ง 2 ประเภท มีหลักเกณฑ์และมีการกำกับดูแลภายใต้กฎหมายที่แตกต่างกัน
- การประกอบธุรกิจประกันชีวิตอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535
- สำหรับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
ผู้รับประกันภัย คือใคร
- คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยทั่วไปคือบริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาต ตามกฎหมายจากกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์
- ผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ในการรับเบี้ยประกัน และ มีหน้าที่พิจารณารับประกันภัย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามที่ระบุไวัในสัญญา
- ในการชดใช้นั้น อาจจะชดใช้เป็นเงินสดหรือการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมหรือการหาของชิ้นใหม่ มาแทนที่ได้รับความเสียหายก็ได้
สิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัยมีอะไรบ้าง
สิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัยมีดังนี้
สิทธิรับเบี้ยประกันภัย
- เมื่อผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงิน ซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย เป็นการตอบแทน
การเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยแล้วสัญญาประกันภัยย่อมเกิดขึ้นสมบูรณ์
- ก่อให้เกิดหนี้ หรือ หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องชำระเบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย
- หากผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกัน ผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ที่จะฟ้องเรียกร้องให้ผู้เอาประกันภัย ชำระเบี้ยประกันภัย ภายในอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่สิทธิจะเรียกให้ชำระเบี้ยประกันภัย ถึงกำหนด
- เนื่องจากสัญญาประกันภัย เป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้รับประกันภัยจึงอาจปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน เมื่อเกิดวินาศภัย หากผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกัน
สิทธิ์ลดค่าสินไหมทดแทน
- กรณีคู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยซึ่งก็คือส่วนได้เสียไว้ หากผู้รับประกันภัยสามารถพิสูจน์ได้ว่า ราคาแห่งมูลประกันตามที่ได้ตกลงเป็นจำนวนสูงเกินกว่า ราคาส่วนได้เสียตามความเป็นจริง ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิ์ได้ลดจำนวนทดแทน
- ขณะเดียวกัน ก็มีหน้าที่คืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วน ของจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ลดลง ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จะต้องคืนในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
กรณีผู้เอาประกันภัยล้มละลาย
- ตามกฎหมายระบุว่าขอเอาประกันภัยทุกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายผู้รับประกันภัยดังนี้
- เรียกให้ผู้เอาประกันภัยหาประกันอันสมควรให้แก่ตนประกันอันสมควร หมายถึง หลักประกันที่พอสมควรแก่จำนวนนี้ที่ฝ่ายผู้เอาประกันภัยรับเบี้ยประกันภัยนั่นเอง
- บอกเลิกสัญญา แต่ในการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาในกรณีนี้ กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยได้ส่งเบี้ยประกันภัยไปแล้วจำนวนเพื่ออายุุประกันภัยเป็นเวลามาก น้อยเท่าใด ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสิ้นสุด แต่ผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้
สิทธิเรียกให้ผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์ใช้ค่าสินไหมทดแทน
- เมื่อมีความวินาศเกิดขึ้น เพราะภัยดังระบุในสัญญา หากผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบภัยแล้ว ไม่ได้มีการแจ้งเหตุแก่ ผู้รับประกันภัย โดยไม่ชักช้า
- ตามหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัย ได้รับความ เสียหาย เช่น การแจ้งเหตุล่าช้าทำให้สภาพของทรัพย์ที่ถูกวินาศภัยนั้นแปรสภาพ จนไม่สามารถตรวจพิสูจน์ ได้ด้วยวิธีการธรรมดาได้ ผู้รับประกันภัยจึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประเมินราคา ความเสียหายเพิ่มขึ้นกว่าปกติมาก หรือ การแจ้งเหตุล่าช้า ทำให้รถยนต์ที่เอาประกันภัยถูกขโมยไปเป็นเวลานาน
- ผู้รับประกันภัยต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ในการสืบหาติดตามรถยนต์คันดังกล่าว คืนเป็นต้น
- กฎหมายบัญญัติให้ ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประกันภัย เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดจากการแจ้งเหตุ วินาศภัยล่าช้า
- เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยหรือ ผู้รับประโยชน์นั้น พิสูจน์ได้ว่า ไม่สามารถจะแจ้งเหตุ โดยไม่ชักช้าได้จึงจะไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
สิทธิบอกเลิกสัญญาตามกฎหมาย
- เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องทำไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้รับประกันใช้สิทธิ์เลิกสัญญาประกันภัยเสียก็ได้
- ได้ส่งเบี้ยประกันภัยแล้วเพื่ออายุประกันภัย เป็นระยะเวลาเท่าใด ห้ามมีให้ผู้รับประกันภัยใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาก่อนพ้นระยะเวลานั้น
สิทธิ์รับช่วงสิทธิ์
- ถ้าความวินาศภัยการกระทำของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปจำนวนเพียงใด
- ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิ์ผู้เอาประกันประโยชน์ และของผู้รับประโยขน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น
- ถ้าผู้รับประกันภัยมาทดแทนเป็นเพียงบางส่วน ถ้าไม่ให้ผู้รับประกันภัยนั้นใช้สิทธิ์ของตนให้เสื่อมเสียผู้เอาประกันภัย และ ผู้รับผลประโยชน์
- ในการที่เขาจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศภัยนั้น
- กล่าวคือ หากเกิดเหตุการณ์วินาศภัยขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัย มีสิทธิ์เลือกที่จะเรียกร้องเอาจากบุคคลภายนอก หรือเรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัย ตามสัญญา ประกันภัยก็ได้
- แต่ถ้าผู้เอาประกันภัยใช้สิทธิ์เรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัย ซึ่งสะดวกกว่า แล้วผู้รับประกันภัยก็รับช่วงสิทธิ์ของผู้เอาประกันภัยไปเรียกร้อง เอาจากบุคคล ภายนอกนั้นต่อไปได้
หน้าที่ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย
- ผู้รับประกันภัยจะต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย ให้กับผู้เอาประกันภัย
- โดยข้อความถูกต้องตามสัญญาประกันภัย และต้องระบุรายการตามที่ กฎหมายกำหนด ถึงแม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนดไว้กรมธรรม์ ประกันภัยนั้นก็มิได้เสียไปแต่อย่างใด
หน้าที่คืนเบี้ยประกันภัย
- กรณีผู้เอาประกันภัยขอยกเลิกสัญญาก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ตามกฎหมายผู้รับประกันภัยต้องคืนเบี้ยประกันภัยให้กึ่งหนึ่ง
- กรณีผู้เอาประกันภัยขอลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย นอกจากเงินประกันภัยลดน้อยถอยลงไปมากระหว่างอายุสัญญาประกันภัย กฎหมายบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องคืนเบี้ยประกันภัยตามส่วนเฉพาะที่ยังไม่ได้เสียง ภัยในอนาคต
- กรณีผู้รับประกันภัย ขอลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจากราคาแห่งมูล ประกันภัย ที่ได้ตกลงกันไว้นั้นมีจำนวนสูงเกินกว่าความเป็นจริงมาก หากเป็นเช่นนี้ กฎหมายกำหนดให้ผู้รับประกันภัยต้องคืนเบี้ยประกันภัยตามส่วนของจำนวนค่าสินไหม ทดแทน ที่ขอลดพร้อมทั้งเสียดอกเบี้ยด้วย
- การคืนเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา กรณีบอกเลิกสัญญาตามเงื่อนไข ของสัญญาโดยมีเงื่อนไขเบี้ยประกันภัยด้วย
- กรณีผู้เอาประกันภัยขอยกเลิกสัญญา ผู้รับประกันภัยออกกรมธรรม์ประกันภัยโดย ใช้ข้อความที่นายทะเบียนประกันวินาศภัยไม่ได้เห็นชอบ ผู้รับประกันภัยต้องคืน เบี้ยประกันภัยทั้งสิ้นที่ได้รับชำระไว้แล้วให้แก่ผู้เอาประกันภัย
- กรณีผู้เอาประกันภัยของเลิกสัญญา เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่า การกำหนดจำนวนซึ่งเอาประกันไว้เกินกว่าราคาของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย จึงได้รายงานไปยังไงทะเบียน เพื่อมีคำสั่งให้ลดจำนวนเงินซึ่งเอา ประกันภัย ลงตามที่เห็นสมควร แต่ก็ไม่ต่ำกว่าราคาทรัพย์สินที่เอาประกัน จากกรณีนี้ กฎหมายให้สิทธิ์ผู้เอาประกันภัยซึ่งต้องเสียสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม จำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัยไว้แต่เดิม บอกเลิกสัญญาประกันภัยได้ภายใน 3 วันนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียนและให้ผู้รับประกันภัยคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาที่เอาประกันภัย
หน้าที่ใช้ค่าสินไหมทดแทน
- ผู้เอาประกันภัย โดยปกติผู้รับประกันภัยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย
- ผู้รับผลประโยชน์ กรณีผู้เอาประกันภัยระบุในกรมธรรม์ประกันภัยให้บุคคลภายนอกของผู้รับผล ประโยชน์ สัญญาประกันภัยนั้นย่อมเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ต่อบุคคลภายนอก ดังนั้นบุคคลภายนอกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยได้ก็ต่อเมื่อ บุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยแล้ว และผู้เอาประกันภัยจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ์นั้นอีกไม่ได้
- ผู้รับช่วงทรัพย์ตามกฎหมาย กรณีทรัพย์ที่จำนอง จำนำ รู้อยู่ในบุริมสิทธิ อย่างอื่นนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้เอาประกันภัยไว้ กรณีให้สิทธิจำนอง จำนำ หรือ บุริมสิทธินั้นครอบคลุมถึงสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัย
- ค่าสินไหมทดแทนเพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ใช้ค่าสินไหม ทดแทนไม่เกินจำนวนความเสียหายอันแท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับจากวินาศภัยที่เกิดขึ้น ตามหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของ สัญญาประกัน วินาศภัย ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันให้ผู้เอาประกันภัย ได้กำไรจากการทำสัญญาประกันภัย
- ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่เอาประกันภัยวินาศภัยผู้รับประ กันภัยยังมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนความบุบสลายการเกิดแก่ทรัพย์ ที่เอาประกัน วินาศภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อปัดป้องวินาศภัยอันเกิดแก่ทรัพย์ด้วย
ผู้รับประโยชน์คือใคร
- บุคคลที่ผู้เอาประกันระบุไว้ว่าจะมอบประโยชน์ให้หากผู้เอาประกันเสียชีวิต โดยสามารถเลือกผู้รับประโยชน์ได้หลายคน
- กำหนดสัดส่วนที่ได้รับในอัตราส่วนที่ต่างกันก็ได้ ส่วนมากมักเป็นบุตร คู่สมรส หรือพ่อแม่
- ผู้เอาประกันที่แต่งงานแบบไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถระบุคู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์ได้
- โดยต้องแสดงเอกสารหรือทำหนังสือรับรองความสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ให้กับบริษัทประกัน
ข้อดีของการระบุผู้รับประโยชน์
- การระบุตัวผู้รับประโยชน์เหมือนการชี้เป้า ให้บริษัทประกันรู้ถึงความตั้งใจจริงของผู้เอาประกัน
- หากประกันฉบับนั้นไม่มีการระบุผู้รับประโยชน์ไว้ ทุนประกันหรือเงินที่ทายาทจะได้รับกรณีเสียชีวิต จะตกไปอยู่ที่ “กองมรดก” ของผู้เอาประกัน เพื่อนำไปจัดสรรตามพินัยกรรมต่อไป
- หากผู้เอาประกันไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ก็จะไปหล่นที่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
- ซึ่งขั้นตอนนี้ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากต้องมีการดำเนินการทางเอกสาร รวมทั้งอาจจะต้องยื่นเรื่องต่อศาลให้ระบุ “ผู้จัดการมรดก”
- เพื่อมาดำเนินเรื่องเงินๆ ทองๆ รวบรวมมรดกทั้งหมด รวมถึงชำระหนี้สินแทนผู้เอาประกันที่เสียชีวิตไปแล้ว
ผู้เอาประกันคือใคร
- คู่สัญญาประกันภัยซึ่งมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริงต่อผู้รับประกันภัย ตลอดจนมีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัย
- เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นในส่วนที่เอาประกันภัยไว้ ผู้เอาประกันภัยก็มีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
- ผู้เอาประกันภัย จะได้รับประโยชน์จากความคุ้มครองต่อบุคคลครอบครัวทรัพย์สินของผู้เอาประกัน
- หากผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยเมื่อครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย บริษัทจะผ่อนผันให้เป็นเวลาสามสิบเอ็ดวัน กรณีเป็นกรมธรรม์ประเภทสามัญ นับแต่วันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย
- โดยบริษัทจะถือว่าในระหว่างระยะเวลาผ่อนผันกรมธรรม์ยังคงมีผลบังคับ
- ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงในระหว่างเวลาผ่อนผัน บริษัทจะหักเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระในรอบปีกรมธรรม์นั้นออกจากจำนวนเงิน ซึ่งบริษัทจะชดใช้ตามกรมธรรม์นี้โดยไม่คิดดอกเบี้ย
หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยมีอะไรบ้าง
- ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่เปิดเผยความจริง ต้องแถลงข้อเท็จจริงขณะทำสัญญา หน้าที่ในการชำระเบี้ย ถ้าไม่ชำระเบี้ยประกันภัยผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ จะฟ้องร้อง ให้ชำระตามสัญญาได้และถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้นในระหว่างนั้น ผู้เอาประกันภัยก็ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกับผู้รับประกันภัยอย่างเร่งด่วน เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นตามสัญญาประกันภัย
- ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญา ถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญา ผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าเรียกร้องสินไหม
ผู้รับประโยชน์เป็นใครได้บ้าง
สำหรับผู้ที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ ได้แก่ ทายาทโดยธรรม ซึ่งมี 6 ลำดับชั้น ได้แก่
- บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วและบุตรบุญธรรม
- พ่อแม่
- พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน
- พี่น้องต่างพ่อหรือต่างแม่
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
ถ้าไม่ระบุผู้รับประโยชน์จะมีโอกาสเกิดปัญหาอะไรบ้าง
- แย่งผลประโยชน์จนถึงขั้นฟ้องร้อง หรือในกองมรดกอาจมีคนที่ไม่ต้องการยกผลประโยชน์ให้รวมอยู่ด้วย ดังนั้น ผู้ทำประกันควรระบุผู้รับประโยชน์ให้เรียบร้อย
- โดยทั่วไปบริษัทประกันจะให้ผู้ทำประกันและผู้รับผลประโยชน์ต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือทางกฎหมาย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการฆาตรกรรมผู้ทำประกันเพื่อหวังเงินประกัน
- ผู้ทำประกันสามารถระบุชื่อผู้รับประโยชน์ได้ตามที่ต้องการ จะระบุเพียง 1 คน หรือมากกว่าก็ได้ ถ้ามากกว่า 1 คนก็ระบุสัดส่วนของการรับผลประโยชน์แต่ละคนได้ แต่ถ้าไม่ระบุ บริษัทจะจ่ายเงินผลประโยชน์ในจำนวนที่เท่ากัน
- กรณีที่ผู้ทำประกันแต่งงานแต่ไม่ได้จดทะเบียน หรือมีคู่รักเพศเดียวกันปัจจุบันมีบริษัทประกันหลายแห่งรับทำประกันแล้ว แต่ต้องแสดงหลักฐานเพิ่มเติมตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท อีกทั้ง ยังสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นมูลนิธิ วัด สภากาชาด หรือองค์กรเพื่อการกุศลต่างๆ ได้อีกด้วย
- การระบุผู้รับผลประโยชน์ที่เป็นคนละนามสกุลกับผู้ทำประกันหรือไม่ใช่ญาติ หากผู้ทำประกันเสียชีวิตอาจนำมาซึ่งปัญหา ฝ่ายญาติที่แท้จริงอาจฟ้องร้องและสงสัยในการทำประกัน หรือญาติมองว่าผู้รับผลประโยชน์ทำการฆาตรกรรมเพื่อหวังเงินประกัน
- เมื่อผู้ทำประกันต้องการเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ จะทำได้เมื่อยังไม่ส่งมอบกรมธรรม์ให้ผู้รับประโยชน์ และผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทประกันว่าตัวเองขอรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ฉบับนั้น
- เมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์ต้องแจ้งให้บริษัทประกันทราบโดยเร็วที่สุดหรือภายใน 14 วัน หากเกินว่านี้ บริษัทจะขอข้อมูลและพิสูจน์ถึงเหตุผลการแจ้งล่าช้า โดยผู้รับผลประโยชน์จะต้องรวบรวมเอกสารต่างๆ เพื่อยืนยันการเสียชีวิตของผู้ทำประกันมอบให้กับบริษัท
ผู้รับประโยชน์เสียชีวิตทำยังไง
เมื่อผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนผู้เอาประกัน ควรทำตามขั้นตอนดังนี้
- ผู้เอาประกันสามารถแจ้งบริษัทประกันเพื่อเปลี่ยนตัวผู้รับประโยชน์ได้ แต่หากไม่มีการแจ้งใดๆ ผลประโยชน์จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี
- หากระบุชื่อผู้รับประโยชน์และสัดส่วนที่ได้รับ สัดส่วนของผู้รับประโยชน์ ที่เสียชีวิตไปจะตกไปอยู่ที่กองมรดกของผู้เอาประกัน
- หากผู้เอาประกันระบุชื่อผู้เอาประกันแต่ไม่ได้ระบุสัดส่วนการรับผลประโยชน์ บริษัทประกันจะเฉลี่ยผล ประโยชน์ ให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในจำนวนเท่าๆ กัน
หากเสียชีวิตจะตรวจสอบผู้รับประโยชน์อย่างไร
- ในวันที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตและมีกรมธรรม์หลายฉบับ ผลประโยชน์จะเป็นไปตามที่ผู้เอาประกันได้ระบุไว้ในประกันฉบับนั้นๆ
- โดยครอบครัวต้องเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการเรียกร้องสินไหมมรณะกรรม ดังนี้
- เล่มกรมธรรม์ประกันชีวิต
- สำเนาใบมรณบัตร รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้รับประโยชน์
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกัน รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้รับประโยชน์
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันที่มีการจำหน่าย “ตาย” เรียบร้อยแล้ว รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้รับประโยชน์
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับประโยชน์
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์
- สำเนาบันทึกประจำวัน / สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแพทย์ชันสูตร กรณี เสียชีวิตโดยเหตุผิดธรรมชาติ เช่น อุบัติเหตุ ถูกฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย ถูกสัตว์ทำให้ตาย ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
วิธีเลือกผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยอย่างไร?
การเลือกผู้รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัยควรพิจารณาดังต่อไปนี้
คำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่คุณทำประกันภัย
- เหตุผลในการทำประกันภัยของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน บางคนทำประกันภัยไว้เพื่อไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ารักษาพยาบาลที่แพง
- บางคนทำประกันภัยไว้เพราะกังวลถึงคนในครอบครัว หากตนเองต้องเจ็บป่วย รักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือเสียชีวิต คนในครอบครัวจะได้อยู่ได้อย่างไม่ลำบาก
- ถ้าในกรณีแบบนี้ ให้เลือกผู้รับผลประโยชน์เป็น บิดา มาราดา หรือคู่สมรส น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
- ในกรณีที่คุณเป็นเจ้าของธุรกิจและกังวลว่าหากคุณเสียชีวิตไป ธุรกิจจะหยุดชะงักลง สามารถเลือกพันธมิตรทางธุรกิจเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้
ตัวเลือกของผู้รับผลประโยชน์
- กรณีที่มีตัวเลือกเป็นผู้รับผลประโยชน์มากกว่า 1 คน คุณสามารถระบุเปอร์เซ็นต์ในการได้รับเงินก้อนนั้น เช่น คู่สมรส 50% บิดา 25% และมารดา 25% เป็นต้น
กรณีที่ไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์หรือผู้รับผลประโยชน์เสียชีวิต
- ตามหลักแล้ว ในกรมธรรม์ประกันภัยต้องมีผู้รับผลประโยชน์ แต่หากไม่ได้ระบุ หรือระบุแล้วแต่ผู้รับผลประโยชน์เสียชีวิต
- กรณีนี้ ทายาทโดยธรรมจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ทั้งหมดไป ฉะนั้น การระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์มากกว่า 1 ชื่อ จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ
อัปเดตข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
- สิ่งที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตคือ ผู้เอาประกันภัยไม่ค่อยอัปเดตข้อมูลผู้รับผลประโยชน์
- หากคุณไม่ได้อัปเดตข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ เมื่อคุณเสียชีวิตลง ผลประโยชน์ทั้งหมดจะถูกส่งมอบไปยังบิดาหรือมารดา ฉะนั้น การอัปเดตข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็น
เลี่ยงการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้เยาว์
- หากคุณระบุชื่อลูกซึ่งยังอยู่ในฐานะผู้เยาว์ ทางกฎหมายจำเป็นต้องแต่งตั้งผู้ปกครองขึ้นมาเพื่อจัดการกองมรดก
- นี่เป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและใช้เวลานานมาก บางกรณีอาจจำเป็นต้องขึ้นศาล เพื่อเลี่ยงกระบวนการต่าง ๆ ที่ยุ่งยากนี้ ควรระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นคู่ครองจะเหมาะสมมากกว่า
สรุป
การทำประกันภัยการศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการทำประกันภัย อย่างเช่นผลประโยขน์ทางค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ เงื่อนไขการเบิกค่าสินไหมทดแทน หรือแม้กระทั่งการระบุผู้รับผลประโยชน์ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของทั้งผู้เอาประกันภัยและผู้รับผลประโยชน์
เรามีประสบการณ์ด้านเว็บไซต์มายาวนาน ด้วยประสบการณ์หลายสิบปี ทำให้เรารู้ว่า อะไรที่เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้อ่าน เราจะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางของชีวิตเราได้อย่างไร ผมจึงสร้าง halojepang.com ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ได้ฟรี
การทำงานออนไลน์และมีรายได้นั้นมีจริง ยิ่งโลกปัจจุบันแล้ว มีช่องทางมากมาย ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ ขอแค่ตั้งใจก็จะประสบความสำเร็จได้